คำนำ หนังสือ หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
นี้ เป็นการเรียบเรียงหลักการศึกษาพุทธศาสนาในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
หรือไม่มีความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะศึกษาหาความจริงของชีวิต
หรือผู้ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากความทุกข์ จะได้ใช้เป็นคู่มือในการศึกษาและปฏิบัติ โดยไม่ต้องไปศึกษาจากตำราอื่นๆให้เสียเวลา
และถ้าใครเห็นว่าหนังสือนี้พอจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์อยู่บ้าง
ก็ขอให้ช่วยกันเผยแพร่ต่อไป พระออมสิน เตชปัญโญ อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๗๖๘ ******************* หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑.พระพุทธเจ้าสอนอะไร? คำว่า "พุทธเชิงวิทย์"
หมายถึง การเรียนพุทธธรรมอย่างวิทยาศาสตร์ คำว่า พุทธธรรม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
ซึ่งสรุปแล้วพระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่อง "การดับทุกข์"
ของจิตใจในปัจจุบัน โดยคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้านั้นเรียกว่า
อริยสัจ ๔ ที่แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ อันได้แก่ ๑. ทุกข์
คือความทุกข์ของจิตใจในชีวิตปัจจุบันของเราทุกคน
โดยความทุกข์ของจิตใจนี้สรุปอยู่ที่ "ความเศร้าโศก (เสียใจ), ความเร่าร้อนใจ, ความแห้งเหี่ยวใจ, หรือความรู้สึกไม่สบายใจ (คือจิตไม่สงบ ไม่เยือกเย็น ไม่แจ่มใส ไม่เบา ไม่สบาย ) ฯ ๒. สมุทัย คือ สาเหตุของความทุกข์
อันสรุปอยู่ที่ กิเลส (ความพอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ) หรือ ตัณหา
(ความอยากได้-ไม่อยากได้-อยากเป็นอยู่) โดยมีต้นตออยู่ที่ อวิชชา
(สัญชาติญาณแห่งตัวตน) ที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา ๓. นิโรธ ความที่ทุกข์ได้ดับหายไป
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ ก็เรียกว่า นิพพาน ที่แปลว่า เย็น ๔. มรรค คือวิธีการดับทุกข์ โดยสรุปอยู่ที่
การใช้ปัญญา (ความรอบรู้ในเรื่องความไม่มีตัวเราอยู่จริง) กับ สมาธิ
(จิตที่ตั้งมั่นอยู่เสมอ) มาทำงานร่วมกัน โดยมีศีล (ความปรกติของจิต) เป็นพื้นฐาน เมื่อมาถึงจุดนี้ เราควรตั้งคำถามว่า
"ทำไมถึงต้องดับทุกข์?" (นี่คือสิ่งที่ควรถาม
ถ้าเราไม่รู้จักถามเราก็จะโง่เขลาและไม่เกิดปัญญา) ซึ่งคำตอบก็คือ
"เพราะความทุกข์ (ความเศร้าโศกฯ) เป็น
"สิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุดของมนุษย์ธรรมดาทั้งหลาย"
(ถ้าใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ จะศึกษาเรื่องการดับทุกข์ต่อไปไม่เข้าใจ
เพราะขาดพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการศึกษานี้) ส่วนการเรียนอย่างวิทยาศาสตร์ ก็คือ
การค้นหาความจริงของธรรมชาติ เพื่อให้เกิด ความเข้าใจ (รู้จักเหตุผล) และ ความเห็นแจ้ง (ความประจักษ์ชัดด้วยจิตของเราเอง)
แล้วนำความรู้นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (คือเพื่อแก้ปัญหาให้กับชีวิตและโลก)
ซึ่งสรุปแล้วธรรมชาตินั้นก็มี ๒ อย่าง คือ วัตถุ กับ จิต สรุป
พระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์
ส่วนหลักในการดับทุกข์นั้นเริ่มต้นพระองค์จะ
"ไม่สอนให้เชื่อจากตำราหรือจากคำสอนของใครๆแม้จากระองค์เองก็ตาม"
เพราะเรายังไม่รู้ว่าคำสอนนั้นมันใช้ดับทุกข์ได้จริงหรือไม่
แต่พระองค์จะสอนให้เรารู้จักคิดโดยใช้เหตุใช้ผล และมีการทดลองปฏิบัติ
เพื่อพิสูจน์ว่าคำสอนนั้นนำมาใช้ดับทุกข์ได้จริงหรือไม่ *********************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒. ความทุกข์คืออะไร? จุดสำคัญที่สุดในการศึกษาเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้านั้นก็คือ
"ต้องรู้จักความทุกข์ให้ถูกต้องก่อน"
เพราะถ้าเรารู้จักความทุกข์ถูกต้องแล้ว
เราก็จะศึกษาเรื่องการดับทุกข์ถูกต้องตามไปด้วยทั้งหมด แต่ถ้าเรารู้จักความทุกข์ผิด
เราก็จะศึกษาเรื่องการดับทุกข์ผิดตามไปด้วยทั้งหมด โดย "ความทุกข์"
ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นหมายถึง "ความทุกข์ใจ" อันได้แก่
"ความเศร้าโศก (ความเสียใจ), ความเร่าร้อนใจ, ความแห้งเหี่ยวใจ, หรือความรู้สึกไม่สบายใจ
(คือจิตไม่สงบ ไม่เยือกเย็น ไม่แจ่มใส ไม่เบา ไม่สบาย )ฯ) แต่คนทั่วไปจะ "เข้าใจผิด"
ว่าความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นหมายถึง "ความทุกข์กาย" อันได้แก่
ความแก่,
ความเจ็บ, ความป่วย, และความตายของร่างกาย
รวมทั้งความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก, ความที่ต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รัก,
และความผิดหวัง ซึ่งความทุกข์กายนี้มันเป็น
"ภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจ" ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับชีวิตของเราทุกคนอยู่แล้ว
ไม่มีใครจะหนีพ้นได้ เมื่อเราเข้าใจผิดว่าภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจ
(หรือความทุกข์กาย) คือความทุกข์ตามที่พระพุทธเจ้าสอน ก็จะทำให้เราเกิดความเข้าใจผิดต่อไปว่า
การที่จะดับทุกข์กายนี้ได้ก็มีวิธีเดียวคือ "ต้องไม่เกิดชีวิต
(คือร่างกายกับจิตใจ) ขึ้นมาอีก"
ดังนั้นจึงทำให้เกิดการปฏิบัติที่ผิดตามไปด้วยทันที
(คือเป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้เกิดชีวิตขึ้นมาอีก หรือ ตายแล้วดับสูญไปเลย) สรุป ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนคือ
ความทุกข์ใจ (ความเศร้าโศกฯ)
ซึ่งความทุกข์นี้เป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุดของมนุษย์ธรรมดาทั้งหลาย
ซึ่งจุดแรกในการศึกษาเรื่องการดับทุกข์เราจะต้องรู้จักความทุกข์นี้ให้ถูกต้องไม่อย่างนั้นเราจะศึกษาผิดตั้งแต่เริ่มต้นแล้วจะทำให้เราศึกษาหลักอริยสัจ
๔ ของพระพุทธเจ้าผิดไปหมดด้วย ************************* หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓. สาเหตุของความทุกข์คืออะไร? ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอน
(คือความเศร้าโศกฯ) นั้นเกิดมาจาก "กิเลส" (ความพอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ)
หรือ ตัณหา (ความอยากได้-ไม่อยากได้-อยากเป็นอยู่) ประเภท "ความไม่พอใจ"
หรือ "ความไม่อยากได้" ต่อภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจ (ความทุกข์กาย) ของชีวิต
เช่นเมื่อจิตเกิดความไม่อยากแก่ หรือไม่อยากเจ็บ หรือไม่อยากตาย
หรือไม่อยากพลัดพรากจากบุคคลที่รัก เป็นต้น จิตก็จะเกิดความเศร้าโศกฯ หรือความทุกข์ใจขึ้นมาทันที
เป็นต้น โดยกิเลสนี้มันมีต้นเหตุ (ต้นตอ) มาจาก อวิชชา
(ความรู้ผิดว่าจิตนี้คือตัวเรา) มาปรุงแต่ง (สร้าง,ทำ)
ให้เกิดขึ้นโดยที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้
ซึ่งอวิชชานี้มันก็ได้ฝังอยู่จิตใต้สำนึกของเรามาช้านานแล้วตั้งแต่เกิด
(คือมันเป็นความเคยชินหรือนิสัยของจิตเรานั่นเอง) สรุป
ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นคือความทุกข์ใจ (ความเศร้าโศกฯ)
ที่เกิดมาจากกิเลสที่จิตของเรามันปรุงแต่งขึ้นมาเองด้วยความโง่สูงสุด (คืออวิชชา)
ซึ่งเมื่อเรารู้จักความทุกข์ถูกต้องแล้ว เราก็จะรู้จักเหตุของทุกข์ได้ถูกต้อง
แต่ถ้าเรารู้จักความทุกข์ผิด (คือรู้ว่าความทุกข์คือความแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก
เป็นต้น) เราก็จะรู้จักเหตุของทุกข์ผิด (คือรู้ว่าต้องตายแล้วไม่เกิดอีก)
ตามไปด้วยทันที
แล้วก็ทำให้รู้จักความไม่มีทุกข์และวิธีการดับทุกข์ผิดตามไปด้วยทั้งหมดทันที ***************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๔. นิพพานคืออะไร? คำว่า นิพพาน แปลว่า ดับเสียซึ่งความร้อน
ซึ่งก็หมายถึง ความเย็น นั่นเอง (แต่ปัจจุบันชาวพุทธเกือบทั้งหมดเข้าใจผิดว่า
นิพพาน หมายถึง การตายแล้วไม่เกิดอีก)
ซึ่งคำนี้ก็เป็นคำธรรมดาๆที่ชาวบ้านของอินเดียสมัยนั้นเขาใช้กันอยู่ เช่น
เมื่อควักข้าวออกมาจากหม้อร้อนๆ แล้วเอามาไว้ข้างนอกจนมันเย็น
ก็เรียกว่าข้าวนิพพานแล้ว เป็นต้น เมื่อฤๅษีของอินเดียในสมัยนั้นเขาได้เข้าไปอยู่ป่าและฝึกสมาธิ
จนทำให้กิเลสระงับหรือดับหายไป (ชั่วคราว) ซึ่งเมื่อกิเลสไม่มี จิตก็จะ "สงบ
เย็น สดชื่น แจ่มใส เบา สบาย" ทันที ซึ่งเมื่อเขาค้นพบสภาวะ
"สงบเย็น" นี้แล้วเขาก็ไม่รู้ว่าจะใช้คำอะไรมาใช้เรียกสภาวะนี้
เขาจึงได้ยืมคำว่า "นิพพาน" ที่แปลว่า เย็น
ของชาวบ้านมาใช้เรียกสภาวะนี้ และคำนี้ก็ได้ถูกใช้เรียกสภาวะสงบเย็นของจิต
สืบต่อมาจนทุกวันนี้ ซึ่งจุดหมายของฤๅษีสมัยนั้นก็คือการปฏิบัติเพื่อให้จิตนิพพานถาวร
(คือมีอยู่ตลอดเวลาจนตลอดชีวิต) แต่ก็ยังไม่เคยมีใครทำได้ จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงออกผนวชเหมือนฤๅษีสมัยนั้นเพื่อค้นหาความพ้นทุกข์
และพระองค์ก็ได้ทรงค้นพบ "วิธีการทำให้จิตนิพพานถาวร"
จึงทำให้พระองค์ทรงตรัสรู้ (ตรัสรู้ แปลว่า พูดได้ว่ารู้ความจริงแล้ว) เป็น
"พุทธะ" ที่หมายถึง "ผู้รู้แจ้งชีวิตและโลกตามความเป็นจริง"
ขึ้นมา โดยนิพพานหรือความสงบเย็นของจิตนี้ สรุปได้ ๒
อย่าง คือ ๑. นิพพานขั้นต้น กับ ๒. นิพพานสูงสุด โดยนิพพานขั้นต้นก็คือ "ความอุ่นใจ
เบาใจ" ที่เกิดจากการที่เราเป็นคนดีมีศีลธรรม (คือไม่ทำความชั่ว
แต่ทำความดีอยู่เป็นปกติ) และได้ทำหน้าที่ของเราอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว
จิตของเราก็จะมีความอุ่นใจ เบาใจ สบายใจ (คือไม่ร้อนใจ ไม่เครียด ไม่วิตกกังวลใดๆ
แต่ก็ยังคงมีความคิดฟุ้งซ่านรำคาญใจ หรือความรู้สึกไม่สบายใจรบกวนจิตอยู่บ้าง)
ซึ่งนี่เรียกว่าเป็นนิพพานขั้นต้น ส่วนนิพพานสูงสุดก็คือ
ความที่จิตสงบเย็นอย่างสูงสุด จากการทำจิตให้เป็นสมาธิ จนกิเลสอ่อนๆ
(ที่เรียกว่านิวรณ์ซึ่งมีอยู่ ๕ อาการ) ได้ระงับหรือดับหายไป (แม้เพียงชั่วคราว)
ก็จะทำให้สภาวะของนิพพานสูงสุดปรากฏกับจิตของเราทันที (แม้เพียงชั่วคราว)
ซึ่งนิพพานสูงสุดนี้เองที่พวกฤๅษีสมัยนั้นเขาค้นพบกันมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ แต่นิพพานทั้ง ๒ นี้ก็ยังมีทั้ง
นิพพานชั่วคราว และ นิพพานถาวรอีก โดยนิพพานชั่วคราวก็คือ นิพพานทั้ง ๒
นี้จะยังเป็นเพียงแค่ครั้งคราวจากการปฏิบัติเท่านั้น คือถ้าเราเป็นคนไม่มีศีล
หรือทำความชั่วเมื่อใด นิพพานขั้นต้นก็จะหายไปทันที
หรือเมื่อจิตของเราไม่มีสมาธิเมื่อใด นิพพานสูงสุดก็จะหายไปทันทีได้เหมือนกัน ส่วนนิพพานถาวรก็คือ นิพพานทั้ง ๒
นี้จะปรากฏกับจิตของเราอยู่ตลอดเวลาจนตลอดชีวิต ซึ่งการที่จิตจะนิพพานถาวรได้นั้น
(๑) เราจะต้องเป็นคนดีมีศีลธรรมอย่างมั่นคงก่อน แล้ว (๒)
เราจะต้องมีการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔
ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างจริงจังและต่อเนื่องนานๆ จนทำให้รากเหง้า (ต้นเหตุ)
ของกิเลสที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราได้เลือนหายไปอย่างสิ้นเชิง
(คือไม่กลับมาเกิดขึ้นได้อีกจนตลอดชีวิต)
จิตของเราก็จะนิพพานอย่างสูงสุดและถาวรได้
ซึ่งนิพพานสูงสุดและถาวรนี้เองที่เป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา **************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๕. สิ่งสูงสุดของชีวิตคืออะไร? คำว่า "สิ่งสูงสุดของชีวิต" หมายถึง
สิ่งที่มีประโยชน์หรือคุณค่าที่คู่ควรกับชีวิตของเรา
โดยสิ่งสูงสุดนี้จะต้องเป็นสิ่งที่ไม่มีโทษ (โทษ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับร่างกายและเกิดความทุกข์กับจิตใจของเรา)
และปัญหาใดๆ (ปัญหาคืออุปสรรคขวางกั้นที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการดำเนินชีวิต)
ทั้งสิ้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต รวมทั้งยังต้องเป็นสิ่งที่มั่นคงถาวร
(คือมีอยู่ตลอดไปจนตลอดชีวิตของเรา) อีกด้วย แล้วอะไรคือสิ่งสูงสุดของชีวิต? ซึ่งคำตอบนั้นเราจะต้องมาค้นหาเอาเองจากชีวิตของเรา
โดยการใช้เหตุผลมาพิจารณาว่า
สรุปแล้วสิ่งที่เราและมนุษย์ธรรมดาทั้งหลายอยากจะได้นั้นคืออะไร? ซึ่งคำตอบก็คือ ความสุข
ซึ่งความสุขนี้เองคือสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นสิ่งสูงสุดของชีวิต โดยความสุขของมนุษย์นั้น สรุปแล้วมีอยู่ ๒
อย่าง คือ (๑) "ความสุขกาย" คือ ความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก กับ (๒)
"ความสุขใจ" คือ ความสุขที่ไม่อาศัยสิ่งภายนอก โดย ความสุขกาย นั้นก็คือ
ความสุขที่เกิดขึ้นที่ตา, หู, จมูก,
ลิ้น, กาย โดยตรง เช่น
เมื่อตาเห็นรูปที่สวยงาม ก็จะเกิดความสุขทางตาขึ้นมาทันที
หรือเมื่อหูได้ยินเสียงที่ไพเราะ ก็จะเกิดความสุขทางหูขึ้นมาทันที เป็นต้น
ซึ่งความสุขกายนี้สมัยนี้เรียกว่า วัตถุนิยม (กิน, กาม,
เกียรติ) ส่วน ความสุขใจ นั้นก็คือ
ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือ ทำสิ่งที่ถูกต้อง อันได้แก่
การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์หรือมีความสุข (เช่น การให้แรงกาย ให้ทรัพย์
ให้โอกาส ให้อภัย ให้ปัญญาฯ) โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆที่เป็นวัตถุนิยม, การทำจิตให้เป็นสมาธิ, การทำหน้าที่ของเราอย่างถูกต้องสมบูรณ์,
การทำความเห็นให้ถูกต้อง, การพิจารณาธรรม,
การปฏิบัติธรรม ฯ เมื่อเรามีความสุข
(ไม่ว่าจะเป็นความสุขกายหรือสุขใจก็ตาม) และเราก็พอใจ (คืออยากได้) รวมทั้งติดใจ
(คืออยากได้อีกเรื่อยไปและมากยิ่งขึ้น) ในความสุขนั้น แต่เมื่อใดที่
สิ่งภายนอกที่ทำให้เกิดความสุขนั้นได้พลัดพรากจากไป (เช่น ความแก่ เจ็บ ตาย
ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รัก ฯ) หรือไม่มี (คือความผิดหวัง)
ก็จะทำให้จิตใจของเราเกิดความเศร้าโศก (หรือความเสียใจ ความแห้งเหี่ยวใจ
ความไม่สบายใจฯ ที่เรียกว่า "ความทุกข์" ตามที่พระพุทธเจ้าสอน)
ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่ก็คือโทษจากความพอใจและติดใจในความสุข อีกทั้งการเสพวัตถุนิยมมากๆ
ก็ยังนำมาซึ่งโทษภัยภายนอกมากมายตามมา เช่น การทำลายธรรมชาติ, การสร้างมลพิษ, การแช่งยิง เป็นต้น
ที่สร้างวิกฤติการณ์ต่างๆขึ้นมาทั่วโลกจนทำให้สันติภาพของโลกหายไป เช่น
ความอดอยากขาดแคลน, โรคติดต่อร้ายแรง, สงครามรูปแบบต่างๆ,
ภัยธรรมชาติต่างๆฯ อย่างเช่นที่กำลังเป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน เมื่อความสุขนำโทษมาให้
ก็แสดงว่าความสุขไม่ใช่สิ่งสูงสุดของชีวิต
ดังนั้นจึงเหลืออยู่เพียงสิ่งเดียวที่พอจะเป็นสิ่งสูงสุดของชีวิตได้
ซึ่งสิ่งนั้นก็คือหรือ นิพพาน หรือ
ความสงบเย็นของจิตเมื่อจิตไม่มีความทุกข์ นั่นเอง สรุป เราจะต้องมาเปลี่ยนความเห็น
(ทัศนคติหรือความเข้าใจ) ของเราเสียใหม่ให้ถูกต้องว่า
"ความสุขไม่ใช่สิ่งสูงสุดของชีวิต
แต่เป็นนิพพานหรือความสงบเย็นของจิตต่างหากที่เป็นสิ่งสูงสุดของชีวิต"
แล้วหันมาพยายามลดละกิเลสหรือตัณหา (คือความพึงพอใจ-ติดใจในความสุข) ให้มาก
เพื่อที่เราจะได้หลุดพ้นจากโทษภัยจากความสุข แล้วหันมาแสวงหานิพพานให้กับจิตใจ
รวมทั้งมาช่วยกันสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนให้แก่โลกกันต่อไป ************************ หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๖. วิธีการปฏิบัติเพื่อให้จิตนิพพานเป็นอย่างไร? วิธีการปฏิบัติเพื่อให้จิตนิพพาน (สงบเย็น)
หรือไม่มีความทุกข์ (ไม่เศร้าโศกฯ) ตามหลักของมรรค (หรือ อริยมรรค ที่แปลว่า
หนทางอันประเสริฐ) นั้นมีองค์ประกอบอยู่ ๘ ประการ แต่สรุปเป็นหลักปฏิบัติได้ ๓
อย่าง คือ ปัญญา ศีล สมาธิ โดย ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้
ซึ่งปัญญาในพุทธศาสนา หมายถึง ความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์ (หรืออริยสัจ ๔)
โดยหัวใจของปัญญาจะอยู่ที่ ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่า
"จิตที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรานี้ มันไม่ได้เป็นตัวตนที่แท้จริง" (คือจิตเป็นอนัตตา) ส่วนศีล แปลว่า ความปรกติ
คือหมายถึงความปรกติของจิต
โดยศีลเกิดจากการที่เราตั้งใจที่จะไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น, รวมทั้งการตั้งใจที่จะไม่พูดโกหก, คำหยาบ, ส่อเสียด, และเพ้อเจ้อ ส่วนสมาธิ หมายถึง จิตที่ตั้งมั่นอยู่เสมอ
โดยจิตที่ตั้งมั่นนั้นจะมีลักษณะคือ (๑)
บริสุทธิ์จากกิเลสและนิวรณ์ซึ่งเป็นกิเลสอ่อนๆ (๒) เข้มแข็ง
คือไม่มีอะไรจะมายั่วยวนให้อ่อนไหวหรือเกิดกิเลสได้ และ (๓)
มีความอ่อนโยนควบคุมง่าย ซึ่งเหมาะแก่การนำมาใช้งาน ปัญญา ศีล สมาธิ นี้ จะต้องทำงานร่วมกันเสมอ
(จะแยกกันไม่ได้) จึงจะมีความสามารถทำให้กิเลสระงับหรือดับหายไปได้
(แม้เพียงชั่วคราว) หรือทำให้กิเลสอ่อนแรงลงได้ และสามารถทำลายต้นตอ (คืออวิชชา)
ที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราให้หมดสิ้นไปได้อย่างสิ้นเชิง
โดยศีลจะเป็นพื้นฐานให้จิตเกิดสมาธิ และสมาธิก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา แล้วปัญญาก็จะวนกลับมาทำให้จิตเกิดศีลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น
และเกิดสมาธิที่สูงขึ้น รวมทั้งเกิดปัญญาที่แหลมคมมากยิ่งขึ้น จนสามารถดับทุกข์ได้
(ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร) ในที่สุด สรุป
วิธีการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ตามหลักอริยมรรคนั้นสรุปอยู่ที่
"ให้ใช้ปัญญากับสมาธิมาทำงานร่วมกัน โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน"
ซึ่งหลักการนี้แม้ผู้ที่ไม่ได้บวชก็สามารถปฏิบัติได้
โดยศีลนั้นเราก็สามารถตั้งใจปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
ส่วนสมาธินั้นเพียงเราเรียนรู้หลักการปฏิบัตินิดหน่อยก็สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
แต่เรื่องปัญญานั้นออกจะยากหน่อย เพราะเพียงอาศัยความตั้งใจและความเชื่อจะไม่สามารถทำให้เกิดปัญญาตามที่พระพุทธเจ้าสอนได้อย่างถูกต้อง
จะต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์มาศึกษาธรรมชาติทั้งหลายที่เรารับรู้อยู่ โดยเน้นมาที่
ร่างกายและจิตใจของเราเอง จึงจะทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้
ซึ่งปัญญานี้จัดเป็นหัวใจของอริยมรรค ถ้าขาดปัญญาเสียอย่างเดียวอริยมรรคก็จะไม่เกิดขึ้นมาได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์
ดังนั้นต่อจากนี้ไปเราจะมาศึกษาวิธีการสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกันต่อไป ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๗. ปัญญาคืออะไร? ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ หรือ รู้รอบ
ซึ่งปัญญาในพุทธศาสนา หมายถึง ความรอบรู้ในเรื่องการดับทุกข์ (หรืออริยสัจ ๔)
ถ้าความรู้ใดไม่สามารถนำมาใช้ดับทุกข์ได้จะไม่เรียกว่าเป็นปัญญา
จะเรียกว่าเป็น ความรู้ เฉยๆ โดยปัญญาเป็นความรู้พิเศษที่สามารถทำให้กิเลส
(หรือตัณหาซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์) ระงับหรือดับหายไปได้ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวรโดยมีศีลและสมาธิมาทำงานร่วมกัน โดยหัวใจของปัญญาจะอยู่ที่
ความเข้าใจและเห็นแจ้งเรื่อง "ความเป็นอนัตตาของทุกสิ่ง"
ซึ่งคำสอนเรื่อง "อนัตตา" นี้จัดเป็นหัวใจของคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า
ถ้าเราสามารถศึกษาจนเข้าใจเรื่องความเป็นอนัตตาของทุกสิ่งได้อย่างถูกต้อง
เราก็จะเข้าใจคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าและของพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง
โดยไม่เชื่อตามคำสอนของใครๆแม้จากพระพุทธเจ้าเองก็ตาม โดยคำสอนโดยสรุปเพื่อให้เกิดปัญญานั้น
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรานำเอาขันธ์ ๕ (คือร่างกายกับจิตใจ) ของเรา มาพิจารณาถึงเรื่อง
"การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับหายไป ของแต่ละขันธ์ ตามความเป็นจริง"
ก็จะทำให้เราพบความจริงสูงสุดของธรรมชาติว่า "ร่างกายกับจิตใจของเรานี้
มันเป็นอนัตตา (คำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา) คือหมายถึงว่า
มันไม่ได้เป็นอัตตาหรือตัวตนที่แท้จริงที่จะมาเป็นตัวเราจริงๆเลย"
ซึ่งความเข้าใจและเห็นแจ้งเรื่องร่างกายและจิตใจของเราเป็นอนัตตานี้เอง
ที่จะทำให้กิเลสซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์อ่อนแรงลง รวมทั้งดับหายไปได้
(แม้เพียงชั่วคราว) โดยปัญญาของพุทธศาสนานั้นมี ๓ ระดับ คือ ๑. ปัญญาขั้นจำได้ คือเป็นการฟังหรืออ่านคำสอนที่ถูกต้องเรื่อง
"ความเป็นอนัตตาของทุกสิ่ง" มาแล้วก็จำได้ ซึ่งปัญญาขั้นนี้ยังไม่มีผลอะไร ๒. ปัญญาขั้นเข้าใจ
คือเป็นการนำเอาคำสอนที่จำได้นั้นมาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุหาผลด้วยความตั้งใจ
(คือด้วยสมาธิ) จนเกิดความเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง (คือหาจุดที่ผิดไม่เจอ)
ซึ่งปัญญาขั้นนี้เริ่มมีผลทำให้กิเลสอ่อนแรงลงบ้างแล้วแต่ยังไม่มาก ๓. ปัญญาขั้นเห็นแจ้ง
คือเป็นการนำเอาความเข้าใจเรื่องความเป็นอนัตตาของทุกสิ่ง
มาเพ่งดูที่ร่างกายและจิตใจของเราเองอย่างตั้งใจที่สุด (คือใช้สมาธิมากขึ้น)
จนทำให้กิเลสและนิวรณ์ (นิวรณ์คือกิเลสอ่อนๆ) ระงับหรือดับหายไปจริงๆ
(แม้เพียงชั่วคราว) ก็จะทำให้ความทุกข์ (คือความทุกข์ใจทุกระดับ คือทั้งชนิดอ่อนๆ
เช่น ความรู้สึกรำคาญใจเล็กๆน้อยฯ และชนิดรุนแรง เช่น ความเศร้าโศก
ความแห้งเหี่ยวใจฯ) ดับหายไปจริงๆ (แม้เพียงชั่วคราว) และเมื่อจิตไม่มีความทุกข์
นิพพานสูงสุด (ความสงบเย็นสูงสุดของจิต) ก็จะปรากฏแก่จิตทันที (แม้เพียงชั่วคราว)
ซึ่งปัญญาขั้นเห็นแจ้งนี้จัดเป็นปัญญาขั้นสูงสุดของพุทธศาสนา สรุป
ปัญญาคือความรู้ที่ทำให้กิเลสอ่อนแรงลงรวมทั้งหมดสิ้นไปได้
โดยคำสอนที่เป็นหัวใจของปัญญาก็คือคำสอนเรื่อง "ความเป็นอนัตตาของทุกสิ่ง"
และเมื่อเราเข้าใจเรื่องอนัตตาแล้ว เราก็จะเข้าใจเรื่อง อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
และ ทุกขัง (ความยากลำบาก) ของกฏไตรลักษณ์ตามมาด้วยทันที
แต่การที่จะศึกษาให้เกิดความเข้าใจเรื่องความเป็นอนัตตาได้อย่างถูกต้องนั้น
จะต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์เท่านั้นมาศึกษา (จะใช้ความเชื่อไม่ได้เด็ดขาด)
จึงจะศึกษาแล้วเกิดปัญญาตามที่พระพุทธเจ้าสอน (จุดนี้สำคัญมาก) **************************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๘. หลักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร? การศึกษาเรื่อง "อนัตตา" นั้น
จะต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์เท่านั้นมาศึกษา จึงจะศึกษาแล้วเกิดความเข้าใจและเห็นแจ้ง
โดยวิทยาศาสตร์นั้นเป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตุปรากฎการณ์ของธรรมชาติ
ซึ่งวิทยาศาสตร์นี้จัดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาความจริงของธรรมชาติที่ได้ผลอย่างสูงสุด โดยหลักการค้นหาความจริงของวิทยาศาสตร์นั้นสรุปอยู่ที่ ๑. ไม่เชื่อตำราหรือคำสอนของใครๆหรือทฤษฎีใดๆ
ว่าถูกต้อง หรือเป็นความจริงล่วงหน้า ๒. ศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง
ที่เราทุกคนสามารถสัมผัสได้จริง ๓. ศึกษาตามเหตุตามผลจากสิ่งที่มีอยู่จริง ๔. ศึกษาจากง่ายไปสู่ยาก
หรือจากพื้นฐานไปสู่ยอดอย่างเป็นระบบ ๕. ต้องมีการทดลองซ้ำๆเพื่อพิสูจน์ว่า
คำสอนหรือทฤษฎีที่กำลังศึกษาอยู่นั้น ถูกต้อง หรือ เป็นความจริง อย่างแน่ชัด
ก่อนยอมรับเอามาปฏิบัติ ธรรมชาตินั้นก็มีทั้งสิ่งที่เป็น วัตถุ และ
จิต
ซึ่งหลักวิทยาศาสตร์นี้สามารถใช้ในการค้นหาความจริงของธรรมชาติได้ทั้งวัตถุและจิตใจ
โดยพระพุทธเจ้านั้นทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ รวมทั้งยังเป็นจิตแพทย์
ที่ค้นพบวิธีการรักษาโรคทางจิต (คือความทุกข์ใจ) ให้บรรเทาเบาบางลงหรือหายขาดได้ สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์
ก็เพราะพระองค์ทรงใช้หลักวิทยาศาสตร์ทั้ง ๕ ข้อนี้มาค้นหา "ความจริงของชีวิตเรื่องความทุกข์"
ว่า "ความทุกข์นั้นเป็นอย่างไร?, เกิดขึ้นมาเพราะเหตุอะไร?, เมื่อไม่มีความทุกข์มันเป็นอย่างไร?,
และวิธีการปฏิบัติเพื่อความไม่มีทุกข์เป็นอย่างไร?" เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์
แสดงว่าคำสอนของพระองค์ก็ต้องวิทยาศาสตร์ด้วย ดังนั้นเราที่กำลังศึกษาคำสอนของพระองค์อยู่นี้
ก็ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์เหมือนพระองค์ด้วย (คือต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์มาศึกษา)
จึงจะทำให้เราศึกษาคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของพระองค์แล้วเข้าใจและเห็นแจ้ง
แต่ถ้าเราไปใช้หลักการศึกษาที่ตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์อันได้แก่หลักไสยศาสตร์ (คือใช้ความเชื่อที่ไร้เหตุผล
พิสูจน์ไม่ได้) มาศึกษา ก็จะทำให้ศึกษาคำสอนเรื่องการดับทุกข์ไม่เข้าใจ
แถมยังจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด (มีความเห็นผิด)
จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย **************************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๙. เรื่องอะไรที่พระพุทธเจ้าไม่สอน? อจินไตย แปลว่า ไม่ควรนำมาคิด
คือพระพุทธเจ้าทรงวางหลักสำคัญอย่างหนึ่งเอาไว้ว่า ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาอริยสัจ ๔
ไม่ควรศึกษาเรื่อง ๔ ประการนี้ อันได้แก่ ๑. พุทธวิสัย คือ
เรื่องเกี่ยวที่กับพระพุทธเจ้าหรือพระอริยะทั้งหลาย ว่ามีอยู่จริงหรือไม่หรือเป็นอย่างไร ๒. ฌานวิสัย คือ เรื่อง
เรื่องที่เกี่ยวกับสมาธิสูงๆ ว่าเป็นความจริงหรือไม่
หรือทำให้เกิดอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆได้จริงหรือไม่ ๓. กรรมวิบาก คือ
เรื่องที่เกี่ยวกับกรรมและผลของกรรม
(คือทั้งเรื่องกรรมที่ต้องไปรับผลเมื่อตายไปแล้ว และ กรรมในปัจจุบัน) ๔. โลกจินดา คือ
เรื่องโลกๆที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการดับทุกข์ทั้งหลาย เช่น เรื่องใครสร้างโลก? โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ตายแล้วไปไหน? เกิดอีกหรือไม่เกิดอีก? ถ้าเกิดอะไรไปเกิด? รวมทั้งเรื่องเทคโนโลยี่
และเรื่องการบ้านการเมือง รวมทั้งเรื่องต่างๆของชาวบ้าน เป็นต้น สาเหตุที่พระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ควรสนใจศึกษาเรื่องทั้ง
๔ นี้ก็เป็นเพราะเรื่องเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องการดับทุกข์
ถ้าเราไปสนใจศึกษาเข้า จะทำให้ปวดหัวและเสียเวลาเปล่า
(เพราะมันหาหลักฐานและข้อยุติไม่ได้) ที่สำคัญคือเมื่อเราหลงเข้าไปศึกษาแล้วก็อาจจะทำให้เราเกิดความเข้าใจผิด
(มีความเห็นผิด) ต่อคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ ส่วนเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอนให้เราศึกษาก็คือ
เรื่อง "ความทุกข์คืออะไร? เกิดจากอะไร? เมื่อความทุกข์ดับแล้วเป็นอย่างไร? และวิธีการดับทุกข์เป็นอย่างไร?"
