๖. แท็ก (TAX) คือรหัสหรือคำสั่งหนึ่งๆ เราจะเห็นได้ว่า รหัสหรือคำสั่งหนึ่งๆนั้นจะมีสองส่วน คือส่วนเปิด <--> และส่วนปิด </--> ซึ่งรหัสคำสั่งนี้เรียกว่า แท็ก โดยส่วนเปิดจะเป็นการบอกให้บราวเซอร์รู้ว่าจะทำอย่างไรกับข้อความต่อไปนี้ และส่วนปิดจะเป็นการบอกให้บราวเซอร์รู้ว่าการกระทำนั้นจะหยุดลงที่ตรงนี้ เช่น
<B> การทำงานคือการปฏิบัติธรรม</B>
โดยแท็กตัว <B> นั้นเป็นคำสั่งว่าต่อไปนี้จะต้องแสดงเป็นตัวหนา ซึ่งได้แก่คำว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม และจบคำสั่งนี้ลงที่แท็กปิดตัว</ B> (แท็กปิดจะมีเครื่องหมาย / อยู่ด้วยเสมอ)
แท็กคำสั่งนั้นมีมากมาย โดยอาจจะมีการใส่แท็กซ้อนกันได้หลายๆแท็กในข้อความเดียว ซึ่งหลักการใส่แท็กซ้อนกันนั้นมีหลักว่า แท็กเปิดใดอยู่ชั้นในสุด แท็กปิดนั้นจะต้องอยู่ชั้นในสุดด้วยเสมอ เหมือนการเอากระดาษมาห่อของเป็นชั้นๆ เช่น
<B> <U>การทำงานคือการปฏิบัติธรรม</U> <B>
เราจะเห็นได้ว่า แท็กเปิดของ < U> จะอยู่ขั้นในสุด และแท็กปิดของ</U>ก็จะอยู่ชั้นในสุดด้วย เป็นต้น ถ้าใส่ผิดบราวเซอร์จะงงกับคำสั่งแล้วแสดงข้อความมาผิด
๗. คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ
ถ้าเราพิมพ์ข้อความมากมายลงไปในแท็ก <BODY>
.... </BODY> โดยไม่มีคำสั่งอะไรเลย แล้วบันทึกซ้ำลงไป(หรือเราอาจจะก๊อบปี้ข้อความจากเอกสาร Word แล้วนำมาวางลงก็ได้) ถึงแม้การพิมพ์ของเราจะมีย่อหน้าหรือเรียงลำดับไว้อย่างดีแล้วก็ตาม
เมื่อบันทึกแล้วเปิดดูเราจะพบว่าตัวอักษรที่เป็นข้อความทั้งหมดจะเรียงติดต่อกันเป็นพืดไม่มีเว้นว่างหรือย่อหน้าเลย รวมทั้งขนาดของตัวอักษรก็จะเป็นขนาดเล็กเหมือนกันหมด ซึ่งทำให้อ่านได้ยากมาก
แท็กคำสั่งง่ายๆที่นิยมใช้กันอยู่เพื่อจัดให้ตัวอักษรเป็นไปตามที่เราต้องการก็มีทั้งอย่างแท็กเดี่ยวและแท็กคู่อันได้แก่
แท็กเดี่ยวที่ใช้บ่อยๆ
= เว้นว่าง 1 ตัวอักษร
<P> = เว้นว่างหนึ่งบรรทัด
<BR> = ขึ้นบรรทัดใหม่
<HR> = เส้นมาตรฐานยาวตลอดแนวหน้าจอ
<HR WIDTH =
..%> = เส้นยาวขนาดกี่ % ของหน้าจอ
<HR WIDTH =
..% ALIGN = LEFT> = เส้นอยู่ทางซ้าย (RIGHT = เส้นอยู่ทางขวา ,CENTER= อยู่ตรงกลาง)
<B>
..(ข้อความ)
. </B> = เน้นตัวหนา
<I>.......(ข้อความ)
. </I> = ตัวเอน
<u>.. .....(ข้อความ)
.. </u> = ขีดเส้นใต้
<H1>.....(ข้อความ)
.. </H1> = หัวเรื่อง(1=ใหญ่สุด,6=เล็กสุด)
ตัวอย่างรหัสสี 808080 สีพื้นฐานจะใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษได้โดยตรงก็ได้คือ RED,GREEN,BLUE, YELLOW เป็นต้น(โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย # ถ้าใส่ชื่อโดยตรง) ส่วนสีย่อยๆจะต้องใช้รหัสของมัน ซึ่งสามารถค้าหาดูได้ตามเว็บไซต์หรือเปิดดูจากแหล่งกำเนิดจากหน้าเว็บต่างๆก็ได้
<BODY BGCOLOR = "#............">
<BODY BGCOLOR ="#..........." BACKGROUND = "(ชื่อภาพฉากหลัง.นามสกุล)">
<FONT COLOR ="#..........." SIZE = "....... ">.........ข้อความ........ </FONT>
<FONT COLOR ="#..........." SIZE = "....... " FACE="......">.........ข้อความ........ </FONT>
< CENTER>.............................. < /CENTER> =จัดให้อยู่กึ่งกลาง
<P ALIGN = LEFT>
.
......
</P> = จัดให้อยู่ด้านซ้าย
<P ALIGN = RIGHT>
.........
</P> = จัดให้อยู่ด้านขวา
<DL> < DT>
(คำศัพท์.)
<DD>
.(คำจำกัดความ)........ </DL>
<BLOCKQUOTE>........(ข้อความ)......... </BLOCKQUOTE>
<MARQUEE>........(ข้อความ)......... </MARQUEE>
<PRE>........(ข้อความ)......... </PRE>