(คือเรื่องอริยสัจ ๔) เพราะเรื่องการดับทุกข์นี้
เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ที่สุด
และเร่งด่วนที่สุดที่เราจะต้องรีบเรียนรู้ให้เข้าใจและทดลองปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งก่อน
ต่อเมื่อเราเกิดความเข้าใจและเห็นแจ้งในหลักอริยสัจ ๔ แล้ว
จึงค่อยไปสนใจศึกษาเรื่องอื่นได้ถ้ามันเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่คำสอนเรื่องการดับทุกข์
**************************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๐. พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความเชื่อไว้ว่าอย่างไร? มนุษย์เกิดมาโดยไม่มีปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต
ดังนั้นมนุษย์จึงต้องอาศัย "ความเชื่อ"
เป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิต โดย "ความจริง"
คือองค์ประกอบสำคัญของปัญญา
ซึ่งปัญญาก็เปรียบเสมือนดวงตาที่ทำให้เรามองเห็นความจริงของธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง
แต่ความเชื่อยังเป็นแค่เพียง "ความมั่นใจว่าเป็นความจริง" เท่านั้น
ดังนั้นความเชื่อจึงเปรียบเสมือนการที่เราตาบอดหรือไม่มีดวงตา แล้วเราก็ต้องเดินตามคนอื่นที่เราเชื่อว่าเขาตาดีหรือมีดวงตา
โดยที่เราก็ไม่รู้ความจริงว่า คนที่เราเดินตามเขานั้น
แท้จริงแล้วเขาตาดีหรือมีดวงตาจริงหรือไม่? พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีการจัดการกับความเชื่อไว้ในพระสูตรที่ชื่อว่า
"กาลามสูตร" (พระสูตรที่สอนแก่ชนชาวกาลามะของอินเดียในสมัยนั้น)
โดยมีใจความโดยสรุปดังนี้ เมื่อเราได้พบคำสอนใด
ก่อนอื่นเราจะต้องปฏิบัติดังนี้คือ ๑.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า ได้ยินได้ฟังมา ๒.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า
เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาตั้งแต่โบราณ ๓.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า
ผู้คนกำลังร่ำลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน ๔.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า มีตำราอ้างอิง ๕.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า มีเหตุผลตรงๆ (ตรรกะ) รองรับ ๖. อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า
มีเหตุผลแวดล้อมรองรับ ๗.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า สามัญสำนึกของเรามันยอมรับ ๘.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า
มันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว ๙.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า
ผู้ที่บอกหรือสอนนั้นดูภายนอกน่าเชื่อถือ ๑๐.
อย่าด่วนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า
ผู้ที่บอกหรือสอนนี้เป็นครูอาจารย์ที่เรานับถือ ต่อไปก็ให้เรานำเอาคำสอนนั้นมาพิจารณาดูว่า
คำสอนนั้นมีประโยชน์หรือโทษ และผู้รู้ (ผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลาง) ติเตียนหรือไม่ติเตียน
ถ้าพิจารณาแล้วพบว่าคำสอนนั้นมีโทษ ไม่มีประโยชน์ และผู้รู้ก็ติเตียน
ก็ให้ละทิ้งคำสอนนั้นไปเสีย แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสอนนั้นมีประโยชน์
ไม่มีโทษ และผู้รู้ก็ไม่ติเตียน ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติตามอย่างเต็มตามมาตรฐานของคำสอนนั้นแล้วพบว่า
ความทุกข์ไม่ลดลงหรือดับลงจริง (แม้เพียงชั่วคราว) ก็ให้ละทิ้งไปเสีย
แต่ถ้าทดลองปฏิบัติดูแล้ว ผลออกมาเป็นความลดลงหรือดับลงของความทุกข์จริง
(แม้เพียงชั่วคราว)
ก็ให้ยอมรับเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป (คือจนถึงดับทุกข์ได้อย่างถาวร) สรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าสอนว่า
"อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเราเอง" ถ้าเราหลงไปเชื่อตามคนอื่นหรือตามตำรา
หรือแม้จากสามัญสำนึกของเราเองก็ตาม
มันก็มีความเสี่ยงที่เราจะได้รับคำสอนที่ผิดมาปฏิบัติโดยที่เราไม่รู้ตัว
ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้เราได้รับคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าก็คือ
ต้องมีการพิสูจน์จนเกิดผลขึ้นมาจริงๆอย่างแน่ชัดก่อนเท่านั้น
ซึ่งการปฏิบัติตามหลักกาลามสูตรเช่นนี้อย่างเคร่งครัดเท่านั้น
จึงจะทำให้เราค้นพบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ด้วยสติปัญญาของเราเอง
โดยไม่อาศัยเชื่อตามตำราหรือตามคำสอนของใครๆแม้จากพระพุทธเจ้าเองก็ตาม ***************************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๑. คำว่า "อนัตตา" แปลว่าอะไร? เราได้ศึกษามาแล้วว่า หัวใจของปัญญา คือ
"ความเข้าใจและเห็นแจ้งเรื่องความเป็น "อนัตตา" ของขันธ์ ๕
(คือร่างกายกับจิตใจ) ของเรา" ซึ่งการที่จะศึกษาเรื่องอนัตตาจะต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์
(คือไม่เชื่อล่วงหน้า, ศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง,
ศึกษาอย่างเป็นระบบ, ต้องพิสูจน์จนเห็นผลจริงก่อนยอมรับ)
เท่านั้นจึงจะเข้าใจและเห็นแจ้ง โดยคำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา
ซึ่งความหมายก็คือ เป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเป็น "อัตตา"
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าสอนว่า "ร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา" ก็หมายถึง
ร่างกายและจิตใจไม่ใช่อัตตา ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจความหมายที่ถูกต้องของคำว่า
"อัตตา" เราก็จะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า "อนัตตา"
ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่าอัตตาให้ถูกต้องกันก่อน โดยคำว่า อัตตา เป็นภาษาบาลี แปลว่า ตน, ตัวตน, ตนเอง คือหมายถึง สิ่งที่เป็นตัวตนของมันเอง
หรือ ตัวตนที่แท้จริง โดยลักษณะของสิ่งที่เป็นอัตตานั้นมีลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑. อัตตา คือ มีตัวตนเป็นของมันเองโดยเฉพาะ
โดยไม่อาศัยสิ่งอื่นใดมาปรุงแต่งให้มันมีตัวตนของมัน ๒. นิจจัง คือ เที่ยง หรือ นิ่ง (คำว่า นิจจัง
แปลว่า เที่ยง) คือสิ่งที่เป็นอัตตาจะเป็นอมตะ (นิรันดร) คือไม่มีการเปลี่ยนแปลง
และไม่มีการดับ (หายไป) อย่างเด็ดขาด ๓. สุขัง คือ สุข หรือ สบาย (คำว่า สุข แปลว่า
ทนได้ง่าย) คือเมื่อสิ่งที่เป็นอัตตามันมีตัวตนเป็นของมันเองและเป็นอมตะ
ดังนั้นมันจึงตั้งอยู่อย่างสุขสบายหรือไร้ปัญหามารบกวน
เพราะไม่มีอะไรจะมาสร้างปัญหาให้กับมันได้ สรุปได้ว่า คำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา
ซึ่งเป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าสิ่งที่กล่าวถึงเป็นอัตตา ซึ่งศาสนาพราหมณ์
(หรือฮินดู) มีหลักคำสอนว่า จิตของคนและสัตว์ทั้งหลายเป็นอัตตา
ที่สามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้วเพื่อไปเกิดยังร่างกายใหม่ๆได้เรื่อยไป
แต่พระพุทธเจ้ากลับสอนว่า "จิตของคนและสัตว์ทั้งหลายเป็นอนัตตา"
คือเป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าจิตของคนและสัตว์ทั้งหลายเป็นอัตตาตามที่ศาสนาพราหมณ์สอน
ซึ่งก็เท่ากับว่าพระพุทธเจ้าไม่ยอมรับคำสอนเรื่อง
"จิตของสิ่งที่มีชีวิตจะสามารถออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อไปเกิดใหม่ได้"
ตามที่ศาสนาพราหมณ์สอน ******************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๒. พระพุทธเจ้าค้นพบอะไรจึงทำให้พระองค์ทรงตรัสรู้? ในทางศาสนาคำว่า "สิ่งสูงสุด"
หมายถึง
สิ่งที่มีอำนาจสูงสุดที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมา, รักษาทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้, ดลบันดาลให้สิ่งต่างๆเป็นไป,
และทำลายสิ่งต่างๆไปเมื่อถึงเวลา
โดยทุกศาสนาย่อมมีสิ่งสูงสุดไว้เป็นที่เคารพและเกรงกลัว โดยศาสนาพราหมณ์, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม เป็นต้น นับถือ
"เทพเจ้า" หรือ "พระเจ้า" (สิ่งเหนือธรรมชาติ" )
เป็นสิ่งสูงสุด ส่วนพุทธศาสนานับถือ "ธรรมชาติ" (สิ่งธรรมดา)
เป็นสิ่งสูงสุด โดยพระพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงว่า
ธรรมชาตินั้นมีกฎอยู่กฎหนึ่ง ซึ่งไม่มีอะไรจะอยู่เหนือกฎนี้ไปได้ โดยกฎนี้เรียกว่าเป็น
"กฎสูงสุดของธรรมชาติ" ที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่า "อิทัปปัจจยตา" ที่แปลว่า การอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ซึ่งแม้พระพุทธเจ้าก็ยังเคารพกฎนี้ โดยกฎสูงสุดของธรรมชาตินี้ ได้บังคับเอาไว้ว่า
"การที่สิ่งใด (ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือจิตใจก็ตาม) จะเกิดขึ้น จะต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่ง
(ร่วมกันทำ) ให้เกิดขึ้น" ซึ่งความหมายในทางตรงข้ามก็คือ
"ไม่มีสิ่งใดที่จะเกิดขึ้นมาได้เองลอยๆโดยไม่มีเหตุและปัจจัย"
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยนี้เรียกว่าเป็น "สิ่งปรุงแต่ง"
เพราะมันจะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า คำว่า
"เหตุ" หมายถึง เหตุใหญ่ หรือ เหตุสำคัญ (ซึ่งมีเพียงเหตุเดียว)
ส่วนคำว่า "ปัจจัย" หมายถึง เหตุย่อยๆ (ซึ่งมีได้หลายปัจจัย) หรือ
สิ่งที่มาสนับสนุนเหตุใหญ่ ส่วนคำว่า
"ปรุงแต่ง" หมายถึง ทำ หรือ สร้าง ส่วนคำว่า "เกิด" นี้หมายถึง
จากเดิมที่สิ่งนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อน แล้วจึงมีขึ้นมาในภายหลัง ส่วนคำว่า
"ดับ" หมายถึง จากเดิมที่สิ่งนั้นได้เกิดขึ้นมาแล้ว แต่ภายหลังได้หายไป
ส่วนคำว่า "ตั้งอยู่" หมายถึง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วแต่ยังไม่ดับหายไป
ซึ่งคำว่า "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับหายไป" นี้ใช้ได้กับทั้งสิ่งที่เป็นวัตถุและจิตใจ
(แต่บางที่เราก็ใช้คำว่า "แตกสลาย" กับวัตถุ และใช้คำว่า
"ดับหายไป" กับเรื่องจิตใจ) ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการเคาะระฆังเป็นเหตุ
และมีระฆัง, ไม้เคาะระฆัง, อากาศ เป็นปัจจัย จึงทำ (ปรุงแต่ง) ให้เกิดผล
คือเสียงระฆังขึ้นมา แต่ถ้าไม่มีเหตุหรือปัจจัยพร้อม เสียงระฆังก็จะไม่เกิดขึ้น
หรือเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็จะดับหายไปทันที เป็นต้น ซึ่งเรามักจะพูดสั้นๆว่า
"เหตุทำให้เกิดผล" (คือการเคาะระฆังทำให้เกิดเสียงระฆังขึ้นมา) เท่านั้น
ซึ่งก็อาจจะฟังดูไม่เข้าใจ แต่ถ้าจะให้ชัดเจนก็ต้องพูดว่า "เหตุปัจจัยทำให้เกิดผล"
หรือ "ผลเกิดมาจากเหตุปัจจัย" กฎอิทัปปัจจยตานี้เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องง่ายๆหรือธรรมดา
ที่ใครๆเขาก็รู้กันอยู่แล้วว่า
"อะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องมีเหตุมาทำให้เกิดขึ้น"
แต่เรื่องง่ายๆหรือธรรมดานี้เอง ถ้าเรานำมาพิจารณาให้ละเอียดรอบครอบ เราก็จะพบกับ
"ความจริงที่ลึกซึ้งสูงสุด" เรื่อง "สุญญตา"
(ความว่างจากอัตตา) ที่ซ่อนอยู่ในสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาของธรรมชาติได้ โดยการพิจารณานั้นก็คือ การพิจารณาว่า
เมื่อเหตุ (สิ่งที่ทำให้เกิดผล) ทำให้เกิดผล (สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุ), แล้วผลนั้นก็จะกลับมาเป็นเหตุให้เกิดผลใหม่ขึ้่นมาอีก,
แล้วผลใหม่นั้นก็จะกลับมาเป็นเหตุให้เกิดผลใหม่ๆขึ้นมาอีก ฯลฯ
คือมันจะเป็นเหตุเป็นผล, เป็นเหตุเป็นผล, เป็นเหตุเป็นผล ฯลฯ
เหมือนสายโซ่ที่คล้องต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
อีกทั้งเหตุเพียงเหตุเดียว ก็ยังอาจทำให้เกิดผลได้หลายผล
และผลเพียงผลเดียวก็ยังเกิดมาจากหลายๆเหตุ (หรือหลายปัจจัย) ได้
ซึ่งนี่เองที่ทำให้เราเข้าใจได้ว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาตินี้
ล้วนมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม
ไม่ในอดีตก็ในปัจจุบัน" ซึ่งความเกี่ยวข้องกันนี้มันสลับซ้อนและยุ่งเหยิงอย่างมาก
จนเราไม่สามารถไปล่วงรู้รายละเอียดของเหตุและปัจจัยทั้งหมดของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นมาได้
แต่ก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องรู้เรื่องนี้ก็ได้ เพียงเรารู้ว่า
"ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัย" เท่านั้นก็พอแล้ว
เพราะความรู้นี้จะทำให้เกิดปัญญาที่เข้าใจและเห็นแจ้งเรื่อง
"ความเป็นอนัตตาของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา" ได้แล้ว การที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
"กฎสูงสุดของธรรมชาติ" นี้เอง ที่ทำให้พระองค์ทรงค้นพบความจริง ๓ ประการ
(ที่เรานิยมเรียกว่ากฏไตรลักษณ์)
ที่ธรรมชาติซ่อนเอาไว้ในสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ซึ่งความจริงทั้ง ๓
ประการนั้นก็ได้แก่ ๑. อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่อัตตา คือ
เมื่อเรามาพิจารณาถึงสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย เราก็จะพบความจริง ว่า
"สิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย จะต้องมีเหตุและปัจจัยมาาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น
(ตามกฎอิทัปปัจจยตา)" ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายเป็นอนัตตา
(คือไม่ใช่อัตตาเพราะสิ่งที่เป็นอัตตาจะไม่อาศัยสิ่งอื่นใดมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น)
ซึ่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมานี้ เราจะเรียกว่าเป็น
"ตัวตนชั่วคราว" (คือมันไม่เป็นอมตะ) หรือ "ตัวตนมายา"
(คือมันหลอกลวงว่ามันเป็นของจริง) หรือ "ตัวตนสมมติ"
(คือสมมติเรียกว่าเป็นตัวตนเพื่อใช้ในการเสื่อสารให้เข้าใจ) ๒. อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง คือ "สิ่งปรุงแต่ง" ทั้งหลายนั้น
เมื่อมันอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาแล้ว
มันจะไม่สามารถตั้งอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป (ถ้ามันสามารถตั้งอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไปมันก็จะเป็น
นิจจัง คือ เที่ยง) เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ภายในตัวของมันเองตลอดเวลา
รวมทั้งไม่ช้าก็เร็วสภาพการปรุงแต่งของมันก็จะต้องดับหายไปอย่างแน่นอน
(คือเมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งนั้นล้วนจะต้องดับหายไปในที่สุด) ๓. ทุกขัง แปลว่า ทน, ต้องทน, ทนได้ยาก คือ "สิ่งปรุงแต่ง"
ทั้งหลายนั้น เมื่อมันยังตั้งอยู่ มันจะต้องทนประคับประครองรักษาสภาพการปรุงแต่ง
(ตัวตนชั่วคราว) ของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก
ซึ่งภาวะที่ต้องทนนี้ก็เกิดจากการแสวงหาเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้ตัวตนชั่วคราวของมันดำรงค์อยู่ และยังต้องทนจากการถูกสิ่ง (ธรรมชาติ)
ภายนอกมาทำลายให้ตัวตนชั่วคราวของมันแปรปรวน เสื่อมสลาย หรือดับหายไป อยู่ตลอดเวลา
รวมทั้งมันยังต้องทนต่อความเปลี่ยนแปลง (คืออนิจจัง)
ภายในตัวตนชั่วคราวของมันอีกด้วย
ถ้าสิ่งปรุงแต่งใด (หรือขณะใด) มีภาวะต้องทนน้อย ก็สมมติเรียกว่า สุขัง
ที่หมายถึง ทนได้ง่าย หรือ ทนได้สบาย แต่ถ้าสิ่งปรุงแต่งใด (หรือขณะใด)
มีความต้องทนมาก ก็เรียกตรงๆว่า "ทุกขัง" ที่หมายถึง ทนได้ยาก
แต่ไม่ว่าจะทนได้ง่ายหรือทนได้ยาก มันก็ต้องทนเหมือนกันหมด
ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่มีภาวะที่ต้องทน ความรู้เรื่อง อนิจจัง กับ ทุกขัง นั้น
ในสมัยพุทธกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้
พวกฤๅษีหรือนักบวชทั้งหลายในสมัยนั้นเขาก็รู้กันอยู่แล้ว ส่วนความรู้เรื่อง อนัตตา
นั้น เขาก็พอจะรู้กันอยู่บ้างแล้ว แต่ว่ายังไม่ชัดเจนถึงที่สุด
คือเขาก็เข้าใจถูกว่า สิ่งต่างๆของธรรมชาติ เช่น
วัตถุสิ่งของทั้งหลายนั้นมันเป็นอนัตตา แต่เขายังเข้าใจผิดว่า
"จิตของคนและสัตว์ทั้งหลายเป็นอัตตาอยู่"
ซึ่งนี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้พวกเขาไม่สามารถปฏิบัติให้จิตนิพพานอย่างถาวรได้
จนเจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบความจริงว่า
"แม้จิตของคนและสัตว์ทั้งหลายก็เป็นอนัตตาเหมือนกันหมด
ไม่ว่าจิตนั้นจะยังมีกิเลสครอบงำอยู่หรือไม่มีกิเลสครอบงำอยู่ก็ตาม"
และเมื่อพระองค์ทรงนำความรู้นี้มาทดลองปฏิบัติร่วมกับสมาธิ
จนทำให้จิตของพระองค์นิพพานอย่างถาวร จึงทำให้พระองค์ทรงตรัสรู้
(คือพูดได้ว่ารู้แล้ว) เป็น "พุทธะ" (ผู้รู้แจ้งโลก) ขึ้นมา ความจริงทั้ง ๓ ประการนี้เอง
ที่เป็นปัญญาหรือความรู้ที่เมื่อเรานำมาเพ่งพิจารณาร่างกายกับจิตใจ (ขันธ์ ๕)
ของเราด้วยสมาธิ ก็จะทำให้กิเลส (ที่เป็นสาเหตุของความทุกข์ใจ) อ่อนแรงลง
รวมทั้งดับหายไปได้ (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร)
ซึ่งความรู้ที่เป็นหัวใจของปัญญาก็คือความรู้เรื่อง
"ความเป็นอนัตตาของจิตใจเราเอง"
และเมื่อเรานำเอาความรู้เรื่องความเป็นอนัตตานี้มาเพ่งพิจารณาร่างกายและจิตใจของเราอย่างตั้งใจที่สุด
(คือด้วยสมาธิ) ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงความจริงสูงสุดของชีวิตเรื่องสุญญตา (คือความว่างจากอัตตาหรือตัวเรา) ได้ และถ้าจิตของเรามีสมาธิมากพอ
กิเลสในจิตใจเราก็จะระงับหรือดับหายไปทันที (แม้เพียงชั่วคราว) แล้วความทุกข์
(ความเศร้าโศก และความไม่สบายใจแม้เพียงเล็กน้อย) ก็จะระงับหรือดับหายไปทันที
(แม้เพียงชั่วคราว) แล้วจิตของเราก็จะนิพพาน (สงบเย็น) ทันที (แม้เพียงชั่วคราว ************************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๓. ขันธ์ ๕ คืออะไร? คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง, กลุ่ม คือ ชีวิตของคนเรานี้ประกอบขึ้นมาจากกลุ่ม ๕ กลุ่ม อันได้แก่ ๑. รูป คือ วัตถุหรือร่างกายที่เกิดมาจาก
ธาตุทางวัตถุ ๔ อย่างปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ซึ่งธาตุทั้ง ๔ ก็ได้แก่ ๑. ธาตุดิน คือ
ของแข็ง ๒. ธาตุน้ำ คือ ของเหลว ๓.
ธาตุไฟ คือความร้อน ๔. ธาตุลม คือก๊าซ ซึ่งร่างกายที่ยังไม่ตายนี้จะมี
"อายตนะภายใน" (สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออันเป็นภายใน) ๖ จุด คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ สำหรับทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ
"อายตนะภายนอก" (สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออันเป็นภายนอก) ที่ตรงกัน ๖
อย่าง คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย เช่น เย็น, ร้อน, อ่อน แข็ง ฯ), ธรรมารมณ์
(สิ่งสัมผัสใจ เช่น การรับรู้, การจำได้, ความรู้สึก, การปรุงแต่งคิดนึก ฯ)
ซึ่งอายตนะภายในนี้ ไม่ใช่รูป (ไม่ใช่วัตถุหรือร่างกาย) แต่เป็นนามธรรม
(ธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป) ที่อาศัยรูป (ร่างกาย) ที่ยังดีอยู่ (คือยังไม่ตาย)
และกำลังทำงานอยู่ แล้วเกิดขึ้นมา เช่น อายตนะตา อาศัยแก้วตาเกิดขึ้น, อายตนะหู อาศัยแก้วหูเกิดขึ้น, อายตนะจมูก
อาศัยเนื้อเยื่อที่โพรงจมูกเกิดขึ้น เป็นต้น ๒. วิญญาณ คือ การรับรู้ ซึ่งวิญญาณเกิดมาจาก
"อายตนะภายนอกมาถึงกันเข้ากับอายตนะภายใน"
โดยวิญญาณนี้ก็เกิดขึ้นมาตามอายตนะภายในทั้ง ๖ นั่นเอง เช่น
เมื่อรูปมาถึงกันเข้ากับอายตนะตา ก็จะเกิดวิญญาณทางตา (การเห็นรูป) ขึ้นมาทันที
หรือ เมื่อเสียงมากระทบกับอายตนะหู ก็จะเกิดวิญญาณทางหู (การได้ยินเสียง)
ขึ้นมาทันที เป็นต้น ซึ่งวิญญาณนี้ก็เหมือนกับไฟฟ้า
ที่เกิดจากแสงแดดส่องมากระทบแผ่นโซล่าร์เซลล์ที่ยังดีอยู่นั่นเอง
๓. สัญญา คือ การจำสิ่งที่รับรู้ได้
คือเมื่อเกิดการรับรู้สิ่งใดขึ้น ก็จะเกิดการจำสิ่งที่รับรู้นั้นได้ขึ้นมาทันที
โดยสัญญานี้ก็มีอยู่ ๖ อย่างตามวิญญาณนั่นเอง เช่น เมื่อตาเห็นรูป
ก็จะเกิดการจำรูปที่เห็นนั้นได้ขึ้นมาด้วยทันทีว่าเป็นรูปของอะไร
หรือเมื่อหูได้ยินเสียง
ก็จะเกิดการจำเสียงที่ได้ยินนั้นขึ้นด้วยมาทันทีว่าเป็นเสียงของอะไรและมีความหมายอย่างไร
เป็นต้น โดยการที่จะเกิดการจำสิ่งใดได้
จะต้องมีข้อมูลของสิ่งนั้นบันทึกไว้ที่เนื้อสมอง ถ้าสมองเสียหาย
ก็จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดหายไป และเมื่อไม่มีข้อมูลที่สมอง แม้จะเกิดวิญญาณขึ้น
ก็จะจำอะไรไม่ได้ ๔. เวทนา คือ
ความรู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้และจำได้ คือเมื่อเกิดการรับรู้และจำสิ่งใดได้ขึ้นมาเมื่อใด
ก็จะเกิดความรู้สึกต่อสิ่งที่รับรู้และจำได้นั้นขึ้นมาด้วยทันที
(คือเวทนานี้ก็จะเกิดขึ้นต่อจากสัญญานั่นเอง) โดยเวทนานี้สรุปได้ ๓ เวทนา คือ ๑.
สุขเวทนา คือความรู้สึกที่ทนได้ง่าย (ความรู้สึกที่น่าพึงพอใจ) ๒. ทุกขเวทนา
คือความรู้สึกที่ทนได้ยาก (ความรู้สึกที่ไม่น่าพึงพอใจ) ๓. อทุกขมสุขเวทนา
ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ (ความรู้สึกจืดๆหรือกลางๆระหว่างสุขเวทนากับทุกขเวทนา)
ซึ่งเวทนาหรือความรู้สึกนี้ทางวิทยาศาสตร์บอกว่า
มันคือสารเคมีที่สมองหลั่งออกมาเมื่อสมองกำลังทำงานอยู่ (สุขเวทนาก็คือสารสุข
ส่วนทุกขเวทนาก็คือสารทุกข์) ซึ่งสุขเวทนานั้นเรานิยมเรียกว่า "ความสุข"
ส่วนทุกขเวทนานั้นจะยังไม่เรียกว่าเป็น "ความทุกข์" จนกว่าจะเป็น
"ทุกขเวทนาที่รุนแรงที่เกิดขึ้นที่ใจ" (จากกิเลส)
จึงจะเรียกว่าเป็นความทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ๕. สังขาร คือ ปฏิกิริยาหรืออาการต่อเวทนา
คือเมื่อเกิดเวทนาใดขึ้นมา ก็จะเกิดอาการต่อเวทนานั้นขึ้นมาด้วยทันที
คือเมื่อเราขาดสติปัญญาและสมาธิ แล้วเกิด "สุขเวทนา" ขึ้นมา
ก็จะเกิดอาการพึงพอใจ (หรือ ยินดี, อยากได้,
รัก, ชอบ ฯ ซึ่งจัดเป็นกิเลสประเภท บวก)
ขึ้นมาทันที รวมทั้งยังเกิดการคิดพิจารณาไปตามความพึงพอใจอีกด้วย แต่ถ้าเกิด
"ทุกขเวทนา" ขึ้นมา ก็จะเกิดอาการไม่พึงพอใจ (หรือ ยินร้าย, ไม่อยากได้, ชัง, โกรธ,
เกลียด, กลัว, เบื่อ ฯ
ซึ่งจัดเป็นกิเลสประเภท ลบ) ขึ้นมาทันที
รวมทั้งยังเกิดการคิดพิจารณาไปตามความไม่พึงพอใจอีกด้วย และถ้าเกิด "อทุกขมสุขเวทนา" ขึ้นมา ก็จะเกิดอาการ ลังเลใจ
(หรือไม่แน่ใจ, งง, เซ่อ, ตัดสินใจไม่ถูก ฯ ซึ่งจัดเป็นกิเลสประเภท กลางๆ) ขึ้นมาทันที
รวมทั้งยังเกิดการคิดพิจารณาไปตามความลังเลใจอีกด้วย
ซึ่งอาการของกิเลสนี้เองที่เป็น "ธรรมารมณ์อันเลวร้าย"
ที่มากระทบอายตนะใจ แล้วทำให้ใจเกิด
"ทุกขเวทนาที่รุงแรง" ซ้อนขึ้นมาอีกที
ซึ่งทุกขเวทนาที่รุนแรงที่เกิดซ้อนขึ้นมานี้เองที่เรียกว่าเป็น ความทุกข์
(ความทุกข์ใจ) ตามหลักอริยสัจ ๔ นั่นเอง สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจจุดนี้ก็คือ
ถ้าพูดถึงขันธ์ใด จะต้องมีคำว่า "ขันธ์" ต่อท้ายด้วยเสมอจึงจะถูกต้อง
คือ รูปขันธ์, วิญญาณขันธ์, สัญญาขันธ์,
เวทนาขันธ์, สังขารขันธ์
แต่การพูดเช่นนี้ไม่นิยม เพราะมันยาวและฟังไม่ค่อยไพเราะ
ดังนั้นคนทั่วไปจึงมักพูดกันสั้นๆและเรียงลำดับขันธ์ใหม่เป็น รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ซึ่งฟังดูคล้องจองและจำได้ง่าย แต่มันไม่ได้เรียงลำดับการเกิดของแต่ละขันธ์
จึงอาจทำให้คนฟังเกิดความเข้าใจสับสนได้ จึงขอให้เข้าใจตามนี้ ขันธ์ทั้ง ๕ นี้สรุปย่อลงได้เป็น รูป กับ นาม
(คือร่างกาย กับ จิตใจ) โดย "รูป" ก็คือ รูป ส่วน "นาม" ก็คือ
วิญญาณ,
สัญญา, เวทนา, สังขาร
ซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ นี้เองที่รวมกันเป็นชีวิต (คือร่างกายและจิตใจ) ของเรา โดยคำว่า
"จิต" หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่คิดนึก ส่วนคำว่า "ใจ" หมายถึง
สิ่งที่ทำหน้าที่รับรู้และรู้สึก คือ จิต หรือใจ มันก็คือ
ระบบการทำงานของนามนั่นเอง เพียงแต่มาเรียกชื่อต่างกันตามหน้าที่การทำงานเท่านั้น ********************* หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๔. ร่างกายกับจิตใจ เป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" อย่างไร? สิ่งทั้งหลาย (ทั้งรูปและนาม)
ของธรรมชาตินั้นสรุปได้ ๒ อย่าง คือ สิ่งปรุงแต่ง กับ สิ่งไม่ปรุงแต่ง โดย "สิ่งปรุงแต่ง" ก็คือ
"สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น" ตามกฎอิทัปปัจจยตา ซึ่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายจะมีความเป็นอนัตตา
(ไม่ใช่อัตตา), อนิจจัง (ไม่เที่ยง), และทุกขัง (ภาวะต้องทน) ตามกฎไตรลักษณ์ ซึ่งทุกสิ่งยกเว้นนิพพาน และ
สุญญากาศ จัดเป็นสิ่งปรุงแต่งทั้งสิ้น ส่วน "สิ่งไม่ปรุงแต่ง" ก็คือ
สิ่งที่ไม่อาศัยเหตุปัจจัยใดๆมาปรุงแต่งให้มันมีอยู่
ดังนั้นสิ่งไม่ปรุงแต่งจึงเป็นนิจจัง (คือเที่ยงหรือมีอยู่ตลอดเวลา)
และมีภาวะของสุขัง (คือตั้งอยู่อย่างสุขสบาย) แต่มันก็ยังเป็น อนัตตา คือ
ไม่ใช่อัตตา (เพราะมันไม่ได้มีตัวตนใดๆหรือเป็นของใครๆ) โดย "สิ่งไม่ปรุงแต่ง"
นั้นในทางวัตถุก็ได้แก่ สุญญากาศ ส่วนสิ่งไม่ปรุงแต่งในทางนามธรรม ก็ได้แก่ นิพพาน
(ความสงบเย็นของจิต) เมื่อเรานำเอาขันธ์ทั้ง ๕
ของเรามาพิจารณาอย่างละเอียดรอบครอบเราก็จะพบว่า มันเป็น "สิ่งปรุงแต่ง"
คือร่างกาย (อวัยวะต่างๆ) ก็ต้องอาศัยธาตุ ๔ (คือธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุลม)
มาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น, ส่วนวิญญาณ (การรับรู้)
ก็ต้องอาศัยร่างกายที่ยังดีอยู่หรือยังไม่ตายเกิดขึ้น, ส่วนสัญญา
(การจำสิ่งที่รับรู้ได้) ก็ต้องอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น, ส่วนเวทนา
(ความรู้สึกต่อสิ่งที่จำได้) ก็ต้องอาศัยสัญญาเกิดขึ้น, และสังขาร
(การปรุงแต่งคิดนึก) ก็ต้องอาศัยเวทนาเกิดขึ้น
ซึ่งนี่ก็แสดงให้เราเข้าใจได้ทันทีว่า "ถ้าร่างกายตาย
วิญญาณที่เคยเกิดขึ้นที่ร่างกายนี้ ก็จะดับหายไปอย่างถาวร"
และเมื่อไม่มีวิญญาณเสียอย่างเดียว ทั้งสัญญา เวทนา และ สังขาร
ก็จะดับหายตามไปด้วยอย่างถาวร" เหมือนกับการที่เราจุดเทียนไว้และเกิดแสงเทียนขึ้นมา
เมื่อเชื้อเพลิง (คือเทียน) หมด เแสงเทียนนั้นก็จะดับหายไปด้วยทันที
ซึ่งนี่ก็คือลักษณะของความเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) ของร่างกายกับจิตใจ อีกทั้งร่างกายของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
คือไหลจากความเป็นเด็กไปสู่ความแก่ชราและความตาย ส่วนจิตใจ
(สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้) ที่รู้สึกว่าเป็นเรา (หรือตัวเรา)
มันก็มีการเกิดดับอยู่เสมอๆ คือเมื่อเราตื่นขึ้น ก็เรียกว่า "จิตเกิด"
แต่พอเราหลับสนิทและไม่ฝัน ก็เรียกว่า "จิตดับ"
(แต่ถ้าหลับแล้วยังฝันอยู่ก็เรียกว่าจิตเกิดเหมือนกัน เพียงแต่ว่ายังเกิดไม่สมบูรณ์เพราะยังขาดเจตนา)
รวมทั้งแม้ขณะที่จิตยังตั้งอยู่ (คือเกิดมาแล้วแต่ยังไม่ดับ)
แล้วเราก็ขาดสติปัญญาและสมาธิ มันก็ยังเกิดการอาการของกิเลส
(พอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ) ต่างๆขึ้นมาแล้วก็ดับหายไป
สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปอยู่เกือบจะตลอดเวลา ซึ่งนี่ก็คือลักษณะของอนิจจัง
(ความไม่เที่ยง) ของร่างกายกับจิตใจ อีกอย่าง เมื่อร่างกายเกิดขึ้นมา
มันก็ยังต้องทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ความเจ็บ ความปวด
และโรค-ภัยต่างๆ มากบ้างน้อยบ้าง มากมายอยู่ตลอดเวลาทั้งชีวิต ส่วนจิตใจนั้น
เมื่อมันเกิดกิเลสใดๆขึ้นมา มันก็จะเกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเราขึ้นมา
และเมื่อตัวเรานี้ต้องมาประสบกับภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจของโลก (คือความแก่
เจ็บ ตาย และความพลัดพรากจกสิ่งที่รัก ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ความผิดหวัง)
มันก็จะเกิดความทุกข์ (ความเศร้าโศก ความไม่สบายใจฯ) ขึ้นมาทันที แต่เมื่อใดที่จิตไม่เกิดกิเลสและความยึดถือว่ามีตัวเราขึ้นมา
ก็จะทำให้ภาวะของทุกขัง (ภาวะที่ต้องทน) ของจิต
ลดน้อยลงจนถึงที่สุดเท่าที่มันจะลดลงได้แล้ว (คือจิตเป็นสิ่งปรุงแต่ง
ดังนั้นมันจึงต้องมีภาวะของทุกขังอยู่ด้วยตลอดเวลา)
ซึ่งภาวะที่ทุกขังของจิตได้ลดลงจนถึงที่สุดนี้เองที่เรียกว่า
"ที่สุดแห่งทุกข์" หรือ
"นิพพาน" (ความสงบเย็น) ซึ่งนี่ก็คือลักษณะของทุกขัง (ภาวะที่ต้องทน)
ของร่างกายกับจิตใจ สรุป ขันธ์ ๕ หรือ
ร่างกายกับจิตใจที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเรา (คือจิตใจ) และ ของเรา (คือร่างกาย) นี้
มันเป็น "สิ่งปรุงแต่ง" ซึ่งสิ่งปรุงแต่งนั้นมันมีความจริงที่สำคัญซ่อนอยู่
๓ ประการ คือ อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ไม่เป็นอมตะ , ทุกขัง
คือมีภาวะที่ต้องทน และ อนัตตา คือ
ไม่ใช่อัตตาหรือตัวตนที่แท้จริงที่จะเป็นตัวเราได้
ซึ่งเมื่อใดที่จิตได้เกิดกิเลสและความยึดถือว่าขันธ์ ๕ (คือร่างกายกับจิตใจ)
เป็นตัวเรา-ของเราขึ้นมา จิตมันก็จะเป็นทุกข์
แต่ถ้าจิตไม่เกิดกิเลสและความยึดถือว่าร่างกายกับจิตใจนี้เป็นตัวเรา-ของเรา
มันก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อจิตไม่มีความทุกข์มันก็จะนิพพาน (สงบเย็น) ทันที
(แม้เพียงชั่วคราว) ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๕. ฉันคืออะไร? เมื่อพิจารณาถึงเหตุให้เกิดขันธ์ ๕
แต่ละขันธ์ขึ้นมา เราจะพบว่า "สิ่งที่เป็นอัตตาหรือตัวตนที่แท้จริง
ที่เป็นตัวตนของเราจริงๆนั้นมันไม่มี" มีแต่ระบบการทำงานของขันธ์ ๕ เท่านั้น
แต่ก็จะเกิดคำถามขึ้นว่า ทำไมเราจึงรู้สึกตัวว่ามีเราอยู่จริงๆในขณะนี้? ซึ่งนี่เองที่ทำให้เราไม่เข้าใจคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนว่า
"ไม่มีตัวเราอยู่จริง" (สุญญตา)
มีแต่ตัวตนมายา หรือ ตัวตนชั่วคราว ที่ไม่ใช่อัตตา (คือเป็นอนัตตา) เท่านั้น ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้
มันขัดแย้งกับเหตุผลตามกฎอิทัปปัจจยตาที่บอกว่า
"ไม่มีสิ่งใดเป็นอัตตาหรือตัวตนที่แท้จริง" และเราก็มักจะ
"เชื่อความรู้สึกของเรา" ที่มันรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่จริงๆมากกว่า
และก็ยังเชื่อว่ามีตัวเรามาเกิด และเมื่อร่างกายตายไปแล้ว ตัวเรานี้ (คือจิตใจ)
จะยังไม่ดับหายไป แต่จะสามารถออกจากร่างกายที่ตายแล้ว เพื่อไปเกิดเป็นเราในร่างกายใหม่ๆได้เรื่อยไป
ตราบเท่าที่จิตใจของเรายังไม่หมดกิเลสอย่างถาวร ซึ่งสรุปก็คือ
"เราเชื่อความรู้สึกของจิต" (สามัญสำนึก คือ
ความรู้สึกธรรมดาๆของจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา)
ที่เราก็ไม่รู้ว่ามันหลอกเราหรือเปล่า? และเมื่อเราเชื่อความรู้สึกของจิต
จึงทำให้เรา "ไม่ยอมรับความจริง ที่มีเหตุมีผล พิสูจน์ได้
ตามหลักวิทยาศาสตร์" ที่บอกว่า
"ไม่มีตัวเราอยู่จริง" เรื่อง
"ความรู้สึกตัวว่ามีตัวเราอยู่จริง" นี้ อธิบายได้ว่า
ตามธรรมชาติของจิตนั้น เมื่อมันถูกปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันจะเกิด
"ความรู้สึกตัวว่ามีตนเอง" (คือความรู้สึกตัวว่ามีอัตตา หรือ
ความรู้สึกตัวว่ามีตัวเรา) ขึ้นมาด้วยเสมอ
ซึ่งในทางพุทธศาสนาจะเรียกความรู้สึกตัวว่ามีตนเองนี้ว่าเป็น "อวิชชา"
ที่แปลว่า ไม่ใช่วิชชา โดยคำว่า "วิชชา" แปลว่า
ความรู้สูงสุด ซึ่งความรู้สูงสุดก็คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ โดยความรู้ที่นำมาใช้ดับทุกข์ได้ก็คือ
คำสอนเรื่องอริยสัจ ๔ นั่นเอง แต่หัวใจของอริยสัจ ๔ ก็คือ อริยมรรค
โดยหัวใจของอริยมรรคก็คือ ปัญญา และหัวใจของปัญญาก็คือ ความรู้เรื่องจิตเป็นอนัตตา
จึงสรุปได้ว่า คำว่า "วิชชา" ก็หมายถึง ความรู้ว่าจิตเป็นอนัตตา
(คือไม่ใช่ตัวเรา) ดังนั้นคำว่า "อวิชชา" จึงหมายถึง
ความรู้ว่าจิตเป็นอัตตา (คือเป็นตัวเรา) อวิชชาหรือความรู้ว่าจิตเป็นตัวเรานี้เองที่เป็นต้นเหตุให้จิตเกิด
"ความเห็นแก่ตัว" (เพราะมันรู้สึกตัวว่ามีตัวเอง)
เมื่อจิตเกิดความเห็นแก่ตัว จึงทำให้จิตเกิดกิเลส (คือพอใจเพื่อตัวเอง, ไม่พอใจเพื่อตัวเอง, ลังเลใจเพื่อตัวเอง) ขึ้นมา
แล้วกิเลสก็มาทำให้จิตเกิดความทุกข์ (ความเศร้าโศก, ความร้อนใจ,
ความไม่สบายใจ ฯ) ความรู้สึกตัวว่ามีตัวเรานี้ สมัยนี้เรียกว่า
"สัญชาตญานแห่งตัวตน"
คือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับชีวิต (หรือจิต) โดยไม่ต้องมีใครมาสอน
ซึ่งความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้ เป็นสัญชาตญาณใหญ่
ที่ทำให้เกิดสัญชาตญาณย่อยๆตามมาอีก เช่น สัญชาตญาณในการกินอาหาร, หาอาหาร, หนีภัย, สืบพันธ์,
รักลูก, เลี้ยงลูก เป็นต้น
ซึ่งทั้งสัตว์และพืชทั้งหลาย ก็ล้วนมีสัญชาตญาณแห่งตัวตนนี้ด้วยกันทั้งสิ้น
จึงทำให้พวกมันยังคงดำรงค์เผ่าพันธ์อยู่ได้
โดยไม่สูญพันธ์ไปจากโลก ถ้าสิ่งมีชีวิตใดไม่มีสัญญาณแห่งตัวตนนี้
มันก็จะสูญพันธ์ไปจากโลกทันที เด็กที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆทุกคนนั้น ย่อมจะมี
"ความรู้สึกว่ามีตัวเอง" นี้ครอบงำจิตอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น
แต่ว่ายังมีเพียงอ่อนๆเท่านั้น ซึ่งการที่จิตมีความรู้สึกว่ามีตนเองเพียงแค่อ่อนๆนี้
เรียกว่าเป็น "จิตที่ยังบริสุทธิ์อยู่"
เพราะยังไม่มีกิเลสและการยึดถือว่ามีตนเองตรอบงำ
รวมทั้งยังไม่เป็นปัญหา (คือยังไม่ทำให้จิตเกิดความทุกข์)
จนกว่าเด็กนั้นจะได้โตขึ้นและจิตได้สัมผัสกับโลกบ่อยๆ และเมื่อเด็กนั้นไม่ได้รับการสั่งสอนอบรมให้มีสติปัญญาและสมาธิ
จึงทำให้ "ความรู้สึกว่ามีตัวเอง"
ของเด็กนั้นได้รับการกระตุ้นให้พัฒนาให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็น
"ความเห็นแก่ตัว" ขึ้นมา
และสั่งสมไว้ในจิตใต้สำนึกจนกลายเป็นนิสัยหรือสันดานของจิตขึ้นมา โดยความเห็นแก่ตัวนี้เอง
ที่ทำให้จิตของเด็กนั้น เกิดกิเลสเพื่อตัวเองขึ้นมา
พร้อมทั้งเกิดอุปาทานหรือความยึดมั่น (ความยึดมั่นก็คือการแบกเอาไว้ด้วยจิต) ว่าขันธ์ ๕
(คือร่างกายกับจิตใจที่รู้สึกว่าเป็นตนเอง-ของตน) ว่าเป็น "ตนเอง" และ
"ของตน" ขึ้นมาด้วย
และเมื่อ "ตนเอง" ที่เกิดขึ้นมาจากความยึดมั่นนี้ ได้มาพบกับ
"ภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจของธรรมชาติ" อันได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความพลัดพราก ความผิดหวัง ฯ จึงทำให้จิตที่มีความยึดมั่นนี้เกิดความทุกข์
(ความเศร้าโศก ความเร่าร้อนใจ ความไม่สบายใจ ฯ) ขึ้นมาทันที แต่เมื่อใดที่จิตของเด็กนั้น
ไม่มีกิเลสและอุปาทานครอบงำ (ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติก็ได้
หรือเกิดจากการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคก็ได้)
จิตของเด็กนั้นก็จะกลับมาเป็นจิตที่บริสุทธิ์ได้ดังเดิมอีก (แม้เพียงชั่วคราว)
แล้วจิตที่บริสุทธิ์นี้ก็จะนิพพาน (สงบเย็น) ทันที (แม้เพียงชั่วคราว) ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๖. กิเลสคืออะไร? คำว่า กิเลส แปลว่า สกปรก หรือ
สิ่งทำความสกปรก ซึ่งสิ่งสกปรกนั้นมันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ซึ่งในทางจิตใจนั้น
กิเลส ก็หมายถึง ความสกปรกของจิต หรือ สิ่งที่ทำให้จิตสกปรก
ซึ่งก็ได้แก่สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว, ไม่สะอาด,
ไม่ผ่องใส, ไม่บริสุทธิ์ โดยผลของกิเลสก็คือ
"ทำให้จิตเกิดความทุกข์"
คือถ้าจิตเกิดกิเลสรุนแรงก็ทำให้จิตเกิดความทุกข์รุนแรงมาก คือ เศร้าโศก (เสียใจ),
คับแค้นใจ (ทรมานใจ), แห้งเหี่ยวใจ (ตรอมใจ) ฯ ถ้าจิตเกิดกิเลสอ่อนๆ (ไม่รุนแรง)
จะเปลี่ยนมาเรียกว่า นิวรณ์ ที่หมายถึง สิ่งปิดกั้นจิตจากคุณธรรมขั้นสูง (คือ
สมาธิ ปัญญา นิพพาน) ซึ่งนิวรณ์นี้จะทำให้จิตไม่สงบเย็น, ไม่ปรกติ, ไม่สดชื่น, ไม่แจ่มใส,
ไม่เบาสบายฯ (คือไม่นิพพานสูงสุด)
แต่ในการศึกษาเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ จะเรียกกิเลสว่า ตัณหา ที่หมายถึง
ความอยากเพื่อตัวเอง หรือ ความอยากด้วยความโง่สูงสุด (คืออวิชชา) กิเลสนี้สรุปได้ ๓ อาการใหญ่ๆ คือ ๑. ดึงเอาเข้ามาหาตัวเอง อันได้แก่ รัก, ชอบ, พอใจ, ยินดี ฯ
(ถ้ามองว่าเป็นตัณหาก็คืออาการ อยากได้, อยากมี, อยากเป็น) ซึ่งจัดเป็นกิเลสประเภท บวก ๒. ผลักออกไปจากตัวเอง อันได้แก่ โกรธ, เกลียด, กลัว, เบื่อ, รำคาญ ฯ(ถ้ามองว่าเป็นตัณหาก็คืออาการ
ไม่อยากได้, ไม่อยากมี, ไม่อยากเป็น)
ซึ่งจัดเป็นกิเลสประเภท ลบ ๓. ลังเลใจ
คือเป็นอาการที่ยังไม่จัดว่าจะเอาเข้ามาหรือผลักออกไป แต่ก็ยังสับสน ไม่แน่ใจ
หรือลังเล สงสัย งง เซ่อ ฯ (ถ้ามองว่าเป็นตัณหาก็คืออาการ
อยากเป็นอยู่ในภาวะที่ตนกำลังมีหรือเป็นอยู่) ซึ่งจัดเป็นกิเลสประเภท กลางๆ โดยกิเลสทั้ง ๓
ประเภทนี้เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะทำให้จิตของเราเกิดความทุกข์แตกต่างกันไป
โดยกิเลสประเภทบวก จะทำให้จิตเกิดความทุกข์ซ่อนเร้น ส่วนกิเลสประเภทลบ
จะทำให้จิตเกิดความทุกข์เปิดเผย และกิเลสประเภทกลางๆ จะทำให้จิตเกิดความทุกข์อ่อนๆ ส่วน นิวรณ์ หมายถึง
สิ่งปิดกั้นจิตจากคุณธรรมขั้นสูงนั้น มีอาการแยกได้ ๕ อาการ อันได้แก่ ๑. อาการพึงพอใจเล็กๆน้อยๆต่อสิ่งที่น่ารัก
น่าใคร่ ทั้งหลาย (มีเรื่องเพศตรงข้ามเป็นต้น) ๒. อาการไม่พึงพอใจเล็กๆน้อยๆ
หรือการที่มีความอาฆาตพยาบาทคนอื่นฝังใจอยู่ ๓. ความคิดฟุ้งซ่านหยุดไม่ได้ อย่างน่ารำคาญใจ ๔. ความหดหู่ เซื่องซึม, มึนชา ๕. ความลังเลสงสัยในสิ่งที่เรานับถืออยู่
(ในพุทธศาสนาก็คือในพระพุทธ, พระธรรม,
พระสงฆ์) ว่ามีอยู่จริงหรือไม่? ดับทุกข์ได้จริงหรือไม่? เป็นต้น กิเลสนั้นปกติในชีวิตประจำวันของเรามันก็ไม่ได้เกิดอยู่ตลอดเวลา
คือกิเลสจะเกิดเฉพาะเมื่อมีสิ่งหรือเรื่องภายนอกมาให้เรารับรู้เท่านั้น เช่น
เมื่อเรารู้ข่าวว่าคนที่เรารักได้จากเราไป หรือรู้ว่าเราจะต้องตายจากโรคร้ายในไม่กี่วันนี้
เป็นต้น จึงจะทำให้จิตของเราเกิดความทุกข์เปิดเผยขึ้นมา
ส่วนนิวรณ์นั้นแม้มันจะไม่ได้ทำให้จิตของเราเกิดความทุกข์ที่รุนแรง
(คือความทุกข์เปิดเผยและความทุกข์ซ่อนเร้น)
แต่มันก็ได้ครอบงำจิตของเราอยู่เกือบตลอดทั้งวัน แล้วก็ทำให้จิตของเราเกิดความทุกข์อ่อนๆ
คือความไม่สงบ ไม่ปรกติ ฯ และทำให้นิพพานสูงสุดไม่ปรากฏ
ดังนั้นนิวรณ์จึงจัดเป็นสิ่งเลวร้ายอันดับแรกที่ครอบงำจิตของเราอยู่เกือบตลอดทั้งวัน
จึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องมาปฏิบัติสมาธิและปัญญาเพื่อมากำจัดมันต่อไป ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๗. ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ คืออะไร? ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้น
ไม่ใช่ความทุกข์ทางกาย (คือความแก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก เป็นต้น)
แต่เป็นความทุกข์ของจิตใจ อันได้แก่ ความรู้สึกเศร้าโศก ความร้อนใจ
ความหนัก-เหนื่อยใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น ที่เกิดจาก "กิเลส"
(ความพอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ) หรือ "ตัณหา"
(ความอยากได้-ไม่อยากได้-อยากเป็นอยู่) ที่จิตเรามันปรุงแต่งขึ้นมาเอง
ตามความเคยชิน (นิสัย) ที่จิตใต้สำนึกของเรามันสั่งสมไว้
ซึ่งขณะที่จิตเกิดกิเลสอยู่นั้น แสดงว่า "จิตกำลังขาดสติปัญญาและสมาธิ"
อยู่ โดยกิเลสทั้ง ๓ อาการนั้น มันก็เกิดขึ้นต่อจาก
"เวทนา" (ความรู้สึกต่อสิ่งที่ไร้รับรู้) ทั้ง ๓ นั่นเอง
คือเมื่อใดที่อายตนะภายในใดของเรา (คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ) ได้ สัมผัสกับอายตนะภายนอก (คือ รูป, เสียง,
กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ,
ธรรมารมณ์) "ที่น่าพึงพอใจ" แล้วเกิด
"สุขเวทนา" ขึ้นมา จิตก็จะปรุงแต่งกิเลสประเภทบวก คือความรัก ชอบ พอใจ
เป็นต้น ขึ้นมาทันที แล้วจิตก็จะเกิดความรู้สึก หนัก-เหนื่อยใจ, กระวนกระวาย, ไม่สงบ, ไม่ปรกติ,
ไม่เย็น, ไม่เบาสบาย ฯ ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่ก็คืออาการของ
"ความทุกข์ซ่อนเร้น" ที่ต้องสังเกตจึงจะพบเพราะมันซ่อนอยู่ในรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเรา แต่เมื่อใดที่อายตนะภายในใดของเราได้
สัมผัสกับอายตนะภายนอกที่ "ไม่น่าพึงพอใจ" แล้วเกิด "ทุขเวทนา" ขึ้นมา จิตก็จะปรุงแต่งกิเลสประเภทลบ คือ
ความโกรธ,
เกลียด, กลัว, เบื่อหน่าย
เป็นต้น ขึ้นมาทันที แล้วจิตก็จะเกิดความรู้สึก เศร้าโศก (เสียใจ) , เร่าร้อน,
แห้งเหี่ยวใจ, คับแค้นใจ, ทรมานใจ ฯ ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่ก็คือการของ "ความทุกข์เปิดเผย"
ที่เห็นได้ง่าย ที่มาพร้อมกับน้ำตาและเสียงร้องไห้คร่ำครวญ ส่วนกรณีที่อายตนะภายในใดของเราได้
สัมผัสกับอายตนะภายนอกที่ "เป็นกลางๆ" แล้วเกิด "อทุกขสมุขเวทนา" ขึ้นมา จิตก็จะปรุงแต่งกิเลสประเภทกลางๆ
คือ ความลังเลใจ, ความไม่แน่ใจ, ความสับสน, ความงง, ความไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
ฯ เป็นต้น ขึ้นมาทันที แล้วจิตก็จะเกิดความรู้สึก เศร้าหมอง, ขุ่นมัว, ไม่สงบ, ไม่ปรกติ,
ไม่เย็น, ไม่เบาสบาย, ไม่สดชื่นแจ่มใส
ฯ (คือไม่นิพพาน) ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่ก็คืออาการของ "ความทุกข์อ่อนๆ"
ที่แม้จะไม่รุนแรงแต่มันทำให้จิตเกิดความรู้สึกรำคาญใจอยู่ตลอดเวลา โดยความทุกข์อ่อนๆนั้นแม้มันจะไม่มีความรุนแรง
แต่มันก็จะเกิดขึ้นมาทำให้จิตไม่นิพพานอยู่เกือบจะตลอดทั้งวัน
ดังนั้นความทุกข์อ่อนๆนี้จึงนับเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเหมือนกัน
ส่วนความทุกข์ที่น่าหวาดกลัวที่สุดก็คือ ความทุกข์เปิดเผย (ความเศร้าโศกฯ)
ส่วนความทุกข์ที่เรามักไม่คิดว่าเป็นความทุกข์ก็คือ ความทุกข์ซ่อนเร้น
เพราะมันมีความสุข (สุขเวทนา) มาเคลือบความทุกข์ (คือความรู้สึก หนัก, เหนื่อย, กระวนกระวาย, ไม่สงบ,
ไม่ปรกติ, ไม่เย็น, ไม่เบา,
ไม่สบาย
ฯ) เอาไว้ ถ้าเราสังเกตให้ดีเราก็จะพบว่า
ความทุกข์ซ่อนเร้นนี้มันก็เป็นความรู้สึกที่ทรมานจิตใจของเราพอๆกับความทุกข์เปิดเผยนั่นเอง
คือเปรียบเหมือนกับว่าเราถูกบังคับให้แบกหินที่หนักมาก ซึ่งเราก็จะเกิดความรู้สึกว่าหินนั้นมันหนักมาก
แต่ถ้าเราพบทองคำที่มีน้ำหนักพอๆกับก้อนหินนั้น แล้วเราก็ได้แบกเอากลับไปบ้าน
เราจะรู้สึกว่าทองคำนั้นมันไม่หนัก
เพราะจิตเรามุ่งคิดถึงแต่ความสุขที่ได้ทองคำนั้นอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งความจริงแล้วทั้งก้อนหินและทองคำนั้น มันก็ทำให้ร่างกายของเราเกิดความรู้สึกหนักเท่าๆกัน
แต่ต่างกันตรงที่จิตมัน "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" เท่านั้น สรุปได้ว่า
การที่พระพุทธเจ้าสอนให้เรามาปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ทั้งปวงนั้นก็คือ
ทั้งความทุกข์เปิดเผย
ความทุกข์ซ่อนเร้น และความทุกข์อ่อนๆด้วย จึงจะทำให้จิตนิพพาน (สงบเย็น)
ได้อย่างแท้จริง และที่สำคัญก็คือ ถ้าใครยังไม่รู้จักความทุกข์ทั้ง ๓
นี้อย่างถูกต้อง ก็จะศึกษาอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจ
เพราะมีความเห็นผิดในเรื่องความทุกข์มาตั้งแต่เริ่มต้น
รวมทั้งยังจะศึกษาแล้วเกิดความเข้าใจผิดเพี้ยนไปหมด แล้วก็ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์
(คือความพ้นทุกข์) จากคำสอนของพระพุทธเจ้า ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๘. ทำไมเราจึงยังละกิเลสไม่ได้? เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า
"ทำไมเมื่อเราก็รู้อยู่แล้วว่ากิเลส (ความพอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ)
คือสาเหตุของความทุกข์ (ความเศร้าโศก, ความหนัก-เหนื่อยใจ, ความไม่สบายใจ ฯ)
แต่แม้เราจะอยากละกิเลส (คือไม่อยากให้กิเลสเกิดขึ้นกับจิตของเรา) เรากลับทำไม่ได้?" เรื่องนี้อธิบายได้ว่า
ตามธรรมดาแล้วกิเลสนั้นมันไม่ได้เกิดกับจิตของเราตลอดอยู่เวลา
คือมันจะเกิดขึ้นมาเฉพาะเมื่อมีปัจจัย (สิ่งสนับสนุน)
ภายนอกของมันมากระทบจิตเท่านั้น และเมื่อกิเลสมันเกิดขึ้นมาแล้ว
มันก็ไม่ได้ตั้งอยู่กับจิตของเราตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ดับหายไป
คือเมื่อกิเลสมันเกิดขึ้นมาแล้วไม่นาน มันก็จะดับหายไปของมันเองตามความไม่เที่ยง
(อนิจจัง) ของมันก็ได้ หรือ มันอาจจะดับหายไปเพราะจิตเรามี
"สมาธิ" ก็ได้ แต่เมื่อกิเลสได้ดับหายไปแล้ว
เมื่อมีปัจจัยภายนอกใหม่มากระทบจิตของเราอีก
กิเลสก็จะกลับมาเกิดขึ้นกับจิตของเราได้อีกเรื่อยไป ซึ่งการที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ
จิตของเรามันยังมี "นิสัย" หรือ "ความเคยชิน"
ของกิเลสอยู่มากนั่นเอง คำถามคือ นิสัยหรือความเคยชินของกิเลสนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ซึ่งคำตอบก็คือ
เมื่อจิตของเด็กทุกคนได้เกิดขึ้นมาแล้วและไม่มีใครสอนให้เกิดสติปัญญาและสมาธิ
ดังนั้นมันจึงได้ถูกอวิชชาหรือรู้สึกตัวว่ามีตนเองเกิดขึ้นมาครอบงำจิตเอาไว้อยู่ตลอดเวลา
และเมื่อจิตของเด็กนั้นได้สัมผัสกับโลกผ่านตา, หู, จมูก, ลิ้น, และกาย
แล้วเกิดเวทนาขึ้น จึงทำให้จิตของเด็กนั้นเกิด "ความพอใจกับสุขเวทนา"
และ "ไม่พอใจกับทุกขเวทนา" รวมทั้งเกิด "ความลังเลใจกับอทุกขมสุขเวทนา" ไปตามสัญชาตญาณของจิต ซึ่งความพอใจ
ไม่พอใจ และ ลังเลใจนี้เองที่เรียกว่าเป็น "กิเลส" หรือ
"ตัณหา" ของจิต เมื่อกิเลสได้เกิดขึ้นมาและดับหายไปจากจิตของเด็กนั้นแล้ว
มันก็ได้ทิ้ง "อนุสัย"
หรือความเคยชินเอาไว้ให้กับจิตของเด็กนั้นหน่วยหนึ่งเสมอ
และเมื่อเด็กนั้นได้โตขึ้นและจิตของเด็กนั้นได้เคยเกิดกิเลสขึ้นมาบ่อยๆ
มันก็จะมีความเคยชินสะสมเอาไว้มาก จนเรียกว่าเป็นนิสัยหรือสันดาน
ซึ่งนิสัยหรือความเคยชินของจิตนี้เองที่เรียกว่า "จิตใต้สำนึก"
ที่หมายถึงจิตส่วนลึกที่มันคอยควบคุมจิตปกติของเราอยู่ตลอดเวลา
โดยที่เราไม่สามารถเป็นอิสระจากมันได้
ซึ่งเราจะสังเกตว่าเราเป็นคนดีหรือเลวแค่ไหนก็ให้ดูจากเวลาที่เราฝัน
เพราะเวลาฝันจิตมันจะเกิดการปรุงแต่งคิดนึกไปตามนิสัยหรือความเคยชินที่มันได้สั่งสมมาตลอดทั้งชีวิตนั่นเอง เมื่อจิตของเรามันมีเหตุคือ
"ความเคยชินของกิเลส" สะสมเอาไว้มากๆ
และเมื่อมีปัจจัยภายนอกเฉพาะของกิเลสมากระทบจิตเพิ่มจนครบ
(คือมีเหตุและปัจจัยครบตามกฏอิทัปปัจจยตา)
จึงทำให้เกิดการปรุงแต่งให้กิเลสเกิดขึ้นมาทันทีอย่างรวดเร็วและรุนแรงยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ
จนเราแทบไม่รู้สึกตัว แต่ถึงแม้เราจะรู้สึกตัวแล้วก็ตาม
เราก็ไม่สามารถหยุดหรือควบคุมมันได้
ซึ่งอาการที่กิเลสได้เกิดขึ้นมาอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนเราไม่สามารถควบคุมมันได้นี้เรียกว่าเป็น
"อาสวะกิเลส" ที่หมายถึง กิเลสที่ไหลออกมาจากการหมักดองเอาไว้ การที่กิเลสได้เกิดขึ้น
แล้วก็ทำให้จิตของเราเกิดความทุกข์ขึ้นมา โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้นี้เอง
ที่เรียกว่า "สังโยชน์" ที่หมายถึง
เครื่องผูกจิตเอาไว้ให้ติดอยู่กับความทุกข์อย่างเหนียวแน่น คือมันจะทำให้จิตของเรายังคงวนเวียนกลับมาเกิดความทุกข์อยู่ตลอดไปจนตลอดทั้งชีวิต
ตราบเท่าที่ความเคยชินหรือนิสัยของกิเลสนี้ยังมีอยู่ในจิตของเรา โดยสังโยชน์นี้มีระดับความหยาบละเอียดไปตามลำดับ
แยกได้ถึง ๑๐ ระดับ อันได้แก่ ๑. สักกายทิฏฐิ คือ
ความเห็นผิด (หรือความเข้าใจผิด) ว่าร่างกายและจิตใจ (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
ทั้งสองอย่างรวมกัน) เป็น อัตตา (ตัวตนที่แท้จริง) ๒. วิจิกิจฉา คือ
ความลังเลสงสัยในสิ่งที่เรานับถืออยู่
(โดยในพุทธศาสนาก็คือ ความสงสัยว่า พระพุทธเจ้ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่? ในพระธรรมว่าดับทุกข์ได้จริงหรือไม่? และในพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระธรรมจนดับทุกข์ได้แล้วมีอยู่จริงหรือไม่?) ๓. สีลัพพตปรามาส
คือการปฏิบัติศีลและข้อปฏิบัติปลีกย่อย ที่ผิดจากจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของมัน
(การปฏิบัติที่งมงาย) ๔. กามราคะ คือความติดใจ (ผูกพัน)
ในสุขเวทนาจากกามารมณ์ (สิ่งที่น่ารักน่าใคร่โดยมีเรื่องทางเพศเป็นกามารมณ์ชนิดสูงสุด) ๕. ปฏิฆะ
คือความรู้สึกอึดอัดขัดเคืองใจหรือความโกรธ (โทสะ) ๖. รูปราคะ คือความติดใจในสุขเวทนาจากรูปารมณ์ (พวกวัตถุสิ่งของ) ๗. อรูปาราคะ คือความติดใจในสุขเวทนาจากอรูปารมณ์ (พวกชื่อเสียงเกียรติยศ) ๘. มานะ
คือความถือตัวเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น (ว่าเหนือ หรือเสมอ หรือต่ำกว่า) ๙. อุจธัจจะ
คือความคิดฟุ้งซ่านและความตื่นเต้นเล็กๆน้อยๆ ๑๐. อวิชชา คือสัญชาติญาณแห่งตัวตน
(ความรู้สึกตัวว่ามีตนเอง) การที่บุคคลใดสามารถทำลายหรือตัดสังโยชน์เหล่านี้ได้ตามลำดับนี่เอง
ที่ทำให้บุคคลนั้นบรรลุ (เข้าถึง)
ความเป็นพระอริยบุคคลประเภทต่างๆตามหลักพุทธศาสนาที่แตกต่างกันไปตามการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคของแต่ละท่าน
โดยมีจุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติอยู่ที่การบรรลุเป็นพระอรหันต์
คือเป็นผู้ที่ดับทุกข์ได้อย่างสนิทและถาวร (คือจะไม่มีความทุกข์เลยตลอดเวลาจนตลอดชีวิต) ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๑๙. พระอริยบุคคลมีกี่ประเภท? มนุษย์หรือบุคคลในโลกนี้ในมุมมองพุทธศาสนาสรุปได้
๒ จำพวก คือ ปุถุชน กับ อริยชน โดยปุถุชนนั้นก็หมายถึง
บุคคลที่ยังมีอนุสัยของกิเลสอยู่ในจิตใต้สำนึกมาก ซึ่งปุถุชนนี้ก็ยังแยกได้เป็น
ปุถุชนดี คือคนที่ชอบทำความดีมากกว่าความชั่ว กับ ปุถุชนเลว
คือคนที่ชอบทำความชั่วมากกว่าความดี ส่วน อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ไกลจากกิเลส
(หรือมีกิเลสน้อย หรือไม่มีกิเลสเลย) คือหมายถึง
บุคคลผู้ที่มีอนุสัยของกิเลสอยู่ในจิตใต้สำนึกน้อยหรือไม่มีเลย หรือ หมายถึง
บุคคลที่ประเสริฐ (ดีเลิศ) ซึ่งการที่บุคคลใดจะบรรลุเป็นพระอริยบุคคลได้นั้น
ไม่ใช่จะเป็นกันที่มีคนอื่นมาแต่งตั้งให้
แต่จะเป็นกันที่จิตที่มีกิเลสน้อยหรือไม่มีเลย แต่เราจะต้องเข้าใจก่อนว่า
จิตของมนุษย์เรานี้มันมีระดับชั้นอย่างไร เราจึงจะเข้าใจเรื่องพระอริยบุคคลได้ถูกต้อง โดยธรรมชาติของจิต (สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้)
ของคนเรานี้แยกได้ ๓ ชั้น คือ ๑. "จิตเต็มสำนึก"
คือเป็นจิตปกติของเราที่มีเจตนา (ความจงใจ) ในการคิด การพูด และการกระทำทางกาย
ที่เราก็พอจะควบคุมมันได้แต่ก็แค่ผิวเผินเท่านั้น ๒. "จิตใต้สำนึก" คือจิตส่วนลึกที่เราควบคุมมันไม่ได้
เพราะมันเป็นนิสัยหรือความเคยชินของจิตเต็มสำนึกที่มันสะสมมาตลอดทั้งชีวิต
(ที่เรียกว่าอนุสัย) และมันก็คอยควบคุมจิตเต็มสำนึกอยู่ตลอดเวลา
(ที่เรียกว่าอาสวะกิเลส) โดยที่เราไม่สามารถจะหลุดพ้นจากอำนาจของมันได้ (ที่เรียกว่าสังโยชน์)
ซึ่งปกตินิสัยหรือความเคยชินของจิตเรานี้ มักจะเป็นนิสัยของกิเลสไปเสียเกือบจะทั้งผมด ๓. "จิตเหนือสำนึก" คือจิตของพระอริยะ
ที่หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึก (แม้เพียงชั่วคราว)
ดังนั้นเราจึงควบคุมจิตเหนือสำนึกได้ว่าเราจะคิด หรือพูด
หรือกระทำทางกายอย่างไรก็ได้ โดยไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส
ซึ่งการที่จิตจะเป็นจิตเหนือสำนึกได้ก็ต้องมีการฝึกฝนจิตมาแล้วพอสมควรด้วย
"สติปัญญาและสมาธิ" ตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า โดยพระอริยบุคคลตามหลักพุทธศาสนามีอยู่ ๔
ระดับ อันได้แก่ ๑. พระโสดาบัน
คือผู้ที่ปฏิบัติอริยมรรคอย่างจริงจังจนสามารถทำลาย (หรือตัด) สังโยชน์หยาบๆ ๓
ตัวแรก ได้แล้ว และเรียกว่าเป็นผู้มี "ดวงตาเห็นธรรม"
(คือมีปัญญาเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า) แล้ว ซึ่งแม้ผู้ครองเรือน
(คือไม่ได้บวช) ก็สามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้
โดยผู้เป็นโสดาบันจะเป็นคนดีมีศีลธรรมอย่างมั่นคง
แต่ท่านก็ยังอาจเผลอสติจนมีความทุกข์ใจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน
เพียงแต่ว่าจะเกิดติดต่อกันได้ไม่นาน ท่านก็จะกลับมามีสติปัญญาและสมาธิได้อีก
แล้วจิตของท่านก็จะนิพพาน (ชั่วคราว) ทันที ๒. พระสกิทาคามี คือพระโสดาบันที่ปฏิบัติอริยมรรคอย่างจริงจัง
จนท่านมีความชำนาญในการปฏิบัติอริยมรรคมากขึ้น
จนสามารถมีสติปัญญาและสมาธิมาดับทุกข์ใจได้ในทันทีที่เผลอสติไป
แต่การทำลายสังโยชน์ยังได้เท่ากับพระโสดาบันและยังเป็นผู้ครองเรือนก็ได้ ๓. พระอนาคามี
คือพระสกิทาคามีที่ปฏิบัติอริยมรรคอย่างจริงจังจนสามารถทำลายสังโยชน์ได้เพิ่มอีก ๒
ตัว และท่านมักจะเป็นผู้ที่ไม่ครองเรือน (คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางเพศแล้ว)
รวมทั้งท่านจะมีความทุกข์ใจเบาบางลงอย่างมากแล้ว ๔. พระอรหันต์
คือพระอนาคามีที่ปฏิบัติอริยมรรคอย่างจริงจังจนสามารถทำลายสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐
ตัวแล้ว และจิตของท่านก็จะมีสติปัญญาและสมาธิอย่างสมบูรณ์
พร้อมทั้งมีนิพพานสูงสุดอย่างถาวร (คือมีตลอดเวลาจนตลอดชีวิต) สรุป พระอริยบุคคล ก็คือ
การสมมติเรียกจิตของบุคคลที่มีสติปัญญาและสมาธิ ที่สามารถตัด (ทำลาย)
สังโยชน์ที่ผูกจิตของท่านไว้ในความทุกข์ให้ขาดหายไปได้ตามลำดับ
และจิตของท่านก็มีนิพพานได้ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร ซึ่งพระอริยบุคคลทั้งหลาย
ท่านก็เข้าใจและเห็นแจ้งแล้วว่า "ไม่ได้มีตัวตนของท่านอยู่จริง"
ดังนั้นท่านจึงไม่ได้ถือตัวถือตนว่าท่านเหนือกว่าปุถุชนทั้งหลาย
เพราะท่านก็เข้าใจดีว่า ปุถุชนทั้งหลายก็ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงเหมือนกันกับท่านนั่นเอง
ซึ่งเรื่องพระอริยบุคคลนี้จัดเป็นเรื่องที่ไม่ควรสนใจศึกษา (เรื่องอจินไตย)
เพียงเรารู้จักว่า การเป็นพระอริยะนั้น ต้องศึกษาและปฏิบัติอย่างไร
จึงจะบรรลุถึงความเป็นพระอริยะในแต่ละระดับได้เท่านั้นก็พอแล้ว ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๐. ปฏิบัติอย่างใรจึงจะเป็นโสดาบัน? คำว่า โสดาบัน หมายถึง
ผู้เริ่มเข้าสู่กระแสแห่งนิพพาน
คือหมายถึงผู้ที่มีความเห็น (ความเข้าใจ)
ในเรื่องของชีวิตที่ควรรู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว (คือมีสัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูก)
ซึ่งการที่ปุถุชนจะเปลี่ยนมาเป็นพระอริยบุคคลขั้นโสดาบันได้นั้น
จะต้องทำลายสังโยชน์ชนิดหยาบๆขั้นต้น ๓ ตัวแรกให้ได้ก่อน อันได้แก่ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส โดยสังโยชน์ทั้ง ๓ ตัวนี้ มันเป็นเพียง
"ความเห็นผิด" (หรือความเข้าใจผิด) จากความเป็นจริงของธรรมชาติเท่านั้น
(มิจฉาทิฏฐิ-ความเห็นผิด) ถ้าใครได้เรียนรู้และปฏิบัติ
จนสามารถทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้แล้ว
บุคคลนั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นหรือพระโสดาบันทันที
โดยถ้าเราสามารถทำลายสักกายทิฏฐิ
(ความเห็นผิดว่าร่างกายกับจิตใจของเรานี้เป็นอัตตา) ได้แล้ว สังโยชน์ที่เหลืออีก ๒
ตัวก็จะพลอยหมดสิ้นตามไปด้วยทันที คำถามที่เราควรถามคือ เราจะละหรือทำลายสักกายทิฏฐิได้อย่างไร? ซึ่งวิธีการทำลายสักกายทิฏฐินั้น
อันดับแรกเราจะต้องละทิ้งความเชื่อที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ว่า"
เมื่อร่างกายตายแล้วแต่จิตจะยังไม่ดับหายตามไปด้วย" นี้ไปก่อน
(ถ้าใครยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่จะไม่สามารถทำลายสักกายทิฏฐิได้) และเมื่อปล่อยวางความเชื่อนี้ได้แล้ว
ต่อไปก็ให้เรามาศึกษาเรื่อง "การเกิดขึ้่น
ตั้งอยู่ และดับหายไปของขันธ์ ๕ หรือร่างกายกับจิตใจของเราตามความเป็นจริง"
จนพบความจริงว่า จิตเป็น อนัตตา (คือไม่ใช่อัตตา) และ เป็น อนิจจัง คือไม่เที่ยง
เพราะเมื่อจิตเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะไม่สามารถตั้งอยู่ตลอดไปชั่วนิรันดรได้
(คือไม่เป็นอมตะ) รวมทั้งมันยังมีภาวะของทุกขัง คือต้องทนอยู่ด้วยความยากลำบาก
(ตามกฏไตรลักษณ์) อีกด้วย เมื่อเราตั้งใจ (คือมีสมาธิ)
พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน จนพบความจริงว่าจิตเป็นอนัตตาแล้ว ความลังเลสงสัย
(คือวิจิกิจฉา) ว่า ตายแล้วไปไหน? เกิดหรือไม่เกิด?
ถ้าเกิดอะไรไปเกิด? เป็นต้น ก็จะหายไปหมดทันที
เพราะเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแล้วว่า "ไม่มีเรามาเกิด
และไม่มีเราไปเกิด" เพราะมัน
"ไม่มีเราหรือใครๆหรือสิ่งใดๆในโลกหรือในจักรวาลอยู่จริง"
ซึ่งนี่ก็คือการเห็น "สุญญตา"
คือความว่างจากความเป็นอัตตาหรือตัวตนที่เป็นเราจริงๆ การเกิดปัญญาเห็นแจ้งถึงความเป็นสุญญตาของทุกสิ่งในจักรวาลนี้เอง ที่ทำให้กิเลสและนิวรณ์ที่กำลังเกิดอยู่ในจิตที่สมมติเรียกว่าเป็น
"เรา" หรือ "ตัวเรา" นี้ ระงับหรือดับหายไปทันที
(แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อกิเลสที่เป็นสาเหตุของความทุกข์ได้ระงับหรือดับหายไป
(แม้เพียงชั่วคราว) จึงทำให้ความทุกข์ของจิตใจ (คือความเศร้าโศก ความหนัก-เหนื่อยใจ
ความไม่สบายใจฯ) ที่กำลังเกิดอยู่ในจิต ได้ระงับหรือดับหายไป (แม้เพียงชั่วคราว)
หรือที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้น (แม้เพียงชั่วคราว) และเมื่อจิตไม่มีความทุกข์
มันก็จะนิพพาน (สงบเย็น สดชื่น แจ่มใส เบาสบาย) ทันที (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อนิพพานปรากฏกับจิต
ก็จะทำให้การปฏิบัติศีลและข้อปฏิบัติปลีกย่อยอื่นๆที่ผิดเพี้ยน
หรือการปฏิบัติที่งมงาย (สีลัพพตปรามาส )
ที่มีอยู่หมดสิ้นไปทันที (เพราะค้นพบวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว)
และเมื่อสังโยชน์หยาบๆทั้ง ๓ ได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นแล้ว
ก็ทำให้จิตที่หมดสังโยชน์ทั้ง ๓
นี้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นคือพระโสดาบันทันที ซึ่งนี่ก็คือการเกิด
"ดวงตาเห็นธรรม" หรือ "การเห็นอริยสัจ" ที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
(คือจะไม่เปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต) สรุปการบรรลุเป็นโสดาบันนั้นก็คือ
การเห็นแจ้งถึงความเป็นอนิจจัง (คือเห็นแจ้งว่า "สิ่งใดเกิด
สิ่งนั้นจะต้องดับ") ทุกขัง
(คือเห็นแจ้งว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมาจะต้องประสบกับภาวะที่ต้องทนอยู่ตลอดเวลา) และ
อนัตตา (คือเห็นแจ้งว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมาไม่ใช่อัตตา) ของจิตที่สมมติเรียกว่าเป็น
"ตัวเรา" นั่นเอง ซึ่งการเห็นแจ้งนี้เองที่เป็นหัวใจของปัญญาสำหรับนำมาใช้ปฏิบัติร่วมกับสมาธิเพื่อดับทุกข์ตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ
๔ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๑. พระพุทธเจ้าคือใคร? คำว่า "พระพุทธเจ้า"
นั้นเป็นคำผสมจากคำว่า พระ กับคำว่า พุทธะ และคำว่า เจ้า โดยคำว่า "พระ"
แปลว่า ผู้ประเสริฐ, คำว่า "พุทธะ"
แปลว่า ตื่น, คำว่า "เจ้า" แปลว่า
เชื้อสายกษัตริย์ ซึ่งเมื่อรวมความหมายของคำว่า พระพุทธเจ้า ก็หมายถึง
ผู้มีเชื้อกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ตื่นและผู้ประเสริฐ
โดยสรุปเนื้อหาสาระสำคัญจะอยู่ที่คำว่า "พุทธะ"
นอกนั้นจะเป็นคำประกอบเพื่อให้ดูมีคุณค่าสูงส่ง โดยคำว่า พุทธะ แปลว่า ตื่น
ซึ่งก็เป็นคำธรรมดาๆที่ใช้เรียกคนที่กำลังตื่นอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า ไสยะ
ที่แปลว่า หลับ ที่หมายถึงคนกำลังหลับ หรือละเมออยู่ นั่นเอง
ซึ่งเราก็ลองคิดดูว่าอาการของคนหลับกับคนตื่นนั้น มันมีอาการต่างกันอย่างไร? โดยคนที่ตื่นก็จะมีการรับรู้สิ่งภายนอกต่างๆได้, มีสติสัมปฤดี
(ความรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่), มีการเคลื่อนไหวและพูดจาได้
ส่วนคนหลับก็คือคนที่ไม่มีการรับรู้สิ่งใด, ขาดสติสัมปฤดี, ไม่มีการเคลื่อนไหวและพูดจา
ส่วนคนละเมอก็จัดว่าเป็นคนครึ่งหลับครึ่งตื่น คือมีการรับรู้อยู่บ้างแต่ไม่สมบูรณ์,
มีการเคลื่อนไหวและพูดจาได้แต่ไม่สมบูรณ์, แต่ที่สำคัญคือไม่มีสติสัมปฤดี คือไม่รู้สึกตัวว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่
ได้แต่ทำอะไรๆไปตามสัญชาตญาณหรือความเคยชินที่ตนเองมีอยู่ แต่เมื่อนำคำว่า พุทธะ กับ ไสยะ
มาใช้ในความหมายทางจิตใจ จึงมีความหมายที่เราต้องตีความใหม่ คือคำว่า พุทธะ
ก็หมายถึง ภาวะที่ ตื่น หรือ รู้ หรือมีปัญญาเห็นแจ้งชีวิต
คือเป็นภาวะที่หลุดพ้นจากความหลับทางด้านปัญญา (คือหายโง่)
ถ้าบุคคลใดเป็นผู้มีปัญญาหรือเป็นพระอริยบุคคลทุกระดับ จะเรียกว่าเป็น พุทธะ
ที่หมายถึง ผู้รู้ (มีปัญญา), ผู้ตื่น (ไม่หลับ),
ผู้เบิกบาน (ไม่มีความทุกข์ใจ) ส่วนคำว่า ไสยะ ในทางจิตใจ หมายถึง
ภาวะที่ปัญญาหลับอยู่ หรือไม่มีปัญญา หรือหมายถึง ความมืดบอดทางปัญญา
แม้ว่าจิตใจจะกำลังตื่นอยู่ก็ตาม ถ้าบุคคลใดขาดปัญญาจะเรียกว่าเป็น ปุถุชน
ที่หมายถึง คนที่มืดบอดและมีกิเลสหนาแน่น จุดสำคัญของคำว่า "พระพุทธเจ้า"
จึงเหลืออยู่ที่คำว่า "พุทธะ" ที่แปลว่า ตื่น เท่านั้น
คือใครก็ตามที่มีปัญญาและเป็นพระอริยะบุคคลทุกระดับ
จะเรียกว่าเป็นพุทธะด้วยกันทั้งนั้น แต่บุคลที่สมมติเรียกว่าเป็นพุทธะนี้จะสรุปได้
๓ กลุ่ม คือ ๑. พระสัมมาสัมพุทธะ คือเป็นผู้ที่ตรัสรู้
(คือตื่นรู้ด้วยตนเอง) และมีความสามารถสอนให้คนอื่น (ที่พอจะสอนได้) ตรัสรู้ตามได้
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธะนี้ก็ได้แก่พระพุทธเจ้าที่เป็นศาสดา (ผู้สอน)
ของพุทธศาสนานั่นเอง ๒. พระปัจเจกพุทธะ คือผู้ที่ตรัสรู้แล้ว
แต่ว่าไม่มีความสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้
ซึ่งพระปัจเจกพุทธะนี้ตามตำราบอกว่าในสมัยพุทธกาลนั้นมีอยู่มากมาย
ก่อนที่พระพุทธเจ้าของเราจะตรัสรู้ขึ้นมา
ซึ่งก็คงหมายถึงนักบวชหรือฤๅษีบางท่านที่ค้นพบวิธีการดับทุกข์ได้แล้วแต่ว่าสอนคนอื่นไม่ได้
จึงได้ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ๓. พระอนุพุทธะ
คือผู้ที่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตรัสรู้ตามเป็นพระอริยบุคคลทุกระดับ
ซึ่งบางท่านก็มีความสามารถสอนคนอื่นให้ตรัสรู้ตามได้
แต่บางท่านก็ไม่มีความสามารถสอนให้คนอื่นตรัสรู้ตามได้ แต่ก็ยังมีการเรียก
บุคคลที่ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาและจดจำได้มากมาย
รวมทั้งสอนผู้อื่นได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่ก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพุทธะจริงๆ ว่าเป็น
"สุตพุทธะ" คือเป็นแค่เพียงผู้จดจำคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เท่านั้น สรุป
ความเป็นพุทธะนั้นไม่ได้เป็นที่ร่างกายหรือเป็นเพราะได้รับการแต่งตั้งจากใครๆ
แต่เป็นที่จิตที่ตื่นรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งการตื่นรู้นี้อาจเกิดจากการค้นพบความจริงของชีวิตเรื่องความเป็นอนัตตา
(ความรู้เรื่องอนัตตาเป็นหัวใจของปัญญาที่นำมาใช้ประกอบกับสมาธิเพื่อดับทุกข์ของจิตใจ)
ด้วยตนเองก็ได้ หรืออาจเกิดจากการฟังหรืออ่านคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
แล้วนำมาทดลองปฏิบัติอย่างจริงจัง
ก็สามารถเกิดการตื่นรู้ด้วยตนเองตามพระพุทธเจ้าได้
ซึ่งภาวะพุทธะนี้จะตรงข้ามกับภาวะของ ไสยะ คือ ความหลับของปัญญา
คือปุถุชนที่ยังมีความเข้าใจและเชื่อเรื่องจิตเป็นอัตตาอยู่
และยังทำลายสังโยชน์ตัวหยาบๆ ๓ ตัวแรกไม่ได้ จะเรียกว่าเป็น ไสยะ คือเป็นผู้ที่ยังหลับหรือไม่มีปัญญาตามที่พระพุทธเจ้าสอน
****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๒. ทำอย่างไรจิตจึงจะบรรลุถึงความเป็นพุทธะ? ภาวะพุทธะ (ตื่น) นั้น
ไม่ได้เกิดจากการฟังหรืออ่านคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามา
แล้วก็เชื่อตามคำสอนนั้น และก็ไม่ได้เกิดจากการได้ฟังหรืออ่านคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามา
แล้วก็นำมาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุ-หาผล
เชื่อมโยงกันจนเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องและชัดเจน โดยไม่มีจุดบอดและขัดแย้งกัน
รวมทั้งก็ไม่ได้เกิดจากการแต่งตั้งจากใครๆทั้งสิ้นด้วย แต่เกิดจากการนำเอาความโง่สูงสุด (อวิชชา-ความรู้สึกว่าจิตนี้คือตัวเรา)
ออกไปจากจิตที่สมมติเรียกว่า "ตัวเรา" นี้ คือภาวะพุทธะนั้น
ปกติมันก็มีอยู่แล้วกับจิตของเราทุกคน เพียงแต่มันไม่ปรากฎมาให้จิตเราได้สัมผัสเท่านั้น
เพราะมันมีความโง่สูงสุด (อวิชชา) เกิดขึ้นมาครอบงำจิตของเราอยู่เกือบจะตลอดเวลาขณะที่เราตื่นอยู่
ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องไปปรุงแต่งหรือสร้างภาวะพุทธะขึ้นมาให้ลำบาก
แค่เพียงเราเอาความโง่สูงสุดนี้ออกไปจากจิตของเราให้ได้ (แม้เพียงชั่วคราว)
ภาวะพุทธะก็จะปรากฏมาให้จิตของเราสัมผัสได้ทันที (แม้เพียงชั่วคราว)
และเมื่อภาวะพุทธะปรากฏ ก็จะทำให้นิพพาน (ความสงบเย็นของจิต) ปรากฏตามมาด้วยทันที
(แม้เพียงชั่วคราว) ที่นี้ก็จะเกิดคำถามขึ้นว่า
"จะเอาความโง่สูงสุด (อวิชชา) ออกไปจากจิตของเราแม้เพียงชั่วคราวได้อย่างไร?"
ซึ่งคำตอบก็คือ ต้องใช้ทั้งสมาธิและปัญญามาทำงานร่วมกัน
โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน ตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ โดยศีล (ศีล คือ
จิตที่ปรกติที่เกิดจากการมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น)
จะเป็นพื้นฐานให้จิตเกิดสมาธิ และสมาธิก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาอีกที โดยอวิชชานั้นมันเป็นต้นเหตุ (ต้นตอ) ให้เกิด
นิวรณ์ (กิเลสอ่อนๆ) และ กิเลส (ความพอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ)
โดยศีลจะมาป้องกันกิเลสหยาบๆ (พวกความโลภมาก ความโกรธที่รุนแรง ฯ) ไม่ให้เกิดขึ้น
เมื่อมีศีลก็จะทำให้จิตของเรามีความปรกติสุข (คือไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวาย)
แต่แม้จิตของเราจะไม่มีกิเลสครอบงำแล้วก็ตาม มันก็ยังมีนิวรณ์ ไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่งจากนิวรณ์ทั้ง
๕ เกิดขึ้นมาครอบงำจิตของเราอยู่เกือบจะตลอดทั้งวันเลยทีเดียว
ซึ่งวิธีการที่จะกำจัดหรือทำให้นิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ระงับหรือดับหายไป
(แม้เพียงชั่วคราว) จะต้องใช้สมาธิที่ถูกต้อง (สัมมาสมาธิ) มากำจัด
จึงจะทำให้นิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ระงับหรือดับหายไปได้ (แม้เพียงชั่วคราว)
ดังนั้นถ้าเรายังไม่มีสมาธิเพียงพอ (หรือเป็นคนที่มีสมาธิสั้น)
ก็จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกสมาธิกันบ้าง
(วิธีการฝึกสมาธิที่ถูกต้องจะอธิบายในหัวข้อเรื่องสมาธิ) แต่ถึงแม้ขณะที่จิตของเราจะมีสมาธิอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม
อวิชชา หรือ ความรู้สึกว่าจิตนี้คือตัวเรา ก็จะยังมีอยู่กับจิตนี้
(คือเราก็จะยังมีความรู้สึกตัวว่ามีตัวเราอยู่ตลอดเวลา
เพราะมันเป็นสัญชาตญาณของจิต ที่ทุกจิตจะต้องมี
เพียงแต่ว่าจะมีมากหรือน้อยเท่านั้น) ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องมี
"ปัญญา" คือ ความรู้เรื่อง จิตเป็นอนัตตา (จิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา) และ สุญญตา (ไม่มีตัวเราอยู่ในจิตนี้) มาช่วย
เพื่อที่ปัญญาจะได้มาสอนจิตใต้สำนึกว่า "จิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา" และ
"ไม่มีตัวเราอยู่ในจิตนี้" รวมทั้งสอนว่า
"ความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่นี้ มันเป็นธรรมชาติของจิต ที่ทุกจิตจะต้องมี
เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้โดยไม่สูญพันธ์ไปจากโลก" เมื่อจิตไม่มีกิเลสและนิวรณ์มาทำให้จิตขุ่นมัว
(คือขุ่นมัวเพราะความพอใจ-ไม่พอใจ-ลังเลใจ) จึงทำให้จิตมี "สมาธิ" (คือ
บริสุทธิ์ และตั้งมั่น รวมทั้งอ่อนโยน จึงทำให้ควบคุมได้ง่าย) และเมื่อปัญญามาสอนจิตให้เข้าใจถึงความจริงสูงสุดว่าไม่มีตัวเราอยู่จริงแล้ว
จิตมันจึงยอมรับ แล้วอวิชชาหรือความรู้สึกว่ามีตัวเราก็จะค่อยๆจืดจางลง
(อ่อนแรงลง) จนถึงที่สุดเท่าที่มันจะลดลงได้แล้ว เมื่ออวิชชาได้อ่อนแรงลงจนถึงที่สุดแล้ว
มันก็จะไม่มีอำนาจที่จะมาควบคุมจิตนี้ให้ปรุงแต่งให้เกิดนิวรณ์และกิเลสรวมทั้งความทุกข์ใดๆขึ้นมาได้อีกแล้ว
(แม้เพียงชั่วคราว) ซึ่งนี่ก็เท่ากับว่าอวิชชามันได้ดับไปแล้ว (แม้เพียงชั่วคราว)
รวมทั้งความทุกข์ก็ได้ดับตามไปด้วย (แม้เพียงชั่วคราว) รวมทั้งนิพพานก็ปรากฏ
(แม้เพียงชั่วคราว) ซึ่งภาวะนี้เองที่เรียกว่า "อวิชชาได้ดับไปแล้ว" และ
ภาวะของ "พุทธะ" (ตื่น) ก็ปรากฏให้จิตได้สัมผัส (แม้เพียงชั่วคราว) สรุปได้ว่า ภาวะ "พุทธะ"
จะปรากฏกับจิตของเราได้ จะต้องมีการปฏิบัติทั้ง "ศีล สมาธิ และ ปัญญา"
พร้อมๆกัน (จะแยกกันไม่ได้เด็ดขาด) โดยศีลนั้นเมื่อเราเรียนรู้หลักการปฏิบัติแล้ว
เราก็สามารถตั้งใจปฏิบัติเองได้ ส่วนสมาธินั้นเราก็ต้องเรียนรู้วิธีการฝึกสักหน่อย
ก็สมารถฝึกฝนด้วยตนเองได้ ส่วนปัญญานั้นดูจะยากอยู่สักหน่อย
เพราะเราต้องปล่อยวางความเชื่อในเรื่องศาสนาและชีวิตที่เราเคยเรียนรู้มาให้หมดก่อน
แล้วมาใช้สมองในการคิดพิจารณาหาเหตุผลของ "ร่างกายกับจิตใจ" ของเราเอง ตามความเป็นจริง
ที่มันสลับซับซ้อนอย่างมากนี้ จนเกิดปัญญาที่เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงว่า
"มันไม่ใช่ตัวเราจริงๆ และ มันก็ไม่มีตัวเราอยู่จริง"
แล้วยังต้องนำความเข้าใจนี้มาเพ่งดูที่จิตที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรานี้อย่างตั้งใจที่สุดอีกด้วย
จึงจะทำให้ภาวะพุทธะปรากฏได้จริง ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๓. ผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อเป็นพุทธะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๓. ผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อเป็นพุทธะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? บารมี
หมายถึง
อุปกรณ์ที่จะช่วยให้ถึงฝั่ง คือเปรียบเหมือนการเดินทางไปสู่ความเป็นพุทธะนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็นอยู่
๑๐ อย่าง ที่เรียกว่า บารมี ๑๐ อันได้แก่ ๑. ทาน ได้แก่การไม่เห็นแก่ตัว
หรือเป็นผู้ที่รู้จักเสียสละเพื่อผู้อื่น ๒.
ศีล ได้แก่การมีเจตนาไม่เบียดเบียนชีวิต-ทรัพย์สิน-กามารมณ์ ของผู้อื่น
รวมทั้งเป็นผู้ไม่พูดโกหก-คำหยาบ-ส่อเสียด-เพ้อเจ้อ
อยู่เป็นปกติ ๓.
เนกขัมมะ ได้แก่การไม่ลุ่มหลงกามารมณ์ (กามารมณ์ คือ
สิ่งที่น่ารักน่าใคร่หรือน่าพึงพอใจอย่างยิ่งทั้งหลาย
โดยมีเรื่องเพศตรงข้ามเป็นกามารมณ์ชนิดสูงสุด) ๔.
ปัญญา ได้แก่การไม่เชื่อเรื่องงมงายไร้สาระ, เป็นผู้มีเหตุผล,
ยอมรับความจริง, กำหนดรู้การเกิด-ดับได้ ๕.
ขันติ ได้แก่การมีความอดทนต่อสิ่งที่มายั่วให้พอใจ-ไม่พอใจ ๖.
วิริยะ ได้แก่การมีความเพียรพยายามในการปฏิบัติเพื่อสะสมปัญญาและละกิเลส ๗.
สัจจะ ได้แก่การมีความจริงใจ
พูดจริง ทำจริง ไม่เป็นคนมีนิสัยคดโกง-หลอกลวง ๘.
อธิษฐาน ได้แก่การมีความมั่นคง หนักแน่น ไม่เปลี่ยนแปลง ๙.
เมตตา ได้แก่การเป็นมิตรกับทุกคนอย่างเสมอหน้า โดยไม่เป็นศัตรูกับใครๆในโลก ๑๐. อุเบกขา ได้แก่การรู้จักปล่อยวาง
ไม่ยินดี-ยินร้ายต่อสิ่งใดๆ บารมีทั้ง ๑๐
นี้เป็นการสรุปคุณสมบัติของผู้ที่จะบรรลุถึงความเป็นพุทธะได้
ซึ่งเพียงการเจริญอริยมรรคอย่างถูกต้องก็เท่ากับเป็นการเพิ่มบารมีอยู่อย่างยิ่งแล้วในตัว
และเมื่อผู้ใดเจริญอริยมรรคจนสมบูรณ์ได้ ก็เท่ากับว่าเขามีบารมีทั้ง ๑๐
นี้เต็มแล้ว ส่วนใครที่รู้ว่าตัวเองยังขาดบารมีใดอยู่
ก็ต้องพยายามสร้างหรือสะสมบารมีนั้นให้สมบูรณ์
จึงจะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะบรรลุความเป็นพุทธะได้ ***************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๔. วิธีการฝึกสมาธิตามที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นเป็นอย่างไร? สมาธิ แปลว่า ตั้งมั่นอยู่เสมอ คือหมายถึงการที่เรามีจิตจดจ่อ
หรือ กำหนด (จับ) อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสมาธินี้อยู่ ๒ อย่าง
คือ สมาธิผิด กับ สมาธิถูก โดยสมาธิผิดก็คือ
การที่จิตของเราไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดกิเลสหรือนิวรณ์ เช่น
จดจ่ออยู่กับเรื่องเพศตรงข้าม หรือจดจ่ออยู่กับเรื่องความโกรธ
หรือจดจ่ออยู่กับเรื่องงมงาย (สิ่งที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์)
หรือการบังคับจิตให้กำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆมากเกินไป เป็นต้น
ซึ่งผลของสมาธิผิดก็จะเป็นไปตามอำนาจของกิเลสและนิวรณ์ คือความเร่าร้อนใจ, ความหนัก-เหนื่อยใจ, ความเครียด, ความไม่สบายใจ, ความไม่ปรกติ, ความไม่สงบเย็น
เป็นต้น ส่วนสมาธิถูกก็คือ
การที่จิตของเราไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่บริสุทธิ์ (คือไม่ทำให้เกิดกิเลสและนิวรณ์)
และทำให้เกิดปัญญา เช่น การพิจารณาคำสอนของพระพุทธเจ้า (เช่น อริยสัจ ๔, กฏไตรลักษณ์, ขันธ์ ๕ฯ) การกำหนดรู้การเกิดและดับของการหายใจ, การกำหนดรู้การเกิดและดับของสิ่งที่กำลังสัมผัสจิตอยู่,
การกำหนดรู้สิ่งที่กำลังเกิดอยู่กับจิต เป็นต้น
ซึ่งผลของสมาธิถูกก็คือ การที่กิเลสและนิวรณ์ได้ระงับหรือดับหายไป (ชั่วคราว),
มีความสุขที่สงบประณีตอย่างยิ่ง, การมีสติ
(การระลึกได้ทันเวลา) ที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์, การมีความจำดี,
มีความสงบเย็น (นิพพาน), และมีการมองเห็น
(มีความเข้าใจ) โลกตามความเป็นจริง เป็นต้น (ถ้าพบคำว่า สมาธิ ในหนังสือนี้
ก็ขอให้เราเข้าใจว่าหมายถึงสมาธิถูกเท่านั้น) สมาธิที่พระพุทธเจ้าสอนให้เราปฏิบัติอยู่เสมอนั้นเรียกว่า
อานาปานสติ คือการกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (คือสิ่งที่บริสุทธิ์และทำให้เกิดปัญญา)
พร้อมๆกับการกำหนดการหายใจเข้าและออกของเราควบคู่ไปด้วยอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งนี่ก็คือการมีสมาธิตามธรรมชาตินั่นเอง โดยสมาธิธรรมชาตินี้เราก็พอจะมีกันอยู่บ้างแล้ว
อย่างเช่น เวลาที่นักเรียนตั้งใจฟังครูสอน หรือครูตั้งใจสอน หรือเวลาที่เราตั้่งใจทำหน้าที่การงานของเรา
หรือเวลาที่เราตั้งใจพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือเวลาที่เราตั้งใจคิดพิจารณาธรรมะ
เป็นต้น โดยวิธีการฝึกสมาธิตามธรรมชาตินี้ก็ทำได้ง่ายๆ
โดยที่เราจะกำหนดอยู่ที่การหายใจเข้าและออกของเราอยู่ตลอดเวลาขณะที่เรากำลังเคลื่อนไหวร่างกาย, หรือพูด, หรือคิด อยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นเอง
ซึ่งเมื่อเราเริ่มกำหนดสิ่งใด ก็เรียกว่าเราเริ่มมีสติแล้ว
และถ้าเรามีการกำหนดสิ่งนั้นติดต่อกันได้นานๆ
จนทำให้กิเลสและนิวรณ์ที่กำลังเกิดอยู่ได้ระงับหรือดับหายไป (ชั่วคราว)
ก็แสดงว่าจิตของเรามีสมาธิแล้ว สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกสมาธิใหม่ๆก็ควรฝึกสมาธิอย่างเป็นระบบก่อน
คือให้ใช้อิริยาบถนั่งก่อน (ถ้าชำนาญแล้วจะใช้อิริยาบถยืนหรือเดิน หรือนอนก็ได้)
จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ (แต่ถ้าลืมตาแล้วฟุ้งซานก็ให้หลับตา)
แล้วให้มีสติอยู่ที่การหายใจอยู่ตลอดเวลา คือรู้ว่าเรากำลังหายใจเข้าหรือออกอยู่ตลอดเวลา
โดยขั้นต้นก็ให้เราพยายามควบคุมให้ร่างกายหายใจเบาและยาวก่อน
เพราะจะทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย เมื่อพร้อมแล้วต่อไปก็ให้ทดลองนับการหายใจของเรา
(คือเข้าและออก รวมเป็น ๑ ครั้ง) ไปเรื่อยๆ คือตั้งแต่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ฯลฯ ขึ้นไปเรื่อยๆ
ถ้าเราหลงลืมการกำหนดการหายใจแล้วไปคิดถึงสิ่งหรือเรื่องอื่นเมื่อใด
ก็ให้กลับมาเริ่มต้นนับ ๑ ใหม่
ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการทดลองควบคุมจิตโดยยังไม่ได้ใช้ปัญญา
ซึ่งอาจจะทำได้ยากหรือทำให้เครียดได้ เพราะจิตยังไม่ชินกับการถูกบังคับ ต่อไปเป็นการฝึกสมาธิควบคู่กับการฝึกคิดพิจารณาธรรมะเพื่อให้เกิดปัญญาไปด้วย
(ที่เรียกว่าเจริญวิปัสสนา) โดยเราจะนำธรรมะ เช่น อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา, อริยสัจ ๔,
ขันธ์ ๕, หรือ กิเลส, นิวรณ์,
อนุสัย, อาสวะ, สังโยชน์
เป็นต้น มาคิดพิจารณาหรือทบทวนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่แตกฉานยิ่งขึ้น
หรือจะเป็นการพิจารณาเพื่อสอนตนเองก็ได้ หรือเพื่อสอนผู้อื่นก็ได้
หรือจะเป็นการขบคิดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆก็ได้
หรือจะเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อโลกก็ได้ โดยวิธีการคิดนั้น เราจะตั้งใจคิดอย่างช้าๆ
ให้เป็นคำพูดภายในจิต ด้วยประโยคสั้่นๆก่อน และให้เราตั้งใจฟังสิ่งที่เราพูดนั้นด้วย
โดยเราจะคิดเฉพาะช่วงเวลาที่เรากำลังหายใจออกเท่านั้น แต่ขณะที่เรากำลังหายใจเข้า
เราจะหยุดคิดทันที (หรือใครจะคิดเวลาหายใจเข้า แต่เวลาหายใจออกจะหยุดคิดก็ได้)
และให้คิดติดต่อกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆตลอดเวลาที่ฝึกอยู่ ซึ่งการฝึกเช่นนี้จะทำให้เรามีสติอย่างต่อเนื่องจนเป็นสมาธิได้ง่าย
พร้อมทั้งยังทำให้เกิดปัญญาพร้อมๆกันไปด้วยในตัว อีกอย่างเราต้องเข้าใจว่า
จิตคือสิ่งที่รู้สึกนึกคิด คือจิตต้องมีการคิดอยู่ด้วยเสมอ
ถ้าเราหยุดคิดนานๆจิตก็จะดับ (หลับ)ได้ นี่เองที่ทำให้เรามีความคิดเกิดอยู่ตลอดเวลาขณะที่เราตื่นอยู่
และเราก็มักจะปล่อยให้จิตมันคิดไปของมันเองโดยการขาดการควบคุม
ซึ่งแน่นอนว่าจิตมันก็ย่อมที่จะคิดไปของมันเอง ตามความเคยชินของกิเลสและนิวรณ์
ที่จิตของเรามันสั่งสมมาตลอดทั้งชีวิต ดังนั้นเมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว
เราจึงมาฝึกให้จิตมีสติอยู่เสมอเพื่อดูว่าจิตของเรากำลังคิดอะไรอยู่
เมื่อพบว่ามันกำลังคิดไปในเรื่องที่ทำให้เกิดกิเสหรือนิวรณ์
เราก็ต้องหยุดการคิดนั้นเสีย แล้วเปลี่ยนมาคิดในเรื่องที่ทำให้เกิดปัญญาแทน เมื่อเราสามารถฝึกจิตให้จดจ่ออยู่กับการพิจารณาธรรมะได้อย่างต่อเนื่องนานๆ
(หลายๆนาที) โดยกิเลสและนิวรณ์ที่เคยเกิดอยู่ได้ระงับหรือดับหายไปแล้ว (ชั่วคราว)
จิตของเราก็จะเกิดปีติ (ความอิ่มใจ) กับ ความสุขสงบขึ้นมา และควบคุมได้ง่าย
รวมทั้งมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาจิตกำลังคิดอะไรและรู้สึกอย่าง
ซึ่งนี่แสดงว่าจิตของเราเริ่มมีสมาธิที่ถูกต้องแล้วตามหลักอริยมรรค
และเมื่อเราฝึกเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ สมาธิของเราก็จะสูงขึ้นๆ
จนถึงขั้นที่แม้ปีติและความสงบสุขก็จะดับหายไป
แล้วเหลืออยู่เพียงความสงบเย็นสูงสุด (นิพพานสูงสุด) เท่านั้น
ซึ่งนี่ก็คือภาวะของนิพพานได้ปรากฏกับจิตของเราแล้ว (แม้เพียงชั่วคราว) แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก็คือ
การที่เราจะมีสมาธิได้นั้น จำเป็นที่เราต้องมีจิตที่ปรกติ (คือสงบสุข)
ถ้าเรามีจิตที่ไม่ปรกติ
(คือฟุ้งซ่านดิ้นรนเร่าร้อนจนควบคุมไม่ได้เพราะได้ทำความผิดหรือชั่วไว้มาก)
ก็จะทำให้จิตไม่เป็นสมาธิหรือฝึกให้เกิดสมาธิได้ยาก หรือไม่ได้เลยถ้ามีความผิดปรกติมากๆ
ซึ่งจิตที่ปรกตินี้เองที่เรียกว่า ศีล ที่แปลว่า ปรกติ คือหมายถึงจิตที่ปรกติ โดยความปรกติของจิตจะเกิดจาก
"การรักษากายกับวาจาให้เรียบร้อยงดงาม" ซึ่งในการปฏิบัติก็ได้แก่
การมีเจตนา (ความจงใจ) ที่จะไม่เบียดเบียนชีวิต กามารมณ์ และทรัพย์สินของผู้อื่น
รวมทั้งการมีเจตนาที่จะไม่พูดโกหก คำหยาบ คำส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
ซึ่งศีลนี้แม้ผู้ครองเรือนก็สามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องออกบวชเหมือนภิกษุที่มีศีลละเอียดมากขึ้นเพื่อให้จิตมีสมาธิได้ง่ายยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า
ปกติเราก็พอจะมีสมาธิกันอยู่บ้างแล้ว แต่อาจเป็นสมาธิผิดหรือถูกก็ได้
โดยสมาธิถูกตามหลักพุทธศาสนานั้นก็คือการที่เรามีสติจดจ่ออยู่กับปัญญาอยู่ตลอดเวลาได้นานๆ
จนทำให้กิเลสและนิวรณ์ระงับหรือดับหายไปได้ชั่วคราว
แล้วก็ทำให้จิตมีความสงบสุขและนิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)
แต่การที่เราจะมีสมาธิได้จำเป็นที่เราจะต้องมีศีลก่อน
คือมีความปรกติของจิตที่เกิดจากการรักษากายและวาจาให้เรียบร้อยงดงามอยู่เสมอ ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๕. สมาธิตามที่พระพุทธเจ้าสอนมีกี่ระดับ? เมื่อเราตั้งใจกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่ทำให้เกิดกิเลสและนิวรณ์ได้ติดต่อกันนานๆ
ก็เรียกว่า สมาธิ แต่สมาธินี้มันก็มีหลายระดับ ซึ่งระดับของสมาธินั้นนิยมเรียกว่า
ฌาน ที่แปลว่า การเพ่ง หรือ ระดับของการเพ่ง ซึ่งฌานนี้แยกได้ ๒ อย่าง คือ ๑. รูปฌาน คือการเพ่งสิ่งที่เป็นรูป
คือพวกวัตถุที่สัมผัสได้ด้วย ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย ๒. อรูปฌาน คือการเพ่งสิ่งที่ไม่มีรูป (นาม)
เช่น วิญญาณ (การรับรู้), ความไม่มีอะไรเลย
เป็นต้น ซึ่งฌานตามหลักอริยมรรคจะเป็นแค่รูปฌานเท่านั้น
ส่วนอรูปฌานนั้นเป็นสมาธิที่สูงเกินไปและไม่จำเป็น แต่ถ้าใครจะฝึกก็ได้ไม่ห้าม โดยรูปฌานตามหลักอริยมรรคจะมีระดับอยู่ ๔
ระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีองค์ประกอบไม่เหมือนกัน คือ ฌานที่ ๑ ประกอบด้วย วิตก, วิจาร, ปิติ, สุข, เอกัคคตา ฌานที่ ๒ ประกอบด้วย ปิติ, สุข, เอกัคคตา ฌานที่ ๓ ประกอบด้วย สุข, เอกัคคตา ฌานที่ ๔ ประกอบด้วย อุเบกขา, เอกัคคตา เมื่อเราตั้งใจเพ่งอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆ
(หลายนาที) จนนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้อ่อนแรงลงมากจนเกือบจะดับหายไปหมดแล้ว จิตก็จะมี "วิตก"
(คืออาการที่จิตได้กำหนดหรือจับอยู่ที่สิ่งที่กำหนดนั้นอยู่ตลอดเวลา) และ
"วิจาร" (คืออาการที่จิตซึมซาบ เคล้าเคลีย
ระแวดระวังไม่ให้จิตไปกำหนดที่สิ่งอื่น) อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อจิตมีวิตกและวิจารแล้วสักครู่
ก็จะเกิด "ปิติ"
(คือความตื่นเต้นหรือความอิ่มเอมใจที่จิตเริ่มเป็นอิสระจากนิวรณ์แล้ว) พร้อมกับ
"สุข" (คือสุขเวทนาหรือความสุขที่ประณีต) ขึ้นมาทันที และเมื่อจิตของเรามี วิตก, วิจาร, ปีติ, และสุข
รวมกันอยู่อย่างแน่วแน่เป็นอารมณ์ (สิ่งกำหนด) เดียวแล้ว ก็เรียกว่าจิตได้บรรลุ
(เข้าถึง) ฌานที่ ๑ แล้ว เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานที่ ๑ นานๆ วิตก กับ
วิจาร ก็จะดับหายไป
คือจิตมันมีความชำนาญในการกำหนดแล้วโดยที่เราไม่ต้องตั้งใจกำหนด
มันก็จะเกิดขึ้นได้เอง ก็เรียกว่า วิตกกับวิจาร มันได้ดับหายไปแล้ว จึงเหลือเพียงปิติและสุขเท่านั้นเป็นอารมณ์เดียว
ก็เรียกว่าจิตได้เลื่อนเป็นฌานที่ ๒ แล้ว เมื่อจิตอยู่ในฌานที่ ๒ นานๆ ปิติก็จะหายไปอีก เพราะมันไม่ตื่นเต้นแล้ว จึงเหลือเพียง
"สุข" เท่านั้นเป็นอารมณ์เดียวในขณะนี้ ก็เรียกว่าจิตได้เลื่อนเป็น
ฌานที่ ๓ แล้ว เมื่อจิตอยู่ในฌานที่ ๓ นานๆ สุขก็จะหายไปอีก
เพราะจิตมันเบื่อสุขแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่มีสุขเวทนาและแม้ทุกข์เวทนาก็ไม่มี
จึงเหลืออยู่เพียง "อุเบกขา" (อุเบกขา ก็คือ อุเบกขาเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา คือความรู้สึกกลางๆ
ระหว่างสุขเวทนากับทุกขเวทนา)
อยู่เป็นอารมณ์เดียวในขณะนี้ ก็เรียกว่าจิตได้บรรลุฌานที่ ๔
อันเป็นรูปฌานระดับสูงสุดแล้ว เมื่อจิตบรรลุฌานที่ ๑
ซึ่งนิวรณ์ได้อ่อนแรงลงมากจนเกือบจะดับลงจนหมดสิ้นแล้ว (แม้เพียงชั่วคราว) นิพพาน
คือความสงบเย็นของจิตก็จะเริ่มปรากฏขึ้นมาทันที และเมื่อจิตได้บรรลุถึงฌานที่ ๒
จิตก็จะยิ่งนิพพานหรือสงบเย็นมากขึ้น หรือแม้เมื่อจิตบรรลุถึงฌานที่ ๓
จิตก็จะนิพพานหรือสงบเย็นมากขึ้น แต่ก็จะยังไม่นิพพานสูงสุด เพราะในขณะที่จิตอยู่ในฌานที่ ๓ นี้
จิตจะมีความสุขที่สงบประณีตอย่างสูงสุด (เพราะไม่มีปิติมารบกวนจิต)
แต่เมื่อจิตมีความสุข สัญชาตญาณแห่งตัวตน (คืออวิชชา)
ของจิตก็ย่อมเกิดความรู้สึกพึงพอใจในความสุขนี้อยู่ด้วยอย่างเงียบๆ
(คือไม่รุนแรงแต่ลึกซึ้ง) ซึ่งความพึงพอใจอย่างเงียบๆนี้
มันก็ยังเป็นนิวรณ์อ่อนๆที่มารบกวนจิตของเราไม่ให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์ได้อย่างเต็มที่
จึงทำให้จิตของเรายังไม่นิพพานอย่างสูงสุด (คือไม่สงบเย็นอย่างสูงสุด) จนกว่าจิตของเราจะบรรลุถึง ฌานที่ ๔
ที่สุขได้ดับหายไปแล้ว จึงเหลืออยู่เพียงความรู้สึกจืดๆ (คือไม่สุขไม่ทุกข์)
ตั้งมั่นอยู่เป็นอารมณ์เดียว ก็จะทำให้จิตของเราบริสุทธิ์อย่างเต็มที่
(เพราะนิวรณ์ทุกตัวได้ระงับหรือดับหายไปแล้วอย่างสนิทแม้เพียงชั่วคราว)
ซึ่งในขณะที่จิตอยู่ในฌานที่ ๔
นี้เอง นิพพานหรือความสงบเย็นอย่างสูงสุด
ก็จะปรากฏออกมาให้จิตได้สัมผัสทันที (แม้เพียงชั่วคราว)
ซึ่งจิตของพระอรหันต์ก็จะมีความบริสุทธิ์และนิพพานอย่างสูงสุดอยู่ตลอดเวลาจนตลอดชีวิต
ดังนั้นถ้าเราสามารถฝึกจิตของเราให้บรรลุถึง ฌานที่ ๔ ได้
ก็แสดงว่าเราได้สัมผัสจิตของพระอรหันต์แล้ว (ชั่วคราว)
หรือถ้าจะเรียกอย่างสมมติก็เรียกว่า เราได้พบพระพุทธเจ้าแล้ว ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๖. คำสอนเรื่องนรก สวรรค์ ฯ ที่มีอยู่ในพุทธศาสนานั้น จะอธิบายได้ว่าอย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า
คำสอนของพุทธศาสนาในปัจจุบัน มีอยู่ ๒ ระคือ ๑. ระดับพื้นฐาน (ศีลธรรม) กับ ๒.
ระดับสูง (ปรมัตถธรรม) โดยคำสอนระดับพื้นฐาน (ศีลธรรม)
นั้นเป็นคำสอนเรื่อง "การละเว้นความชั่วนั้นและทำแต่ความดี"
ที่เอาไว้สอนเด็กหรือชาวบ้าน ที่ยังไม่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และทางด้านพุทธศาสนาระดับสูงเพียงพอ
รวมทั้งเขาก็ไม่ได้สนใจที่จะศึกษาชีวิตและโลก
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นแจ้งชีวิตและโลกอีกด้วย โดยคำสอนระดับศีลธรรมนั้นก็สรุปอยู่ที่
สอนให้รักษาศีล ๕, สอนให้ละเว้นอบายมุข-สิ่งเสพติด,
สอนให้ใช้ชีวิตที่เรียบง่าย, ประหยัด, ไม่ฟุ่มเฟือย, สอนให้รักผู้อื่น, ช่วยเหลือผู้อื่น, มีความสามัคคี, ให้อภัย, สอนให้ขยัน, อดทน,
กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ, อ่อนน้อมถ่อมตม,
และมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น
โดยผลจากการเป็นคนดีมีศีลธรรมก็คือ ทำให้ชีวิตมีความปกติสุขและทำให้สังคมสงบสุข
รวมทั้งถ้ามนุษย์ส่วนมากของโลกเป็นคนดีมีศีลธรรม โลกก็จะมีสันติภาพได้อย่างยั่งยืน คำสอนระดับศีลธรรมนี้ทุกๆศาสนาของโลกเขาก็มีกันอยู่แล้ว
เพียงแต่ว่าวิธีการสอนอาจจะแตกต่างกันเท่านั้น คือ
บางศาสนาก็อาจใช้คามเชื่อเรื่องเทพเจ้าหรือพระเจ้ามาเป็นหลักในการสอน
บางศาสนาก็เอาเรื่องเหตุผลมาใช้ในการสอน โดยพุทธศาสนาจะใช้เหตุผลในการสอนศีลธรรม
คือสอนให้เข้าใจว่า ถ้าเราทำความชั่ว (คือการเบียดเบียนผู้อื่น)
เราก็จะได้รับผลโดยตรง คือความทุกข์ใจ ร้อนใจ ไม่สบายใจฯ
รวมทั้งการทำความชั่วยังทำให้เกิดผลโดยอ้อมกลับมาให้ชีวิตอีก
คืออาจทำให้ถูกลงโทษทางกฎหมาย, ถูกสังคมรังเกียจ,
ถูกผู้อื่นทำร้ายตอบ, ครอบครัวหรือสังคมก็เดือดร้อน,
และการตกเป็นทาส เป็นต้น แต่ถ้าเราทำความดี (คือช่วยเหลือผู้อื่น)
เราก็จะได้รับผลโดยตรง คือความสุขใจ อิ่มใจ ความภาคภูมิใจ รวมทั้งยังมีผลโดยอ้อมอีก
คือได้รับคำยกย่องสรรเสริญ, สังคมชื่นชม, ชีวิตปลอดภัย, และชีวิตมีความปกติสุขที่มั่นคง
เป็นต้น แต่วิธีการสอนที่มีอยู่ในตำราของพุทธศาสนาในปัจจุบันนั้น
มีการใช้คำพูดที่เหมือนกันกับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ เช่น คำสอนที่ว่า
ถ้าทำชั่วตายไปจะถูกลงโทษในนรก แต่ถ้าทำความดีตายไปจะได้ไปเกิดเป็นเทวดาเสวยสุขอยู่บนสวรรค์
เป็นต้น ซึ่งคำสอนเช่นนี้แม้จะใช้คำพูดเหมือนกับที่ศาสนาพราหมณ์สอน
แต่ความหมายจะไม่เหมือนกัน คือทางศาสนาพราหมณ์เขาหมายถึง
"การมีตัวตนไปเกิดใหม่เพื่อรับผล" แต่ทางพุทธศาสนาจะหมายถึง
"ภาวะของจิตใต้สำนึกที่เป็นไปตามเจตนา" เช่น
เมื่อเรามีเจตนาไม่ดีแล้วทำความชั่ว จิตของเราก็จะเกิดความทุกข์ ความไม่สบายใจ ฯ
ขึ้นมาทันที หรือเมื่อเรามีเจตนาในการทำความดี จิตของเราก็จะเกิดความสุขใจ
ความอิ่มเอมใจ ขึ้นมาทันที เป็นต้น จึงขอให้เราเข้าใจจุดนี้เองไว้ด้วยจะได้ศึกษาพุทธศาสนาได้เข้าใจ
หรือไม่เกิดความเข้าใจผิดเพี้ยน อย่างที่ชาวพุทธส่วนมากเป็นกันอยู่ ส่วนคำสอนระดับสูง (ปรมัตถธรรม)
นั้น เป็นคำสอนเรื่อง "การทำจิตให้บริสุทธิ์" คือ เป็นคำสอนเรื่อง
ความไม่มีทุกข์ (หรือพ้นทุกข์ หรือไม่มีทุกข์) ของจิตใจในชีวิตปัจจุบัน
ที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ นั่นเอง
ซึ่งพระพุทธเจ้าจะเน้นเฉพาะเรื่องการดับทุกข์เท่านั้น
เพราะความทุกข์นี้เป็นปัญหาหรือสิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุดของมนุษย์ปุถุชนทุกคน
ถึงแม้เราจะเป็นคนดีมีศีลธรรมอย่างมั่นคงและสมบูรณ์สักเท่าใด
ก็ยังไม่ช่วยให้จิตใจของเราหลุดพ้นหรือไม่มีความทุกข์ทางจิตใจได้
จะต้องใช้คำสอนระดับสูงเรื่องอริยสัจ ๔ เท่านั้นมาปฏิบัติ
จึงจะทำให้จิตใจของเราหลุดพ้นจากความทุกข์ (คือความเศร้าโศก ความเร่าร้อนใจ
ความไม่สบายใจ ฯ) ได้ โดยคำสอนระดับสูงนี้
จะสอนให้เราเกิดปัญญาและใช้ปัญญามาดับทุกข์ จะไม่ใช้ความเชื่อเหมือนกับคำสอนระดับศีลธรรม
โดยคำสอนระดับสูงนี้จะเอาไว้สอนเฉพาะคนดีมีศีลธรรมแล้ว
และเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์มาก่อนแล้ว เช่น นักวิทยาศาสตร์, นักคิดนักเขียน, หรือคนที่ไม่ยึดติดในศาสนาใดๆ,
หรือคนที่เปิดใจยอมฟังเหตุผลและยอมรับความจริง เป็นต้น สรุปได้ว่า คำสอนที่มีอยู่ในพุทธศาสนาปัจจุบัน
มีอยู่ ๒ ระดับ ศือ ศีลธรรม หรือคำสอนระดับพื้นฐาน
ที่เอาไว้สอนเด็กหรือบ้าน โดยมีผลเป็นคนปกติสุขในชีวิตปัจจุบัน และ ปรมัตถธรรม หรือคำสอนระดับสูง ที่เอาไว้สอนปัญญาชน
โดยมีผลเป็นความพ้นทุกข์หรือไม่มีความทุกข์ทางด้านจิตใจในชีวิตปัจจุบัน
โดยคำสอนระดับศีลธรรมนั้นจะใช้คำพูดที่เหมือนกับที่ศาสนาพราหมณ์สอน
คือเป็นคำสอนว่ามีอัตตาหรือตัวไปเกิดใหม่เพื่อรับผลกรรม
ซึ่งเราก็ต้องมาตีความหมายใหม่ให้เป็นเรื่องทางจิตใจ เราจึงจะเข้าใจ
ถ้าเราไปตีความไปตามคำพูดตรงๆเหมือนที่ศาสนาพราหมณ์สอน ก็จะทำให้เราเกิดความเข้าใจผิดว่า
"พุทธศาสนาก็สอนเหมือนกับศาสนาพราหมณ์สอน"
อย่างที่ชาวพุทธส่วนมากในปัจจุบันกำลังเข้าใจผิดกันอยู่ ******************* หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๗. คำสอนต่างๆในตำราพุทธศาสนา เช่น นรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า เป็นต้น
มีความหมายอย่างไร? ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง
ก็จะมีความเข้าใจ (ผิด) ว่า ข้อความต่างๆที่ได้บันทึกเอาไว้ในพระไตรปิฎก เช่น
คำว่า นรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า เป็นต้นนั้น มีความหมายเหมือนกับที่ศาสนาพราหมณ์สอน โดยศาสนาพราหมณ์เขาจะสอนว่า นรก หมายถึงสถานที่ที่เอาไว้ลงโทษคนทำชั่วที่ตายไปแล้ว, สวรรค์ หมายถึงสถานที่ที่เอาไว้ให้รางวัลแก่คนที่ได้ทำดีที่ตายไปแล้ว,
เทวดา หมายถึง บุคคลที่เป็นชายที่เสวยสุขอยู่บนสวรรค์, นางฟ้า หมายถึง บุคคลที่เป็นหญิงที่อยู่บนสวรรค์ที่คอยรับใช้เทวดา,
คน หมายถึง คนที่เกิดอยู่บนโลก, สัตว์เดรัจฉาน
หมายถึง สัตว์เดรัจฉานที่เกิดอยู่บนโลก เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงนั้น คำสอนของพุทธศาสนา
ที่มีคำสอนเหมือนกับที่ศาสนาพราหมณ์สอน เช่น นรก สวรรค์ เทวดา นางฟ้า เป็นต้นนั้น
ไม่ได้มีความหมายเป็นสถานที่หรือเป็นตัวตนบุคคล เหมือนกับที่ศาสนาพราหมณ์สอน
แต่จะมีความหมายเฉพาะของพุทธศาสนาเอง
เพียงแค่ว่ายืมคำของศาสนาพราหมณ์มาใช้เท่านั้น ดังนั้นเมื่อเราได้ฟังหรืออ่านคำสอนใดของพุทธศาสนา
ที่เหมือนกับคำสอนที่ศาสนาพราหมณ์สอน
เราจะต้องเปลี่ยนความหมายของคำสอนนั้นเสียใหม่
ให้มาเป็นความหมายเฉพาะของพุทธศาสนาเสียก่อน
เราจึงจะศึกษาพุทธศาสนาแล้วเข้าใจได้ถูกต้อง โดยคำสอนของพุทธศาสนา
ที่เหมือนกับคำสอนที่ศาสนาพราหมณ์ ที่เราพบได้บ่อยๆ ในตำราพุทธศาสนานั้น
ก็ได้แก่คำต่อไปนี้ โลก
หมายถึง
ความทุกข์ หรือสิ่งที่เรายึดถือกันอยู่ ชาติ
(การเกิด)
หมายถึง
การเกิดความยึดถือว่ามีตัวตนขึ้นมาในจิตใจ ตาย
หมายถึง
ความรู้สึกว่ามีตัวตนในจิตใจนั้นได้ดับหายไปหรือเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น สวรรค์
หมายถึง
สภาวะจิตที่มีแต่ความสุขใจอิ่มใจ นรก
หมายถึง
ความทุกข์ใจหรือร้อนใจ
เหมือนไฟเผา เทวดา
หมายถึง
จิตที่กำลังเสวยสุขโดยไม่ต้องเหนื่อยยากลำบากกาย นางฟ้า
หมายถึง
ความสุขชนิดต่างๆของเทวดา พรหม
หมายถึง
จิตที่เบื่อกามคุณ และอยู่อย่างสุขสงบด้วยสมาธิ รูปพรหม หมายถึง
จิตที่ติดอยู่ในความสุขสงบจากสิ่งที่เป็นรูปหรือวัตถุ อรูปพรหม หมายถึง
จิตที่ติดอยู่ในความสุขสงบจากสิ่งที่ไม่มีรูป คน
หมายถึง
จิตที่กำลังเสวยสุขโดยต้องเอาความเหนื่อยยากลำบากกายเข้าแลก มนุษย์ หมายถึง
ผู้มีใจสูง หรือผู้มีคุณธรรม (คนยังไม่ใช่มนุษย์) อบายภูมิ
หมายถึง
จิตที่ไม่มีความเจริญ คือมีความสุขน้อยแต่มีความทุกข์มากกว่า เดรัจฉาน
หมายถึง
จิตที่มีความโง่อย่างไม่น่าโง่ หรือเกิดโมหะ ความหลงผิด อสุรกาย (ผี) หมายถึง
จิตที่ขลาดกลัว ไม่กล้าหาญ ยักษ์
หมายถึง
จิตที่มีความโกรธ ความมุ่งร้าย เปรต
หมายถึง
จิตที่หิวด้วยกิเลส คือมีความโลภ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น สัตว์
หมายถึง
จิตที่ยังติดใจอยู่ในโลก (ในกามคุณ ๕) สัตว์นรก
หมายถึง
จิตที่กำลังเร่าร้อนทรมาน (ร้อนใจ ทุกข์ใจมาก) ยมบาล
หมายถึง
กฎอันเฉียบขาดของธรรมชาติ มาร
หมายถึง
สิ่งที่ทำลายล้างความดีหรือคุณธรรมให้หายไปจากจิต วัฏฏะสงสาร หมายถึง จิตที่วนเวียนอยู่ใน
กิเลส-กรรม-วิบาก นิพพาน
หมายถึง
จิตที่สงบเย็นเพราะไม่มีกิเลสรบกวน
เป็นต้น สรุปได้ว่า
คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านั้นต้องเป็น สันทิฎฐิโก
คือเราต้องเห็นเอง หรือรู้แจ้งด้วยจิตของเราเองจริงๆเท่านั้น จึงจะเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
ส่วนคำสอนใดที่ไม่เป็นสันทิฎฐิโก
คำสอนนั้นก็ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นเมื่อเราพบกับข้อความในพระไตรปิฎก
ที่ดูแล้วไม่เป็นเป็นสันทิฎฐิโก
เราก็ต้องตีความให้เป็นสันทิฎฐิโกเสียก่อน
เราจึงจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง อย่างเช่น ถ้าพบคำสอนว่า
คนที่ทำความดีตายแล้วจะไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ ก็ตีความได้ว่าหมายถึง
เมื่อเราทำความดีเสร็จแล้ว เราก็จะเกิดความสุขใจหรืออิ่มใจขึ้นมาทันที หรือคำสอนที่ว่า
คนที่ทำชั่วมากๆตายไปจะตกนรก
ก็หมายถึง เมื่อเราทำความชั่วมากๆ
เมื่อทำเสร็จเราก็จะเกิดความร้อนใจหรือทุกข์ใจอย่างมากขึ้นมาทันที
หรือเมื่อบุคคลไม่ยึดมั่นถือมั่นก็จะบรรลุนิพพาน ก็หมายถึง
เมื่อจิตไม่มีความยึดมั่นด้วยกิเลส จิตก็จะสงบเย็นทันที เป็นต้น **************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๘. พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรมไว้ว่าอย่างไร? คำสอนของพุทธศาสนาในปัจจุบัน
(คือได้ถูกปลอมปนเข้ามาแล้ว) สรุปได้
๒ ระดับ คือ ศีลธรรม (ระดับพื้นฐาน)
กับ ปรมัตถธรรม (ระดับสูง) โดยศีลธรรมเป็นคำสอนง่ายๆเรื่อง
"การละเว้นการทำความชั่วและให้ทำความดี"
โดยมีผลเป็นความปกติสุขของผู้ปฏิบัติ และ ความสงบสุขของสังคม
ซึ่งศีลธรรมนี้จะเอาไว้สอนชาวบ้านหรือคนที่ยังไม่มีความรู้ธรรมะระดับสูง
ซึ่งเราต้องเข้าใจว่า คำสอนระดับศีลธรรมนี้จะยังไม่สามารถดับทุกข์ของจิตใจได้
เพราะยังใช้ความเชื่อเป็นหลักในการนำศีลธรรมมาปฏิบัติ ส่วนปรมัตถธรรมนั้นเป็นคำสอนเรื่องความพ้นทุกข์
(คือความเศร้าโศก ความเครียด ความไม่สบายใจฯ) ในชีวิตปัจจุบัน ที่เรียกว่า อริยสัจ
๔ โดยผลของผู้ปฏิบัติปรมัตถธรรมก็คือ
ความหลุดพ้นจากความทุกข์ หรือมีความทุกข์น้อยลง ซึ่งปรมัตถธรรมนี้จะต้องใช้ปัญญากับสมาธิมาทำงานร่วมกันโดยมีศีลเป็นพื้นฐาน
จะใช้ความเชื่อเหมือนคำสอนระดับศีลธรรมมาศึกษาและปฏิบัติไม่ได้
เพราะความเชื่อจะปิดบังจิตของเราไม่ให้เกิดปัญญา โดยคำสอนเรื่องกรรมที่มีอยู่ในพุทธศาสนาก็มี ๒
ระดับ คือระดับศีลธรรม กับ ระดับปรมัตถธรรม โดยคำสอนเรื่องกรรมระดับศีลธรรมนั้นก็ได้แก่คำสอนเรื่องที่ว่า
"เมื่อเรากรรมใดไว้ในชีวิตนี้
เมื่อตายไปแล้วเกิดใหม่จึงจะได้รับผลของกรรมนั้น" (หรือคำสอนที่ว่า
ทำชั่วตกนรก ทำดีขึ้นสวรรค์ นั่นเอง)
ซึ่งคำสอนอย่างนี้เป็นคำสอนที่ชาวพุทธรุ่นหลังๆได้ประยุกต์มาจากคำสอนของศาสนาพราหมณ์เรื่อง
จิตเป็นตัวตนอมตะ (อัตตา) ที่เวียนว่ายตายเกิดได้ ซึ่งคำสอนอย่างนี้ก็ยังมีส่วนดีอยู่
คือทำให้คนที่เชื่อไม่ทำความชั่วเพราะกลัวตกนรก และทำความดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์
แต่ก็มีส่วนเสียคือ ไม่ทำให้เกิดปัญญาสำหรับนำมาดับความทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน
รวมทั้งยังทำให้ไม่มีสติปัญญามาแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตอีกด้วย ส่วนคำสอนเรื่องกรรมระดับปรมัตถธรรมนั้น
เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ที่สอนเรื่องจิตใต้สำนึกของเรา คือเป็นคำสอนว่า
กรรม คือการกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส) และมีผล (วิบาก)
เป็นความรู้สึกไปตามกรรมที่กระทำนั่นเอง โดยกรรมนี้สรุปได้ ๒ อย่าง คือ (๑) อกุศลกรรม หรือ กรรมชั่ว
คือการมีเจตนาชั่ว กับ (๒) กุศลกรรม
หรือ กรรมดี คือการมีเจตนาดี ซึ่งกรรมนี้ก็เกิดขึ้นที่จิตของเราก่อน
แต่เมื่อจิตสั่งให้ปากพูด และสั่งให้ร่างกายกระทำ จึงได้เกิดเป็นกรรมแยกไปเป็น ๓
อย่าง คือกรรมทางกาย กรรมทางวาจา และกรรมทางใจ โดยกรรมชั่ว ทางกายก็ได้แก่
การเบียดเบียนชีวิต, กามารมณ์, และทรัพย์สินของผู้อื่น ส่วนกรรมชั่วทางวาจาก็ได้แก่ การพูดโกหก, คำหยาบ, คำส่อเสียด, คำเพ้อเจ้อ, ส่วนกรรมชั่วทางจิตใจก็ได้แก่
ความคิดอยากได้สิ่งของๆผู้อื่นมาเป็นของตนเอง, ความคิดไปในทางโกรธ
หรืออาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น, และการมีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
(คือเห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี) โดยกรรมชั่วนี้ สมัยนี้นิยมเรียกว่า บาป
ที่หมายถึง สิ่งที่น่ารังเกียจ ส่วนกรรมดีทางกายก็ได้แก่
การช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทางใจและความเดือดร้อนทางกาย เช่น
การช่วยด้วยการให้ทรัพย์สิน ให้โอกาส ให้อภัย ให้แรงกาย ส่วนกรรมดีทางวาจาก็ได้แก่
การพูดจาไพเราะและเป็นประโยชน์ เช่น
การสอนให้ผู้อื่นมีความรู้ในการดำเนินชีวิตให้มีความปกติสุข
และการสอนให้ผู้อื่นรู้จักวิธีการดับทุกข์ของจิตใจ ฯ ส่วนกรรมดีทางจิตใจก็ได้แก่
การมีความเป็นมิตรต่อทุกคนอย่างเสมอหน้า
การมีความคิดจะช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ การมีความคิดให้อภัย
การมีความเห็นที่ถูกตามทำนองคลองธรรม
และการมีความเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
โดยกรรมดีนี้สมัยนี้นิยมเรียกว่า บุญ ที่หมายถึง สิ่งทีดีงาม วิบาก คือผลของกรรม โดยวิบากนี้ก็สรุปได้ ๒
อย่าง คือ (๑) วิบากชั่ว หรือผลชั่ว กับ (๒) วิบากดี หรือผลดี โดยวิบากชั่วก็ได้แก่ ความรู้สึกที่ไม่ดี
(หรือความทุกข์เปิดเผย) อันได้แก่ ความร้อนใจ ความคับแค้นใจ ความหนัก-เหนื่อยใจ
หรือความเครียด ความไม่สบายใจ เป็นต้น นั่นเอง
ซึ่งวิบากชั่วนี้สมัยนี้นิยมเรียกว่า "ผลบาป" ที่หมายถึง
ความทุกข์ใจ ส่วนวิบากดีก็ได้แก่ ความรู้สึกที่ดี
(หรือความทุกข์ซ่อนเร้น) ซึ่งวิบากดีนี้สมัยนี้นิยมเรียกกันว่า "ผลบุญ"
ที่หมายถึง ความสุขใจ โดยทั้งวิบากชั่วและวิบากดีนี้
ก็มีการให้ผลอยู่ ๓ ช่วงเวลา คือ ๑. ทันที
คืออาจเกิดผลขึ้นมาทันที่ที่เรากำลังกระทำกรรมใดอยู่ ๒. ต่อมา
คืออาจเกิดผลขึ้นมาเมื่อเราได้ทำกรรมใดเสร็จแล้วก็ได้ ๓. ในเวลาภายหลัง คืออาจเกิดผลขึ้นมาในอนาคต
เมื่อเราได้ระลึกถึงกรรมที่เราได้เคยกระทำไว้ในอดีตก็ได้ คำสอนเรื่องกรรมนี้
เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเป็นเรื่อง อจินไตย คือไม่ควรนำมาคิดหรือศึกษา
เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔
อีกทั้งถ้าเราไปหลงเชื่อเรื่องกรรมในระดับศีลธรรมที่ต้องไปรับผลเอาต่อเมื่อตายไปแล้วนั้น
ก็อาจจะทำให้เราเกิดความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้
แต่ถ้าเรามีความเห็นที่ถูกต้อง (คือมีสัมมาทิฏฐิ) แล้ว
เราก็จำเป็นต้องศึกษาเรื่องกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์
ที่เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงระบบการทำงานของจิตใต้สำนึกของเราว่า
"เมื่อจิตของเรามีเจตนาดี แล้วทำความดี มันก็จะทำให้เกิดความสุขใจ อิ่มใจ
แต่ถ้าเรามีเจตนาชั่ว แล้วทำความชั่ว มันก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจ"
เพื่อให้เราเกิดความกลัวต่อการทำความชั่ว แล้วอยากทำความดี ซึ่งก็จะมีผลทำให้ชีวิตของเรามีความปกติสุขทางจิตใจ
และไม่มีความเดือดร้อนทางกาย ซึ่งการเป็นคนดีนี้เองที่ทำให้จิตของเรามี ศีล หรือ
ความปรกติ อันเป็นพื้นฐานให้จิตเกิดสมาธิและปัญญา
สำหรับนำมาปฏิบัติร่วมกันเพื่อดับทุกข์ ตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ***************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๒๙. พระพุทธเจ้าสอนว่าอะไรที่ดลบันดาลให้ชีวิตของเราเป็นไป? ชาวพุทธในปัจจุบันส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด)
ถูกปลูกฝังคำสอนเรื่อง "กฎแห่งกรรม"
เอาไว้ในจิตใต้สำนึกอย่างเหนียวแน่นว่า "เมื่อเราทำกรรมใดไว้
เราจะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นอย่างแน่นอน ไม่ในชาตินี้ก็ในชาติหน้า"
ซึ่งสามัญสำนึกของมนุษย์เรานั้นย่อมโหยหา "ความยุติธรรม"
ถ้าอะไรที่ไม่ยุติธรรมก็จะไม่ยอมรับ
อย่างเช่น ถ้ามีใครมาทำร้ายเรา เราจะเกิดความรู้สึกว่า คนที่มาทำร้ายเรานั้นจะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม
(คือจนเราพอใจ) จึงจะเรียกว่า "ยุติธรรม" (คือยุติหรือจบลงอย่างชอบธรรม)
แต่ถ้าคนที่มาทำร้ายเรานั้นยังไม่ได้ถูกลงโทษอย่างสาสม (คือเรายังไม่พอใจ)
ก็เรียกว่า "ไม่ยุติธรรม" เป็นต้น โดยการลงโทษอย่างสาสมตามที่เราพอใจนั้น
มันก็เอาแน่ไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับความพอใจของเรา คือบางทีเมื่อเราไปทำร้ายเขาตอบ
จนเราพอใจแล้ว หรือเขาได้ชดใช้ทรัพย์ให้แก่เรา จนเราพอใจแล้ว หรือเมื่อเขาถูกกฎหมายลงโทษจนเราพอใจแล้ว
หรือเมื่อเราเห็นเขาพบกับความวิบัติหรือความทุกข์กายอย่างรุนแรงจนเราพอใจแล้ว
เป็นต้น เราจึงจะเกิดความรู้สึกว่า "มันความยุติธรรม" แล้ว แต่สำหรับคนอื่น
เขาอาจจะมองเรื่องของเรานี้ว่า "มันยังไม่ยุติธรรม"
(เพราะรู้สึกว่ายังรับโทษไม่มากพอ) หรือ "มันเกินความยุติธรรม"
(เพราะรู้สึกว่าได้รับโทษมากเกินไป) ก็ได้ คำถามคือ
แล้วความยุติธรรมจริงๆมันมีอยู่จริงหรือไม่? ซึ่งแน่นอนว่าความยุติธรรมมันเป็นสิ่งที่มนุษย์แต่ละคน
(หรือแต่ละสังคม) ปรุงแต่งหรือสมมติกันขึ้นมาเองตามสามัญสำนึกของจิตใจบ้าง
หรือตามความเชื่อของศาสนาบ้าง หรือตามค่านิยมของสังคมบ้าง
หรือตามเหตุผลที่คิดขึ้นมาเองบ้าง เป็นต้น
ดังนั้นมันจึงหาความยุติธรรมที่เป็นสากลหรือเป็นกลางที่ยอมรับกันได้สำหรับทุกคนไม่มี คำถามคือ แล้วเราจะหาความยุติธรรมได้จากที่ไหน? ซึ่งแน่นอนว่า
มันไม่มีความยุติธรรมที่เป็นสากลหรือเป็นกลางที่มนุษย์ทุกคนจะยอมรับได้
แต่ถ้าจะเป็นความยุติธรรมสำหรับเราแล้วก็ตอบได้ว่า "เมื่อเราพอใจเมื่อใด
จึงจะเป็นความยุติธรรมสำหรับเรา" แต่ปัญหาคือ เมื่อเรายังไม่พอใจก็แสดงว่าเรายังไม่ได้รับความยุติธรรม
ซึ่งนี่เองที่ทำให้สังคมและโลกเดือดร้อน
เพราะเมื่อการมีกระทบกระทั่งกันขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย
ก็จะทำให้เกิดการทำร้ายตอบอย่างรุนแรงมากขึ้น เพื่อเรียกร้องหาความยุติธรรม
ซึ่งฝ่ายที่ถูกทำร้ายตอบก็จะรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมสำหรับเขาอีก
ก็จะเกิดการทำร้ายกันตอบที่รุนแรงมากยิ่งเรื่อยๆ
จนกลายเป็นวิกฤติการณ์ที่ทำให้สันติภาพของโลกหายไปอย่างเช่นที่กำลังเป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน เมื่อกฎหมายที่รักษาความยุติธรรม
ไม่สามารถช่วยให้สังคมและโลกมีความสงบสุขและสันติภาพได้ ดังนั้นจึงได้เกิดศาสนาขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหานี้
ซึ่งศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อ ดังนั้นจึงต้องใช้ความเชื่อมาแก้ปัญหา
โดยการสอนให้คนที่เชื่อในศาสนายอมรับความไม่ยุติธรรมของโลก
และเมื่อผู้คนที่มีความเชื่อในคำสอนของศาสนา ยอมรับความไม่ยุติธรรมของโลกกันมากๆ
ก็จะทำให้สังคมกลับมาสงบสุขและโลกมีสันติภาพได้ โดยศาสนาของโลกก็มีอยู่ ๒ ประเภท
คือศาสนาที่เชื่อเรื่องเทพเจ้าหรือพระเจ้า (เทวนิยม)
กับ ศาสนาที่ไม่เชื่อเรื่องเทพเจ้าหรือพระเจ้า (อเทวนิยม)
ซึ่งศาสนาประเภทเทวนิยม เช่น ศาสนาคริสต์ กับ ศาสนาอิลาม เป็นต้น ก็จะสอนว่า "มนุษย์ต้องได้รับความยุติธรรมจากพระเจ้า"
คือถ้าใครทำดี
เมื่อตายไปก็จะถูกตัดสินให้ได้รับรางวัลเป็นการได้อยู่บนสวรรค์กับพระเจ้าชั่วนิรันดร
ส่วนที่ทำความชั่ว เมื่อตายไปก็จะถูกลงโทษให้ตกนรกชั่วนิรันดร" ซึ่งเมื่อเราเชื่อในพระเจ้า
เราก็จะยอมรับความไม่ยุติธรรมของโลกโดยดุษฎี แล้วใจเราก็จะคลายทุกข์และเป็นสุข
เพราะเรามีความพอใจแล้ว ซึ่งนี่เป็นกุศโลบาย
(อุบายที่ดีงาม) ที่จะช่วยให้มนุษย์มีความทุกข์ใจลดน้อยลงจากความไม่ยุติธรรมของโลกได้ ส่วนศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเทวนิยม ก็จะสอนว่า
"พระพรหมจะคลบันดาลให้มนุษย์ได้รับความยุติธรรม" เช่น ถ้าใครทำความดี
เมื่อตายไปก็จะได้รับรางวัลเป็นการอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านาน ส่วนคนที่ทำความชั่ว
เมื่อตายไปก็จะถูกลงโทษในนรกตราบนานเท่านาน เป็นต้น
ซึ่งเมื่อเราเชื่อในการมีอยู่ของพระพรหม เราก็จะยอมรับความอยุติธรรมของโลกโดยดุษฎี
แล้วใจเราก็จะคลายทุกข์และเป็นสุข เพราะเรามีความพอใจแล้ว ซึ่งนี่เป็นกุศโลบาย ที่จะช่วยให้มนุษย์มีความทุกข์ใจลดน้อยลงจากความไม่ยุติธรรมของโลกได้ ที่นี้ก็จะเกิดคำถามขึ้นว่า
แล้วพุทธศาสนาสอนเรื่องความยุติธรรมไว้ว่าอย่างไร? คำตอบคือ
พุทธศาสนาในปัจจุบันมีคำสอนอยู่ ๒ ระดับ คือศีลธรรม กับ ปรมัตถธรรม
โดยคำสอนระดับศีลธรรมของพุทธศาสนานั้น ได้มีการประยุกต์ (คือทำให้เกิดประโยชน์)
เอาคำสอนของศาสนาพราหม์เรื่อง
"การดลบันดาลจากพระพรหม" มาเป็นคำสอนในระดับศีลธรรมของพุทธศาสนา
โดยสอนว่า "กฏแห่งกรรมจะคอยควบคุมให้มนุษย์ทุกคนได้รับความยุติธรรม"
(คือเปลี่ยนจาก "พระพรหม" มาเป็น "กฎแห่งกรรม" แทน) เช่น
ถ้าใครทำความชั่ว เมื่อตายไปก็จะถูกลงโทษในนรกตราบนานเท่านาน ส่วนคนที่ทำความดี
เมื่อตายไปก็จะได้รับรางวัลเป็นการอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านาน เป็นต้น
ซึ่งเมื่อเราเชื่อในกฏแห่งกรรม เราก็จะยอมรับความไม่ยุติธรรมของโลกโดยดุษฎี
แล้วใจเราก็จะคลายทุกข์และเป็นสุข เพราะเรามีความพอใจแล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นกุศโลบาย ที่จะช่วยให้มนุษย์มีความทุกข์ใจลดน้อยลงจากความไม่ยุติธรรมของโลกได้ ส่วนคำสอนระดับปรมัตถธรรมอันเป็นคำสอนที่แท้จริงในเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้นจะสอนว่า
"กรรมคือการกระทำด้วยเจตนา" คือเมื่อเรามีเจตนาดี แล้วทำความดี
ก็จะมีผลทำให้ใจเราเป็นสุข (สุขใจ อิ่มเอมใจ) แต่ถ้าเรามีเจตนาไม่ดี (คือชั่ว)
แล้วทำความชั่ว ก็จะมีผลทำให้ใจเราเป็นทุกข์ (ไม่สบายใจ หรือร้อนใจ ฯ)
ซึ่งเมื่อเรามาตั้งใจดู (พิสูจน์) ที่จิตของเราเองจริงๆขณะที่เราได้ทำกรรมดีหรือชั่วไว้แล้ว
เราก็จะพบว่าเป็นความจริงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ แล้วก็จะทำให้เราอยากทำความดี
เพราะอยากมีความสุขใจ แต่ไม่ทำความชั่ว เพราะกลัวความทุกข์ใจ
ซึ่งคำสอนเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้นก็มีเพียงเท่านี้ ส่วนเรื่องการดลบันดาลชีวิตของเรานั้น พระพุทธเจ้าสอนว่า
ธรรมชาติจะมีกฏของมันคอยควบคุมชีวิตของมนุษย์ทุกคนอยู่
โดยกฏนั้นเรียกว่า กฏอิทัปปัจจยตา
อันเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติที่จะคอยควบคุมให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไป ซึ่งกฏนี้มีใจความโดยสรุปว่า
"ทุกสิ่งย่อมเป็นไปตามเหตุและปัจจัย" (ปัจจัยก็คือเหตุย่อยๆที่มาสนับสนุนเหตุใหญ่)
คืออธิบายได้ว่า
สิ่งใดจะเกิดมันจะต้องมีทั้งเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่ง (ร่วมกันทำ) ให้เกิดขึ้น
(สรุปคือไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นมาได้เองลอยๆโดยไม่มีเหตุปัจจัย)
ซึ่งเหตุและปัจจัยที่มาปรุงแต่งให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นมานั้น
ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆตามธรรมชาติ (หรือสภาพแวดล้อม)
ที่เราทุกคนก็รู้จักหรือพบเห็นกันได้อยู่แล้วในชีวิตจริงของเรานี่เอง อย่างเช่น
การที่ใครสักคนจะเป็นคนดีหรือคนชั่ว หรือเป็นคนฉลาดหรือโง่เขลา เป็นต้น
ก็เพราะเขาถูกสภาพแวดล้อมรอบๆตัวของเขานั่นเองมาหล่อหลอมให้เขาเป็นเช่นนั้น
เป็นต้น ซึ่งนี่คือการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ คือมีเหตุผล พิสูจน์ได้ แต่สำหรับคนที่ยังยึดติดในความเชื่อเรื่อง
"พระเจ้าดลบันดาลหรือเรื่องกรรมดลบันดาล" เขาจะไม่ยอมรับคำสอนเรื่อง
"เหตุปัจจัยดลบันดาล" ตามที่พระพุทธเจ้าสอน
เพราะความเชื่อของเขานั้นมันจะมาขัดขวางไม่ให้จิตใจของเขามองเห็นความจริง
ที่แม้มันจะเกิดอยู่กับชีวิตของเขาจริงๆอยู่ตลอดเวลาก็ตาม
ซึ่งนี่ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ถูกอวิชชา (ความรู้ผิดว่ามีตนเอง) ครอบงำอยู่ ******************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๐. พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความเห็นไว้ว่าอย่างไร? ความเห็น (หรือความเข้าใจ) ก็คือ
การที่เรามีการใช้เหตุผลพิจารณา สิ่งที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ
จนรู้ถึงเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา แต่ความเห็นหรือความเข้าใจนี้
มันยังเป็นแค่เพียงการคิดคำนวณด้วยเหตุด้วยผลเท่านั้น
ซึ่งมันอาจะเป็นความเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมชาติก็ได้ หรือ
อาจจะเป็นความเห็นผิดจากความเป็นจริงตามธรรมชาติก็ได้ ตามหลักพุทธศาสนานั้นจะแยกความเห็นออกเป็น ๒
อย่าง คือ ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) กับ ความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) โดยความเห็นผิดก็สรุปอยู่ที่ความเห็นว่า
"จิตหรือวิญญาณของคนและสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายเป็นอัตตา"
(คือเป็นตัวตนอมตะ) ส่วนความเห็นถูกก็สรุปอยู่ที่ความเห็นว่า
"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา " (คือไม่มีสิ่งใดเป็นอัตตาเลย) ธรรมชาติของคนเรานั้นจะมีความรู้สึกว่ามีตนเอง
(ที่เรียกว่าอวิชชา) ครอบงำจิตอยู่เสมอๆ จึงทำให้เรา (ตามที่สมมติเรียก)
เกิดความเข้าใจผิดชนิดสูงสุด (ความโง่สูงสุด) ขึ้นมาว่า
"จิตของเรานี้เป็นอัตตา"
(คือเป็นตัวตนอมตะที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา)
ซึ่งจากความเห็นผิดชนิดสูงสุดนี้เอง
ที่ได้ทำให้เกิดความเห็นผิดย่อยๆตามมาอีกมากมาย เช่น ความเห็นผิดว่า มีชาติก่อน-ชาตินี้-
ชาติหน้า,
ความเห็นผิดว่ามีนรกใต้ดิน-สวรรค์บนฟ้า (ชนิดที่เป็นสถานที่),
ความเห็นผิดว่ามีเทวดา นางฟ้า พระอินทร์ พระพรหม ยมบาล ผี เปรต
ยักษ์ (ชนิดที่เป็นตัวตนบุคคล) เป็นต้น, ความเห็นผิดว่าเมื่อเราทำกรรมใดไว้
จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นในชาติต่อๆไป เป็นต้น ซึ่งศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู)
ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของโลกก็มีหลักคำสอนว่าจิตเป็นอัตตาเช่นนี้นั่นเอง จนเจ้าชายสิทธัตถะได้ค้นพบความจริงสูงสุดของธรรมชาติว่า
"ทุกสิ่งเป็นอนัตตา" คือทรงค้นพบว่า แม้จิต (หรือใจ)
ของคนเราและสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายก็ล้วนเป็นอนัตตาเหมือนกันหมด
(คือไม่ได้เป็นอัตตาตามที่ศาสนาพราหมณ์สอน) โดยการค้นพบของพระองค์นี้เกิดจาก
การใช้เหตุใช้ผลมาพิจารณาถึงการเกิดขึ้นและดับหายไปของขันธ์ ๕
(คือร่างกายกับจิตใจ) ของพระองค์เอง จนเกิดความเข้าใจขึ้นมาว่า
"จิตใจเกิดจากร่างกายที่ยังดีอยู่ (คือระบบประสาททั้งหมดยังดีอยู่และสมองยังมีความจำดีอยู่)
มาปรุงแต่งหรือสร้างให้เกิดขึ้นมา ดังนั้นเมื่อร่างกายหรือสมองเสียหาย
จิตใจก็ย่อมที่จะดับหายตามไปด้วยทันที" ซึ่งนี่ก็แสดงถึงความจริงว่า
จิตใจไม่ได้เป็นอัตตาตามที่ศาสนาพราหมณ์สอน (คือถ้าจิตใจเป็นอัตตา มันจะไม่ต้องอาศัยร่างกายมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น)
เมื่อพระองค์ทรงนำเอาความเข้าใจนี้มาเพ่ง
(ด้วยสมาธิ) พิจารณาทบทวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกแง่มุม
ก็ไม่พบว่ามีจุดใดที่ผิดพลาดพอที่จะหักล้างความเข้าใจนี้ได้
จึงทำให้จิตใต้สำนึกของพระองค์มันยอมรับเหตุผล แล้วจิตของพระองค์ก็คลายความยึดถือว่ามีตนเองของพระองค์ลงทันที
(คือกิเลสหรือตัณหาได้ระงับหรือดับลงไปชั่วคราว) เมื่อกิเลสทั้งหลายอันเป็นสาเหตุของความทุกข์ได้ระงับหรือดับหายไป
จิตของพระองค์จึงนิพพานสูงสุด (คือสงบเย็นสูงสุด) ทันที
และเมื่อพระองค์ทรงพิจารณาทบทวนอยู่เช่นนี้ติดต่อกันอยู่หลายวัน
อนุสัยหรือความเคยชินของกิเลส (ที่เรียกว่าสังโยชน์ ๑๐)
จึงได้เลือนหายไปจากจิตใต้สำนึกของพระองค์อย่างสิ้นเชิง
(คือจะไม่กลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้อีกต่อไป)
จึงทำให้จิตของพระองค์ทรงนิพพานอย่างสูงสุดและถาวร จึงทำให้พระองค์ทรงตรัสรู้
(คือพูดได้ว่ารู้จริงแล้ว) เป็นพระพุทธเจ้า
(คือตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีใครสอน) ขึ้นมาในโลก
ซึ่งการค้นพบนี้เองที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าความเข้าใจ (หรือความเห็น)
ของพระองค์เรื่อง "จิตเป็นอนัตตา" นี้เป็นความเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
(ถ้าเป็นความเห็นผิด จิตใต้สำนึกจะไม่ยอมรับ
และกิเลสก็จะไม่ระงับหรือดับหายไปอย่างสนิท รวมทั้งจิตก็จะไม่นิพพานอย่างสูงสุด) สรุปได้ว่า ความเห็นผิดนั้นสรุปอยู่ที่
"ความเห็นว่าจิตเป็นอัตตา" ส่วนความเห็นถูกนั้นสรุปอยู่ที่
"ความเห็นว่าจิตเป็นอนัตตา" ซึ่งนี่คือเรื่องสำคัญที่ชาวพุทธทุกคนจะต้องศึกษาให้เกิดความเห็นถูก
(สัมมาทิฏฐิ) ขึ้นมาให้ได้
จึงจะเรียกว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง
และได้รับผลเป็นความหลุดพ้นจากความทุกข์ทางใจหรือมีความทุกข์ทางใจลดน้อยลง
แต่ถ้าชาวพุทธใดยังคงมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) อยู่
เขาก็จะยังคงเป็นแค่เพียงชาวพุทธเทียมๆเท่านั้น
และก็จะยังไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ทางใจได้อย่างที่ควรจะเป็น ********************* หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๑. ความเห็นเรื่อง "โลกหน้ามีจริง" เป็นความเห็นถูกต้องหรือไม่? เดิมทีนั้น
"พระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจ (คือความเศร้าโศกเสียใจฯ)
ในปัจจุบันเท่านั้น" เพราะเป็นเรื่องสำคัญหรือเร่งด่วนที่สุด
โดยหัวใจของคำสอนเรื่องการดับทุกข์ (หรืออริยสัจ ๔) จะอยู่ที่คำสอนว่า
"ทุกสิ่งเป็นอนัตตา" แต่ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่นาน
(ประมาณ ๘๐๐ ปี) ชาวพุทธรุ่นหลังได้มีการประยุกต์
(คือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์) เอาคำสอนของศาสนาพราหมณ์เรื่อง
"การมีตัวตนอมตะ (อัตตา)
ที่สามารถออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อไปเกิดยังร่างกายใหม่ๆได้"
เข้ามาผสมเป็นคำสอนในพุทธศาสนา
เพราะเห็นว่าเป็นคำสอนที่คนทั่วๆไปในยุคนั้นยอมรับนับถือกันอยู่ จึงทำให้พุทธศาสนาผสมนี้เจริญรุ่งเรื่องขึ้น
และได้รับการเผยแพร่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน จากเหตุนี้เองจึงทำให้ความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ของพุทธศาสนาในปัจจุบัน มี ๒ ระดับ คือ สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ กับ สัมมาทิฏฐิระดับโลกุตระ โดยสัมมาทิฏฐิระดับโลกียะนั้น
เป็นความเห็นถูกตามที่ชาวโลกส่วนใหญ่เขาเห็นว่าถูก ซึ่งก็ได้แก่ความเห็นว่า
"จิตของคนเรานี้ (รวมทั้งสัตว์ทั้งหลาย) เป็นอัตตาหรือตัวตนอมตะ
ที่สามารถออกจากร่างกายที่ตายไปแล้วเพื่อเกิดใหม่ได้
ภายหลังที่ร่างกายได้ตายไปแล้ว" ซึ่งสัมมาทิฏฐิระดับโลกียะนี้สรุปอยู่ที่
ความเห็นว่า "การให้ทานมีผล, ยัญที่บูชามีผล, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, มารดามี,
บิดามี, สัตว์โอปปาติกะ
(คือเกิดผุดขึ้นมาทันที) มี, ผู้ปฏิบัติธรรมสําเร็จบริบูรณ์ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นมี"
ซึ่งนี่ก็คือคำสอนระดับศีลธรรมที่มีอยู่ในพุทธศาสนาในปัจจุบันนั่นเอง ส่วนสัมมาทิฏฐิระดับโลกุตระ
(คือเหนือโลก) นั้น เป็นความเห็นของพระอริยะบุคคลทั้งหลาย
อันเป็นความเห็นที่เหนือสติปัญญาของชาวโลกทั้งหลาย (คือเหนือสัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ)
โดยสัมมาทิฏฐิระดับโลกุตระนั้นสรุปอยู่ที่ความเห็นว่า
"สิ่งทั้งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่งความเห็นถูกระดับโลกุตระนี้
ก็คือเป็นหัวใจของปัญญา สำหรับนำมาปฏิบัติร่วมกับสมาธิโดยมีศีลเป็นพื้นฐาน
ในการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ ตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ตามที่พระพุทธเจ้าสอน สรุปได้ว่าชาวพุทธจะต้องแยกให้ออกว่า ความเห็น
(หรือความเข้าใจ) ของพุทธศาสนาในปัจจุบันนั้นแยกได้ ๒ อย่าง คือ ความเห็นอย่างโลกๆ
(สัมมาทิฏฐิระดับโลกียะ)
ตามที่คนทั่วไปที่ยังไม่มีสติปัญญาเพียงพอเขามีกันอยู่ กับ ความเห็นถูกของพระอริยบุคคลทั้งหลาย
เพื่อที่เราจะได้ไม่เข้าใจสับสนว่า ทำไมคำสอนของพุทธศาสนาในปัจจุบัน
จึงมีคำสอนที่ขัดแย้งกัน คือมีทั้งคำสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
และคำสอนว่าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ********************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๒. คำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้าสรุปได้ว่าอย่างไร? ครั้งหนึ่งได้มีผู้ไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
"คำสอนทั้งหมดของพระองค์สรุปให้เหลือสั้นที่สุดได้ว่าอย่างไร?"
พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า
คำสอนทั้งหมดของพระองค์สรุปอยู่ในประโยคที่ว่า
"สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา-ของเรา"
ซึ่งนี่ก็คือการสรุปหลักการปฏิบัติอริยสัจ ๔
ที่เป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์เอาไว้ให้เหลือสั้นที่สุดนั่นเอง โดยคำว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง"
นั้นก็หมายถึง ทุกสิ่งไม่เว้นสิ่งใด
ซึ่งแม้แต่ร่างกายและจิตใจที่เราสมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา-ของเรานี้ด้วย ส่วนคำว่า "ยึดมั่นถือมั่น"
ก็มาจากภาษาบาลีว่า อุปาทาน ที่หมายถึง
การที่จิตของเราไปแบกหรือไปหามเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอาไว้ด้วยความรักหรือความพอใจ
(คือด้วยกิเลสหรือตัณหา) โดยสิ่งที่จิตไปยึดเอาไว้นั้นก็สรุปได้ ๔ อย่างคือ ๑. ยึดถือว่าจิตใจนี้คือ "ตัวเรา"
โดยมีร่างกายและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกายทั้งหลายว่าเป็น "ของเรา" ๒. ยึดถือว่ากามารมณ์ (สิ่งที่น่ารักน่าใคร่)
ที่เกี่ยวข้องกับตัวเรานั้นว่าเป็นของเรา ๓. ยึดถือว่าความเห็น (หรือความเข้าใจ)
ที่เรามีอยู่นั้นว่าเป็นของเรา ๔.
ยึดถือหลักปฏิบัติต่างๆที่เราปฏิบัติอยู่นั้นว่าเป็นของเรา คำถามคือ
ทำไมสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจึงยึดถือว่าเป็นตัวเรา-ของเราไม่ได้" ซึ่งคำตอบก็คือ
เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาตินี้มัน "ไม่เที่ยง"
คือไม่มีสิ่งใดที่จะดำรง (หรือตั้งอยู่) อยู่ในสภาพหรือลักษณะที่จะเป็นไปตามที่เรา
"อยาก" จะให้เป็นได้ตลอดไป ดังนั้นถ้าจิตไปยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงไว้ด้วยความรักหรือความพอใจ
เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสภาวะหรือลักษณะที่ไม่น่าพึงพอใจ
(เช่น ร่างกายแก่ เจ็บ ตาย หรือคนที่รักหริอสิ่งที่รักได้จากไป
เป็นต้น) จิตที่ยึดถือนี้ก็จะเกิดความ "ไม่อยาก"
จะให้เป็นเช่นนั้นขึ้นมาอย่างรุนแรง
และเมื่อจิตไม่สามารถหนีหรือทำลายสภาพที่ไม่น่าพึงพอใจนั้นให้ห่างไกลหรือหมดสิ้นไปจากจิตได้
จึงทำให้จิตเกิดความเศร้าโศก (หรือความเสียใจอย่างมาก) ความหนัก-เหนื่อยใจ
(ความเครียด), ความเร่าร้อนใจ (ความรู้สึกทรมานใจ),
ความไม่สบายใจ (คือไม่สงบ ไม่ปรกติ ไม่เบาสบายฯ) เป็นต้น
ขึ้นมาทันที ซึ่งความรู้สึกนี้ก็คืออาการที่เรียกว่า "ความทุกข์"
ตามหลักอริยสัจ ๔ ข้อแรกที่ว่า "อุปาทาน (ความยึดมั่น) ในขันธ์ทั้ง ๕
นั้นคือความทุกข์" ที่นี้ถ้าจะถามว่า
ทำไมสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันจึงไม่เที่ยง? ซึ่งคำตอบก็คือ
เพราะมันเป็น "อนัตตา"
คือมันไม่ได้เป็นอัตตาหรือตัวตนที่แท้จริงเฉพาะของมัน
ที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นใดมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ดังนั้นการขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น
เมื่อสิ่งอื่นที่อาศัยอยู่นั้นมันเปลี่ยนแปลงไป
จึงทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากสิ่งอื่นนั้นพลอยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยทันที และถ้าจะถามต่อไปอีกว่า เมื่อขันธ์ ๕
(คือร่างกายกับจิตใจ) ไม่ใช่อัตตาแล้วมันเป็นอะไร? ซึ่งคำตอบก็คือ
มันเป็น "สิ่งปรุงแต่ง"
คือเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นๆมาร่วมกันทำให้เกิดขึ้น
และเมื่อมันถูกปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันจึงต้องตกอยู่ภายใต้ความเป็นอนิจจัง
(ไม่เที่ยง ), ทุกขัง (มีภาวะที่ต้องทน), และอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) ตามที่เรียกว่า กฎไตรลักษณ์ สรุปได้ว่า
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน
(ไม่ได้สอนเรื่องการดับทุกข์ทางกาย) โดยสอนว่า
"อย่าไปรักหรือพอใจกับสิ่งใดๆ" เพราะความรักหรือความพอใจนั้น
มันจะทำให้จิตของเราเกิด "ความยึดติด" หรือ "ความยึดถือ"
กับสิ่งนั้นๆว่าเป็น "ตัวเรา-ของเรา" และเมื่อสิ่งที่จิตไปยึดถือเอาไว้นั้น
มันเปลี่ยนแปลงไปหรือดับหายไป ก็จะทำให้จิตโง่ที่ไปยึดถือนั้นเกิดความเศร้าโศก
หรือความทุกข์ใจอย่างรุนแรงขึ้นมาทันที
แต่ถ้าจิตฉลาดเพราะมีปัญญาที่เข้าใจและเห็นแจ้งแล้วว่า
"ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวเรา-ของเราจริงๆ" แล้วจิตก็ไม่ไปยึดถือเอาสิ่งใดๆว่าเป็นตัวเรา-ของเรา"
ซึ่งเมื่อจิตไม่มีความยึดถือ
แม้จิตจะต้องประสบกับสภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจใดๆอยู่ก็ตาม จิตก็จะไม่เกิดความทุกข์
(ไม่เศร้าโศกฯ) เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะสงบเย็น (นิพพาน) ทันที
(แม้เพียงชั่วคราว) *********************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๓. ตายแล้วไปไหน? คนที่เริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนาส่วนมากชอบถามว่า
ตายแล้วไปไหน? เกิดหรือไม่เกิด? นรก
สวรรค์ เทวดา นางฟ้า เป็นต้น ตามที่พุทธศาสนาสอนนั้น มีอยู่จริงหรือไม่? ซึ่งคำถามอย่างนี้ ตามหลักพุทธศาสนาจัดว่าเป็นเรื่องที่ผู้เริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนาไม่ควรสนใจ
(เรื่องอจินไตย)
เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคำสอนเรื่องการดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ตามหลักอริยสัจ
๔ เลย คือเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องของชาวโลกที่ยังติดอยู่ในความเชื่อว่ามีอัตตาหรือตัวตนอมตะเวียนว่ายตายเกิด
เพื่อรับผลกรรมที่ได้ทำไว้ในชาติก่อน
ตามคำสอนระดับศีลธรรมที่มีอยู่ในพุทธศาสนาปัจจุบัน ที่เขาเอาไว้าสอนเด็กหรือชาวบ้านที่ยังไม่มีสติปัญญาเพียงพอที่จะเรียนรู้คำสอนที่ลึกซึ้งเรื่องความเป็นอนัตตา
(ไม่ใช่อัตตา) ได้ ดังนั้นชาวพุทธจึงควรเข้าใจและอย่าเอามาปะปนกัน
ไม่อย่างนั้นก็จะศึกษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจ แต่ถ้าจะถามว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าตายแล้วไปไหน? พระองค์จะไม่ทรงตอบ (คือถ้าตอบไปแล้วคนที่เชื่อก็ไม่เกิดปัญญา
ส่วนคนที่ไม่เชื่อก็ไม่เกิดปัญญาเหมือนกัน
เพราะคนถามไม่มีความไม่เข้าใจและเห็นแจ้งจากการได้รับคำตอบนั้น) แต่พระองค์จะทรงสอนให้เรารู้จักคิดพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลตามความเป็นจริงว่า
ชีวิตของเรานี้ประกอบด้วยส่วน ๕ ส่วน ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป, วิญญาณ, สัญญา, เวทนา, สังขาร โดย รูป คือร่างกายที่ยังดีอยู่จะมี อายตนะ
(สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ) ภายใน ๖ จุด คือ ตา, หู,
จมูก, ลิ้น, กาย,
ใจ ที่เอาไว้เชื่อมต่อกับ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย ), ธรรมารมณ์ (สิ่งสัมผัสใจ) เมื่อใดที่ อายตนะภายใน กระทบกับ อายตนะภายนอก
ก็จะทำให้เกิดวิญญาณ (การรับรู้) ขึ้นที่อายตนะภายในนั้นทันที เมื่อเกิดวิญญาณขึ้นมาเมื่อใด ก็จะเกิด สัญญา
(การจำสิ่งที่รับรู้นั้นได้) ขึ้นมาด้วยทันที เมื่อเกิดสัญญาขึ้นมาเมื่อใด ก็จะเกิด เวทนา
(ความรู้สึกต่อสิ่งที่ได้รับรู้และจำได้นั้น) ขึ้นมาด้วยทันที เมื่อเกิดเวทนาขึ้นมาเมื่อใด ก็จะเกิด สังขาร
(การปรุงแต่งคิดนึก) ขึ้นมาด้วยทันที ซึ่งนี่คือระบบการทำงานของขันธ์ ๕
ที่เรามาสมมติเรียกกันว่า จิต (สิ่งที่คิดนึก) หรือ ใจ (สิ่งที่รับรู้และรู้สึก)
ซึ่งจริงๆแล้วจิตหรือใจนั้น มันไม่ได้เป็นอัตตาหรือตัวตนของมันเองจริงๆเลย
เพราะแต่ละขันธ์นั้น มันต้องอาศัยขันธ์อื่นๆเพื่อมาปรุงแต่งให้เกิดขันธ์ของมันขึ้นมาด้วยเสมอ
ซึ่งแม้ร่างกายก็ยังต้องอาศัยอาหาร, น้ำ,
ความร้อน, อากาศ มาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเท่ากับว่า
เราจะหาขันธ์หรือส่วนใดของจิตใจว่าเป็นอัตตาหรือตัวตนของเราจริงๆจึงไม่มีเลย
คือเมื่อขันธ์ใดดับหายไป ก็จะทำให้ขันธ์อื่นที่อาศัยมันเกิดขึ้นมา
พลอยดับหายตามไปด้วยทันที (อย่างเช่น เมื่อร่างกายตาย
วิญญาณก็จะดับหายตามไปด้วยทันที) แล้วสิ่งที่สมมติเรียกว่าจิตใจ
ก็จะพลอยดับหายตามไปด้วยทันที
แล้วทีนี้มันจะมีอะไรที่จะไปเกิดใหม่ได้เมื่อร่างกายตายไปแล้ว? ลองคิดดู ซึ่งนี่ก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่า มันไม่ได้มีใครมาเกิด
และก็ไม่ได้มีใครตาย มีแต่ระบบการทำงานของขันธ์ ๕ (คือร่างกายกับจิตใจ)
ที่ทำงานร่มกันอยู่ จึงทำให้เกิดจิตใจขึ้นมา เมื่อระบบการทำงานของขันธ์ ๕
นี้เสียหาย จิตใจก็จะย่อมที่จะดับหายไปทันที เหมือนกับการที่เราดับเทียน
ก็จะทำให้แสงเทียนพลอยดับหายตามไปด้วยทันที ซึ่งการสอนอย่างนี้อาจจะมีคนบอกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
ดังนั้นเราจึงควรมาศึกษาเรื่องนี้กันต่อไป โดยทิฏฐิ
(ความคิดเห็น หรือ ความเข้าใจ) ที่เป็นพื้นฐานของพุทธศาสนาก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) กับ สัมมาทิฏฐิ
(ความเห็นถูก) โดยมิจฉาทิฏฐินั้นสรุปได้
๒ พวกคือ ๑. สัสสตทิฏฐิ คือ
ความเห็นผิดว่ามีอัตตาหรือตัวตนอมตะที่สืบต่อไว้ได้เรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งก็คือความเห็นหรือความเชื่อว่า ตายแล้วยังเกิดใหม่ได้อีกเรื่อยไป นั่นเอง ๒. อุจเฉททิฏฐิ คือ
ความเห็นผิดว่า ไม่มีอะไรเลย คือไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ (คือพ่อแม่ไม่มีพระคุณ) ฯ
ไม่มีดี ไม่มีชั่ว (คือใครทำอะไรไว้ก็ไม่มีผล หรือไม่มีผลบุญ-ผลบาป) โดยความเห็นทั้งสองนี้จัดว่าเป็นความเห็นที่สุดโต่งไปในทาง
"มี" กับ "ไม่มี"
ซึ่งมันเป็นความเห็นที่ผิดจากความเป็นจริงของธรรมชาติ จึงได้เรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๒ ความเห็น ส่วนความเห็นที่ถูกต้องหรือสัมมาทิฏฐิตามที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น จะอยู่ตรงกลางระหว่าง มี
กับ ไม่มี คือจะเป็นความเห็นว่า "เมื่อเหตุมี มันจึงมี แต่ถ้าเหตุไม่มี
มันจึงไม่มี" (ตามกฏอิทัปปัจจยตา) เช่น
ถ้าร่างกายมี จิตใจจึงมี แต่ถ้าร่างกายไม่มี จิตใจก็จะไม่มี เป็นต้น
ซึ่งความเห็นอย่างนี้จะไม่สุดโต่งไปในทางมีตัวตนอมตะ (คือสัสสตมิฏฐิ)
และก็ไม่สุดโต่งไปในทางไม่มีตัวตนใดๆเลย (คืออุจเฉททิฏฐิ) ส่วนเรื่องผลของกรรมหรือการกระทำนั้น
พระพุทธเจ้าสอนว่า "เมื่อมีการกระทำด้วยเจตนา (คือกรรม) เมื่อใด
ก็ย่อมจะเกิดผลเสมอ" คือเมื่อเราทำความดี (บุญ) ก็จะเกิดผลเป็นความสุขใจ อิ่มใจ (ผลบุญ)
ทันที แต่ถ้าทำความชั่ว (บาป) ก็จะเกิดผลเป็นความทุกข์ใจ ร้อนใจ (ผลบาป) ทันที
ซึ่งนี่ก็รวมทั้งเรื่องพ่อแม่นั้นมีพระคุณด้วย
ซึ่งความเห็นอย่างนี้จะไม่สุดโต่งไปในทางสัสสตทิฏฐิ
ที่บอกว่า ต้องไปรับผลเอาในชาติหน้า และก็ไม่สุดโต่งไปทางทางอุจเฉททิฏฐิ ที่บอกว่าไม่มีผลใดๆเลย สรุปได้ว่า ความเห็นหรือความเชื่อว่า
"เมื่อร่างกายตายแล้ว แต่จิตใจจะยังไปเกิดใหม่เพื่อไปรับผลกรรม" นั้น
พระพุทธเจ้าสอนว่าเป็นความเห็นผิด หรือแม้ความเห็นหรือความเชื่อว่า
"ไม่มีใครๆหรือสิ่งใดๆหรือผลของการกระทำใดๆเลย" นั้น
พระพุทธเจ้าก็สอนว่าเป็นความเห็นผิดด้วยเหมือนกัน
ส่วนความเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมชาตินั้น พระพุทธเจ้าสอนว่า
เป็นความเห็นว่า "ทุกสิ่งมันก็มีตัวตนของมันอยู่จริงเหมือนกัน แต่ว่ามันมีเพียงชั่วคราวเท่านั้น"
คือเมื่อเหตุของมันมี มันจึงมี
แต่เมื่อเหตุของมันไม่มี มันจึงไม่มี ส่วนเรื่องความตายนั้นก็สรุปได้ว่า
"ไม่มีใครตาย และไม่มีใครมาเกิด"
เพราะแม้ปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่นี้ มันก็ยังไม่ได้มีอัตตาหรือตัวตนที่แท้จริง
(คือเป็นอมตะ) ที่เป็นตัวเราจริงๆเลย **************************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๔. เกิดมาทำไม? ถ้าถามว่า เกิดมาทำไม? ผู้ที่เข้าใจถึงความเป็นอนัตตาของจิตใจแล้วก็จะตอบไม่ได้ เพราะความจริงคือ
มันไม่มีเรามาเกิด แต่เราถูกทำให้เกิด
ดังนั้นคำถามที่ว่า เกิดมาทำไม? จึงเป็นคำถามที่ผิด
ส่วนคำถามที่ถูกก็คือควรถามว่า
เกิดมาแล้วควรทำอย่างไรจึงจะได้รับสิ่งสูงสุดที่ชีวิตควรได้รับ? ซึ่งคำตอบก็คือ ทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งหน้าที่ก็คือ
สิ่งที่ทุกชีวิตต้องทำ ถ้าไม่ทำก็จะเดือดร้อน (ทางกาย) และเป็นทุกข์ (ทางจิตใจ)
โดยหน้าที่ของมนุษย์สรุปอยู่ที่ หน้าที่ทางกาย กับ หน้าที่ทางใจ โดยหน้าที่ทางกายก็คือ
การดูแลร่างกายไม่ให้ให้เกิดความเดือดร้อน
ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ทางกายนี้ก็แยกออกไปได้มากมาย อันได้แก่
การทำงานเพื่อเลี้ยงชีวิต การดูและรักษาสุขภาพของร่างกาย การดูแลบุคคลในครอบครัวให้มีความปกติสุข
การดูแลสังคมให้สงบสุข การดูแลประเทศชาติให้มั่นคง การดูแลโลกให้มีสันติภาพ
และการดูแลธรรมชาติให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ ถ้าใครปฏิบัติหน้าที่ทางกายนี้ได้ถูกต้องสมบูรณ์
เขาก็จะได้รับผลเป็นความปกติสุขของชีวิต แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางกายนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์
ก็จะเกิดผลเป็นความเดือดร้อนทางกาย อันได้แก่ ร่างกายเจ็บป่วยหรือตาย
ครอบครัวเดือดร้อน สังคมก็เดือดร้อนวุ่นวาย และแม้โลกก็จะพินาศ
ธรรมชาติก็จะเสียหาย อันจะส่งเลวร้ายผลย้อนกลับมาทำให้ตนเองเดือดร้อนไปด้วย ส่วนหน้าที่ทางใจก็คือ การดูแลจิตใจอย่าให้เกิดความทุกข์
ซึ่งการที่จะดูและจิตใจไม่ให้เกิดความทุกข์ได้นั้น ก็ต้องอาศัยศาสนามาช่วย
ซึ่งบางศาสนาก็จะสอนให้ใช้ศรัทธาหรือความเชื่อมาดูแลจิตใจ
บางศาสนาก็สอนให้ใช้ปัญญามาดูแลจิตใจ ถ้าใครปฏิบัติหน้าที่ทางจิตใจนี้ได้ถูกต้องสมบูรณ์
ก็จะได้รับผลเป็นความสุขและไม่มีทุกข์แก่จิตใจ
แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางจิตใจนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์
เขาก็จะได้รับผลเป็นความทุกข์แก่จิตใจ สรุปได้ว่า มันไม่ได้มีเรามาเกิด
แต่เราเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้สิ่งต่างๆของธรรมชาติ
แล้วก็ดับหายไป แต่ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมามันก็ย่อมมีหน้าของมันเสมอ
ดังนั้นเมื่อมีเราเกิดขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง
โดยหน้าที่ทางกายก็คือดูและรักษาร่างกายและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างให้ให้มีความปกติสุข
ส่วนหน้าที่ทางใจก็คือการดูแลจิตใจให้มีความสุขและไม่มีความทุกข์ ****************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๕. พระพุทธเจ้าสอนวิธีการอยู่เหนือความตายไว้ว่าอย่างไร? ครั้งหนึ่งมีผู้ไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
"ทำอย่างไรมัจจุราช (ความตาย) จึงจะตามหาเราไม่พบ?"
คือ ตามธรรมดาแล้วมนุษย์ทุกคนจะกลัวตาย
และก็มีผู้พยายามแสวงหาความไม่ตาย (คือเป็นอมตะ)
เขาจึงได้ไปทูลถามพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า
"ให้มองโลกโดยเห็นเป็นของว่างเปล่า ละความยึดถือในร่างกายกับจิตใจว่าเป็น
ตัวเรา-ของเรา เสีย แล้วมัจจุราชจะตามหาเราไม่พบ" ถ้าคนที่ศึกษาเรื่อง
ร่างกายและจิตใจของเราและของทุกชีวิตเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) มาจนเข้าใจแล้ว
(คือมีความเห็นถูก) ก็จะเข้าใจได้ว่า คำตอบที่พระพุทธเจ้าตอบนั้นหมายถึงอะไร? คือมันหมายถึงว่า ความตายนั้นมันเป็นธรรมชาติของร่างกาย
ที่เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายเป็นธรรมดา ไม่มีใครจะหนีพ้นได้ แต่ทีนี้จิตที่โง่ เพราะไม่รู้ความจริงว่า
ทั้งร่างกายและจิตใจที่สมมติเรียกว่าเป็น "ตัวเรา-ของเรา" นี้
มันไม่ได้เป็นอัตตาหรือตัวตนของเราจริงๆเลย
คือมันเป็นเพียงสิ่งที่ธรรมชาติปรุงแต่งขึ้นมาจาก ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น
แล้วธรรมชาติก็ได้ใส่ "ความรู้สึกว่ามีตัวเรา" เอาไว้ให้กับจิตใจ เพื่อให้จิตใจรักตัวเอง
เพื่อที่จะได้พยามเอาตัวรอด (คือหาอาหาร กินอาหาร สืบพันธ์ หนีภัย รักลูก
เลี้ยงลูก เป็นต้น) และจะได้ไม่สูญพันธ์ไปจากโลก ซึ่งวิธีการนี้
ก็ทำให้มนุษย์ไม่สูญพันธ์ไปจากโลกก็จริง
แต่มันกลับทำให้จิตใจของมนุษย์เกิดปัญหาที่ร้ายแรง คือ ทำให้จิตใจของมนุษย์เกิดความยึดถือว่ามีตัวเองอยู่จริงๆ
แล้วก็อยากมีชีวิตที่สุขสบายตลอดไปชั่วนิรันดร แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นไปอย่างที่มนุษย์อยากจะให้เป็น
เพราะไม่ช้าก็เร็ว ร่างกายก็ต้องตาย ทีนี้เมื่อร่างกายจะต้องตาย
จึงทำให้มนุษย์เกิดความกลัว (คือไม่อยาก) ที่จะต้องตายไปจากโลกที่มีความสุข
(แต่ถ้ามีความทุกข์มากมนุษย์จึงจะอยากตาย)
และเมื่อมนุษย์ไม่สามารถหนีความตายไปได้ จึงทำให้มนุษย์เกิดความเศร้าโศก
ความแห้งเหี่ยวใจ ความไม่สบายใจฯ อย่างรุนแรงขึ้นมาทันทีที่รู้ตัวว่าใกล้จะตาย หรือกำลังจะตาย
ซึ่งนี่ก็คือความทุกข์ ที่มนุษย์ธรรมดาทั้งหลายหวาดกลัวอย่างที่สุด โดยมนุษย์ธรรมดาทั้งหลาย เข้าใจผิดว่า
"ความตายคือสาเหตุของความทุกข์ (ความเศร้าโศกฯ)"
เพราะไม่มีปัญญารู้แจ้งชีวิตตามที่พระพุทธเจ้าสอน โดยพระพุทธเจ้าสอนว่า
"ความตายจะยังไม่ใช่สาเหตุของความทุกข์ จนกว่าจิตโง่มันจะไปยึดเอาความตายว่าเป็นของเรา
(คือเรากำลังจะตาย)
จึงได้ทำให้จิตโง่นั้นเป็นทุกข์ (เศร้าโศกฯ) แต่ถ้าเราได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า
จนมีปัญญาเห็นแจ้งชีวิตแล้วว่า "มันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง" (สุญญาตา- ความว่างจากอัตตาหรือตัวตนที่เป็นเรา)
บวกกับเราก็เคยฝึกจิตให้มีสมาธิมาบ้างแล้ว เมื่อร่างกายใกล้จะตาย หรือกำลังจะตาย
จิตใจก็จะไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเองกำลังจะตาย เมื่อจิตไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวเองที่กำลังจะตายหรือใกล้ตาย
"ความกลัวตาย" หรือ "ความไม่อยากตาย" ก็จะไม่มี
เมื่อจิตไม่มีกิเลสประเภท "ความไม่อยาก" มันก็จะไม่มีความทุกข์
(ไม่เศร้าโศกฯ) เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ แม้ร่างกายกำลังจะตาย หรือรู้ตัวว่าใกล้ตาย
จิตใจก็จะ นิพพาน คือ สงบเย็น ทันที (แม้เพียงชั่วคราว)
ซึ่งนี่ก็คือการเอาชนะความตาย หรือ อยู่เหนืออำนาจของมัจจุราชหรือความตาย
ตามที่พระพุทธเจ้าสอน สรุปได้ว่า การที่จะทำให้จิตใจไม่เป็นทุกข์
(ไม่เศร้าโศกฯ) เมื่อรู้ตัวว่าจะต้องตายก็คือ ให้มองชีวิตตามความเป็นจริงว่า
"มันไม่ได้มีใครตาย"
คือความจริงแล้วมันก็ไม่ได้มีตัวตนที่เป็นเราหรือเป็นตัวตนของใครๆหรือของสิ่งใดๆอยู่จริงเลย
แต่ "จิตโง่มันมีความเข้าใจผิดว่ามีตัวเองอยู่จริง" จึงทำให้เมื่อร่างกายกำลังจะตายหรือใกล้ตาย
จิตโง่นี้จึงได้เกิดความรู้สึกว่ามีตัวเองที่กำลังจะตาย
แล้วก็ทำให้จิตโง่นี้เกิดความทุกข์ (ความเศร้าโศกฯ) ขึ้นมาอย่างรุนแรง
แต่ถ้าจิตนี้มีปัญญาที่เข้าใจและเห็นแจ้งชีวิตตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "มันไม่มีตัวเราอยู่จริง" บวกกับจิตก็มีสมาธิอยู่ด้วย
ก็จะทำให้จิตที่มีปัญญานี้ไม่เกิดความทุกข์ขึ้นมาในขณะที่กำลังจะตาย
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะ นิพพาน คือ สงบเย็นทันที (แม้เพียงชั่วคราว) ********************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๖.วิธีการปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนาในชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร? คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ แปลว่า หน้าที่
คือหมายถึง หน้าที่ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามที่ธรรมชาติกำหนดไว้
โดยสรุปหน้าที่ของมนุษย์ก็คือ การดูและรักษาชีวิตคือร่างกายไม่ให้มีความเดือดร้อน
(ความทุกข์กาย) และ ดูแลจิตใจไม่ให้มีความทุกข์ (ความทุกข์ใจ) โดยการปฏิบัติหน้าที่ทางกายก็สรุปอยู่ที่
การทำหน้าที่การงานที่สุจริต (คือมีศีล) อย่างขยันอดทน เพื่อแสวงหาปัจจัย ๔
มาบริหารชีวิต และ ยังต้องละเว้นอบายมุข สิ่งเสพติด และสิ่งฟุ่มเฟือยทั้งหลาย
รวมทั้งยังต้องช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความเดือดร้อนทางกาย และ
หลุดพ้นจากความทุกข์ทางใจ
(คือมีศีลธรรม) อีกด้วย เพื่อให้สังคมมีความสงบสุขที่มั่นคง ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ทางจิตใจก็คือ
ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติหน้าที่ทางกายอยู่นั้น ก็ต้องมีสติระวังอย่าให้กิเลส
(ความยินดี-ยินร้าย-ลังเลใจ) เกิดขึ้นมาครอบงำจิตอยู่ตลอดเวลา และในขณะที่ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ได้สัมผัสกับโลก (คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งสัมผัสกาย, สิ่งสัมผัสใจ)
ก็ให้ระลึกถึงความเป็นอนัตตา (ความไม่ใช่อัตตาหรือตัวตนที่แท้จริง), อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) และ ภาวะของทุกขัง (คือมีความยากลำบากที่ต้องทนอยู่ตลอดเวลา)
ของสิ่งเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผลจากการปฏิบัตินี้
ก็จะทำให้จิตใจของผู้ที่ปฏิบัติไม่มีความทุกข์ใจ (ไม่เศร้าโศกฯ) แต่จะมี นิพพาน
คือ ความสงบเย็น อยู่ตลอดเวลา สรุปได้ว่าการปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนานั้นก็คือ
การดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายด้วยสติปัญญา คือไม่กินเกิน ใช้เกิน
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และแสวงหาปัจจัย ๔ มาบริหารร่างกายไม่ให้เดือดร้อน
รวมทั้งช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความไม่เห็นแก่ตัว
ส่วนจิตใจก็ให้มีสติมองเห็นความจริงของโลกว่า มันเป็นอนัตตา, อนิจจัง, และทุกขังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ก็จะทำให้ชีวิตของผู้ปฏิบัติได้รับสิ่งสูงสุดที่คู่ควรกับชีวิต
อันได้แก่ ความปกติสุขทางกาย และ นิพพาน หรือ
ความสงบเย็นของจิตใจที่ไม่มีความทุกข์
โดยที่ไม่จำเป็นต้องบวชเหมือนภิกษุหรือนักบวชใดๆ หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๗. คำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถช่วยโลกให้มีสันติภาพได้หรือไม่? คำสอนสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนก็คือ
คำสอนเรื่อง "สุญญตา"
คือความว่างจากความเป็นอัตตา (อัตตา หมายถึง ตัวตนที่แท้จริงที่เป็นอมตะ)
โดยพระพุทธเจ้าจะสอนให้เราพิจารณาทุกสิ่งให้เห็น (เข้าใจ) ถึงความเป็น สุญญตา คือว่างเปล่าจากความเป็นสิ่งนั้นจริงๆ
โดยสิ่งที่พระพุทธเจ้าเน้นสอนให้เรานำมาพิจารณาถึงความเป็นสุญญตาก็คือ "ชีวิต" หรือ
"ร่างกายและจิตใจของเรา" ความเข้าใจเรื่อง ร่างกายและจิตใจของเราเป็นสุญญตา นี้เอง ที่จะทำให้จิตใจที่สมมติเรียกว่าเป็น
"ตัวเรา" นี้ เกิดควาเห็น (หรือความเข้าใจ)
ที่ถูกต้อง ว่า "มันไม่มีตัวเราจริงอยู่ในกายนี้"
ซึ่งความเข้าใจนี้ก็จะทำให้ความเห็นแก่ตัวลดน้อยลง และเมื่อความเห็นแก่ตัวลดน้อยลง
เราก็จะเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น รวมทั้งกิเลส (ความอยากได้-ไม่อยากได้-ลังเลใจ)
ก็จะลดน้อยลงตามด้วย การที่โลกมีแต่วิกฤตการณ์ในด้านต่างๆมากมายทั่วโลกนั้น
ก็มีต้นเหตุมาจาก มนุษย์เกือบจะทั้งหมด มีความเข้าใจผิด (ความเห็นผิด) ว่า
"ร่างกายกับจิตใจ" นี้คือ "ตนเอง" และ
มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกายทั้งหลาย ว่าเป็น "ของตน"
(แต่คนที่โง่น้อยหน่อยก็จะเข้าใจว่า "จิตใจ" เป็น ตนเอง ส่วน "ร่างกายและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย"
เป็น ของตน) ความเข้าใจผิดว่ามี "ตนเอง" นี้เอง
ที่เป็นต้นเหตุทำให้มนุษย์นี้เกิดความ "เห็นแก่ตัว"
และเมื่อมีความเห็นแก่ตัว จึงทำให้มนุษย์เกิดกิเลส คือความอยากได้วัตถุนิยม
(คือวัตถุสิ่งของ, เพศตรงข้าม, เกียรติยศชื่อเสียง) ของผู้อื่นให้มาเป็นของตน
ให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เมื่อทำไม่ได้
หรือถูกแย่งชิงวัตถุนิยมไป ก็จะเกิดความ โกรธ หรือ ความไม่พอใจ
และอยากทำร้ายผู้ที่มาขัดขวางไม่ให้ได้วัตถุนิยม
หรืออยากทำร้ายผู้ที่มาแย่งชิงวัตถุนิยมไปจากตนเอง นี่เองที่เป็นเหตุทำให้โลกมีแต่วิกฤตการณ์มากมาย
เช่น สงครามแย่งชิงทรัพยากร หรือสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์
เกิดขึ้น รวมทั้งยังทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆมากมายขึ้นมาอีกด้วย เช่น
ฝนแล้ง น้ำท่วม โลกร้อน ไฟป่า อากาศเป็นพิษ โรคระบาดร้ายแรง เป็นต้น
อย่างเช่นที่กำลังเกิดอยู่ในโลกปัจจุบัน แต่ถ้ามนุษย์ส่วนใหญ่ของโลก
จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า "มันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริง" มีแต่
"ตัวเราชั่วคราว" เท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เขามีความเห็นแก่ตัวลดน้อยลง
และมีความเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น เมื่อมีความเห็นแก่ตัวลดน้อยลง ก็จะทำให้กิเลส คือ
"ความอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
และความโกรธหรือความอยากทำร้ายผู้อื่น" ลดน้อยลงตามไปด้วย แล้วการรักกัน
ให้อภัยกัน ช่วยเหลือกัน เป็นมิตรที่ดีต่อกัน ก็จะเกิดขึ้น อันจะส่งผลให้
"สันติภาพ" กลับคืนมาสู่โลกได้ หลังจากที่ได้สูญเสียมันไป ***************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๘. สรุปหลักพุทธศาสนาได้ว่าอย่างไร? คำว่า "ศาสนา"
ตามความหมายของศาสนาที่ยอมรับนับถือ "สิ่งเหนือธรรมชาติ"
(คือพระเจ้าหรือเทพเจ้า) เป็น "สิ่งสูงสุด"นั้น หมายถึง ความผูกพันกับ
"สิ่งสูงสุด" (คือพระเจ้า) คือเป็นความศรัทธา (ความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่)
ต่อสิ่งสูงสุด เมื่อศรัทธาแล้วก็เกรงกลัว เคารพ เทิดทูล บูชา และเชื่อฟัง
รวมทั้งปฏิบัติตามที่สิ่งสูงสุดสั่งสอนไว้ โดยมีศาสดา (ผู้สอน)
เป็นผู้นำคำสอนจากสิ่งสูงสุดมาเผยแพร่
ซึ่งผลจากการปฏิบัติตามคำสอนจากสิ่งสูงสุดก็คือ ทำให้ชีวิตมีความสงบสุข
และมีความทุกข์ใจน้อยลง ซึ่งศาสนาประเภทนี้เป็นศาสนาที่สอนให้พึ่งสิ่งภายนอก แต่คำว่า "ศาสนา"
ตามความหมายของศาสนาที่นับถือ "ธรรมชาติ" (คือกฏของธรรมชาติ)
เป็น "สิ่งสูงสุด" นั้น หมายถึง คำสอนเพื่อให้ปฏิบัติตาม
ซึ่งศาสนาประเภทนี้จะสอนให้ผู้นับถือเกิด "ปัญญา" ที่เป็น ความเข้าใจ, และความเห็นแจ้ง ต่อธรรมชาติหรือสิ่งที่สัมผัสได้ตาม
"ความเป็นจริง" ซึ่งเมื่อมีปัญญาแล้วก็จะเข้าใจได้เองว่า
"ควรปฏิบัติอย่างไรชีวิตจึงจะมีความสงบสุขและมีความทุกข์ใจลดน้อยลง"
ซึ่งศาสนาประเภทนี้เป็นศาสนาที่สอนให้พึ่งตนเอง พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้พึ่งตัวเอง
โดยพุทธศาสนาจะสอนให้เกิดปัญญาก่อน เมื่อมีปัญญาแล้วก็เหมือนมีดวงตาที่ดี
ที่สามารถช่วยให้ผู้นับถือเดินทางไปสู่จุดหมายได้อย่างราบเริ่ม และได้รับ
"สิ่งสูงสุดที่คู่ควรกับชีวิต"
(คือความสงบสุขของชีวิตและความไม่มีทุกข์ของจิตใจ) โดยมีพระพุทธเจ้า
(ผู้ตื่นรู้ด้วยตนเอง) เป็นศาสดา (ผู้สอน) ที่ค้นพบความจริงของธรรมชาติ และนำ
"หลักการปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ
ที่จะทำให้ชีวิตมีความสงบสุขและจิตใจไม่มีความทุกข์" (ที่เรียกว่าพระธรรม)
มาสอนแก่สาวก (ผู้นับถือ) โดยหลักพื้นฐานในการศึกษาและปฏิบัติของพุทธศาสนานั้น
ก็สรุปได้ดังนี้ ๑. มุ่งตรงสู่การดับทุกข์
(ความทุกข์นี้ก็คือความทุกข์ใจ หรือความเศร้าโศก ความไม่สบายใจ) ๒. พึ่งตัวเอง คือ ต้องศึกษา (คือฟัง-อ่าน, คิด, พิสูจน์) ด้วยตนเองเท่านั้น
(คือไม่ให้ไปพึ่งให้ใครหรือสิ่งใดที่เชื่อว่าจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้มาช่วย) ๓.
ไม่เชื่อคำสอนจากตำราหรือจากใครๆล่วงหน้าว่า "เป็นความจริง"
(คือดับทุกข์ได้จริง) ๔. ศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง คือจากสิ่ง
(หรือธรรมชาติ) ที่เราทุกคนสามารถรับรู้หรือสัมผัสได้จริงในชีวิตปัจจุบัน ๕. ศึกษาตามเหตุตามผล ตามความเป็นจริง
(คือจากสิ่งที่เราทุกคนสามารถสัมผัสได้จริง) ๖. ศึกษาอย่างเป็นระบบ
(คือศึกษาจากพื้นฐานไปสู่ยอด
อย่างเป็นเหตุเป็นผลที่แตกกิ่งก้านสาขาต่อเนื่องกันไปจนครบถ้วน) ๗. ต้องมีการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่า
"คำสอนนั้นเป็นความจริง"
อย่างแน่ชัดก่อนยอมรับเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป หลักพื้นฐานในการศึกษาพุทธศาสนานี้
ก็ตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นหลักในการค้นหาความจริงของธรรมชาติ
ที่ได้ผลแน่นอนที่สุด ซึ่งก็ทำให้สรุปได้ว่า พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
คือเป็นวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ ที่ค้นหาวิธีการทำให้จิตใจไม่มีความทุกข์
(หรือมีความทุกข์ใจน้อยที่สุด) โดยมีพระพุทธเจ้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์
ที่ทรงใช้หลักวิทยาศาสตร์ มาค้นหาวิธีการทำให้จิตใจของพระองค์หลุดพ้นจากความทุกข์
และได้ทรงนำความรู้ที่ทรงค้นพบนั้นมาสอนแก่ผู้ที่สนใจจะศึกษาหาความจริงของชีวิต
รวมทั้งผู้ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากความทุกข์ใจ ที่เป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุดของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย สรุป พุทธศาสนา
เป็นศาสนาที่สอนให้ใช้ปัญญาเป็นตัวนำในการปฏิบัติ
เพื่อให้ชีวิตมีความสงบสุขและจิตใจไม่มีความทุกข์
โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำคำสอนที่เป็นวิทยาศาสตร์มาเผยแพร่
โดยหลักการศึกษาและปฏิบัติของพุทธศาสนาก็สรุปอยู่ที่ มุ่งตรงสู่การดับทุกข์
โดยไม่ใช้ความเชื่อ แต่ใช้เหตุผลและความจริงมาศึกษาอย่างเป็นระบบ
และยังต้องมีการพิสูจน์เพื่อยืนยันว่าเป็นความจริง รวมทั้งยังต้องพึ่งตัวเองทั้งในการศึกษาและปฏิบัติอีกด้วย
***************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๓๙. อะไรคืออะไร? เมื่อมนุษย์เกิดมา ย่อมไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า
ชีวิตคืออะไร? เกิดมาทำไม?,
เกิดมาได้อย่างไร?, ใครหรืออะไรสร้างชีวิตขึ้นมา?,
ใครหรืออะไรที่ดลบันดาลให้ชีวิตเป็นไป?, ตายแล้วไปไหนหรือเป็นอย่างไร?,
อะไรคือสิ่งสูงสุดที่ชีวิตควรได้รับ?, และจะได้รับสิ่งสูงสุดนั้นได้โดยวิธีใด? เป็นต้น
คือเหมือนกับว่าเราทุกคนเกิดมาแต่ไม่มีดวงตาที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้
(คือไม่มีปัญญาที่รู้แจ้งชีวิตตามความเป็นจริง)
ดังนั้นเราทุกคนจึงดำเนินชีวิตไปตามสัญชาตญาณ
(คือความรู้ที่เกิดมาพร้อมกับชีวิตโดยไม่มีใครสอน) ที่ติดตัวมา โดยสัญชาตญาณของชีวิตก็คือ
"ความรู้สึกตัวว่ามีตัวเรา" ซึ่งเมื่อมีความรู้สึกตัวว่ามีตัวเรา
จึงทำให้ตัวเรานี้เกิดความอยากมีชีวิตอยู่, แล้วก็ได้อยากได้ความรู้สึกที่ทนได้ง่าย
(สุขเวทนา-ความรู้สึกสุข), แต่ไม่อยากได้ความรู้สึกที่ทนได้ยาก
(ทุกขเวทนา-ความรู้สึกทุกข์) ธรรมชาติของโลกย่อมมีทั้ง (๑)
"ภาวะที่น่าพึงพอใจ" (คือสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ทนได้ง่าย หรือ
สุขเวทนา) และ (๒) "ภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจ"
(คือสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ทนได้ยาก หรือ ทุกขเวทนา) รวมทั้ง (๓)
"ภาวะที่กลางๆ" (คือสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกจืดๆ หรือ
คือไม่สุขไม่ทุกข์ หรือ อทุกขมสุขเวทนา) ตามธรรมดาแล้ว เมื่อ ตา, หู, จมูก, ลิ้่น,
กาย, ใจ ของเรา ได้สัมผัสกับ
""ภาวะที่น่าพึงพอใจ" (คือสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขทั้งหลาย)
ใดๆก็ตาม จิตของเราก็จะเกิดความรัก, ชอบ, พอใจ, หรืออยากได้ฯ ภาวะที่น่าพึงพอใจนั้นขึ้นมาทันทีตามสัญชาตญาณ
และเมื่อจิตเกิดความ "พึงพอใจ" ต่อสิ่งใดมากๆ จิตของเราก็จะผูกพันกับสิ่งนั้น
(คือยึดครองว่าเป็นของเรา) ซึ่งนี่ก็ทำให้จิตเราเกิดความรู้สึกดิ้นรน, ฟุ้งซ่าน, กระวนกระวาย, หนัก-เหนื่อย,
ไม่สงบ, ไม่เยือกเย็น, ไม่ปรกติ,
ไม่เบาสบายฯ หรือ ไม่สงบเย็น (คือไม่นิพพาน) ทันที แต่เมื่อใดที่ ตา, หู, จมูก, ลิ้่น,
กาย, ใจ ของเรา ได้สัมผัสกับ
"ภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจ" (คือ ความแก่, เจ็บ,
ตาย, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก, ความผิดหวัง) ใดๆก็ตาม
จิตของเราก็จะเกิดความโกรธ, เกลียด, กลัว,
เบื่อ, หรือไม่อยากได้ฯ
ต่อภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจนั้นขึ้นมาทันทีตามสัญชาตญาณ และเมื่อจิตเกิด
"ความไม่พึงพอใจ" ต่อสิ่งใด ซึ่งนี่ก็จะทำให้จิตของเราเกิด
ความรู้สึกทรมานอย่างมากหรือรุนแรงมาก (คือความรู้สึกที่ทนได้ยากมาก) ขึ้นมาทันที
ซึ่งนี่ก็คือ "ความทุกข์" (คือความเศร้าโศกหรือความเสียใจ, ความไม่สบายใจ เป็นต้น) อันเป็น
"สิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุด" ของมนุษย์ธรรมดาทุกคน ส่วนกรณีที่ ตา, หู,
จมูก, ลิ้่น,
กาย, ใจ ของเรา ได้สัมผัสกับ
""ภาวะที่กลางๆ" ใดๆก็ตาม จิตของเราก็จะเกิดความ
"อยากมีชีวิตอยู่" อย่างนี้ต่อไป (คือยังไม่อยากหลุดพ้นไปจากภาวะที่เป็นกลางนี้)
ทันทีตามสัญชาตญาณ และเมื่อจิตเกิดความอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
จิตก็จะเกิดความรู้สึกหนัก-เหนื่อยใจ (ไม่เบาสบาย), ไม่สงบ,
ไม่เยือกเย็น, ไม่ปรกติ ฯ หรือ ไม่สงบเย็น
(ไม่นิพพาน) ทันที พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาและเฉลียวฉลาดที่สุดในหมู่มนุษย์
คือทรงเป็นผู้ที่รู้แจ้งชีวิตและโลก (ที่ควรรู้) ตามความเป็นจริง
ซึ่งพระองค์ได้ทรงสอนว่า
เราไม่จำเป็นต้องไปรู้เรื่องอะไรทั้งหมดของชีวิตและโลกก็ได้ แค่เราเพียงรู้ว่า
"อะไรคือสิ่งสูงสุดที่คู่ควรกับชีวิตของเรา และเราจะได้สิ่งนั้นมาด้วยวิธใด?"
เท่านี้ก็พอแล้ว
เพราะมันไม่มีอะไรที่จะมีประโยชน์หรือคุณค่าต่อชีวิตของเรามากไปกว่านี้อีกแล้ว โดย
"สิ่งสูงสุดที่คู่ควรกับชีวิตของเรา" นั้นก็คือ ความหลุดพ้นจาก
"สิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุดของชีวิต"
ซึ่งสิ่งที่น่าหวาดกลัวอย่างที่สุดของชีวิตนั้นก็ได้แก่ "ความทุกข์"
(คือ "ความทุกข์ใจ" ที่เกิดจาก "ความความไม่พึงพอใจ" ต่อ
"ภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจ" ที่กำลังเกิดขึ้นกับชีวิตของเราอยู่)
และเมื่อใดที่จิตของเราไม่มีความทุกข์ มันก็จะ "นิพพาน" หรือ
สงบเย็นทันที (แม้เพียงชั่วคราว) สรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า สิ่งสูงสุดที่คู่ควรกับชีวิตของเรานั้นก็คือ
"นิพพาน" คือความสงบเย็นของจิตใจในชีวิตปัจจุบัน
ซึ่งการที่จิตของเราจะนิพพานได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า
"ให้ใช้ปัญญากับสมาธิมาทำงานร่วมกันโดยมีศีลเป็นพื้นฐาน"
ตามหลักอริยมรรคของอริยสัจ ๔ ที่พระองค์ทรงสอนไว้ โดยสิ่งสำคัญในการปฏิบัตินี้ก็คือ
"ปัญญา" ที่เป็นความเข้าใจและเห็นแจ้งชีวิตและโลกตามความเป็นจริงว่ามันเป็น
"อนัตตา"
คือไม่ได้เป็นอัตตาหรือตัวตนอมตะที่จะมาเป็นตัวเราหรือของเราหรือของใครๆได้จริงๆเลย
และเมื่อเรามีปัญญาแล้ว ก็เท่ากับเรามีดวงตาที่สามารถมองเห็นชีวิตและโลกตามความเป็นจริงได้
รวมทั้งสามารถทำให้เราเดินทางไปพบสิ่งสูงสุดที่ชีวิตควรได้รับได้อีกด้วย ***************** หลักสูตรพุทธเชิงวิทย์
๔๐. สรุปเนื้อหาหลักสูตรพุทธเชิงวิทย์ได้ว่าอย่างไร? เนื้อหาหลักสูตรพุทธเชิงวิทย์สรุปได้ว่า
"อย่าเชื่อว่าคำสอนใดจะดับทุกข์ได้
จนกว่าจะได้พิสูจน์จนพบว่าเป็นความจริงแล้ว" คือวิทยาศาสตร์เป็น
"วิธีการค้นหาความจริงของธรรมชาติ" ด้วยการสังเกตจาก
"ความจริง" ที่เราทุกคนสัมผัสได้จริงในชีวิตปัจจุบัน โดยหัวใจของวิทยาศาสตร์จะอยู่ที่
"ไม่ยอมรับว่าหลักการหรือทฤษฎีหรือคำสอนของใครๆว่าเป็นความจริง
จนกว่าจะได้พิสูจน์จนพบว่าเป็นความจริงอย่างแน่ชัดแล้วเท่านั้น" ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้า
จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องที่เร่งด่วนหรือสำคัญที่สุดในชีวิตปัจจุบัน อันได้แก่เรื่อง
"ความไม่มีทุกข์" หรือ "การทำจิตไม่ให้มีความเศร้าโศก
ความไม่สบายใจ ฯ" ส่วนคำสอนอื่นๆ เช่น สอนให้ละเว้นความชั่ว
สอนให้ทำแต่ความดีนั้น ใครๆเขาก็สอนกันอยู่แล้วมากมาย
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่เน้นสอนเรื่องนี้ ส่วนวิธีการปฏิบัติเพื่อ
"ความไม่มีทุกข์" ของพระพุทธเจ้าก็คือ
"ให้ใช้ปัญญากับสมาธิมาทำงานร่วมกันโดยมีศีลเป็นพื้นฐาน"
ซึ่งหัวใจของปัญญาจะอยู่ที่ "ความเข้าใจและเห็นแจ้ง เรื่องความเป็นอนัตตา
(ความไม่ใช่อัตตาหรือตัวตนอมตะ) ของทุกสิ่งในโลก" โดยเน้นมาที่
"จิตใจ" ของเราเอง แต่การที่จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้
พระพุทธเจ้าได้สอนว่า "จะต้องละทิ้งความเชื่อที่เราเคยมีอยู่ก่อน
แล้วมาศึกษาจากจิตใจของเราเองจริงๆในปัจจุบัน" จึงจะเกิดปัญญาขึ้นมาได้
ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก เพราะการที่เราจะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ด้วยตนเอง
ก่อนอื่นเราจะต้องละทิ้งความเชื่อที่ครอบงำสติปัญญาของเราเอาไว้ก่อน
เพื่อให้การศึกษา (คือการคิดพิจารณาไตร่ตรองและการทดลองปฏิบัติ)
ของเราเป็นอิสระจากความเชื่อก่อน และเมื่อจิตเป็นอิสระแล้ว
เราก็จะพบแต่ความจริงที่เราแจ้งประจักษ์แล้วเท่านั้น สรุปได้ว่า
"วิธีการปฏิบัติเพื่อให้จิตของเราไม่มีความทุกข์" ของพระพุทธเจ้านั้น
ตรงกับหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ "คือไม่ให้มีความเชื่อ
แต่ให้ใช้ความจริงมาศึกษา รวมทั้งยังต้องมีพิสูจน์
จนเห็นผลจริงอย่างแน่ชัดก่อนยอมเอามาปฏิบัติ"
ซึ่งนี่คือหลักสำคัญที่ผู้ศึกษาพุทธศาสนา จะต้องนำมาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
จึงจะทำให้ผู้ศึกษาเกิดปัญญาที่เป็นความเข้าใจและเห็นแจ้งในเรื่องความไม่มีทุกข์ตามที่พระพุทธเจ้าสอนได้
(จบหลักสูตร "พุทธเชิงวิทย์") ************************************* ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.whatami.net
|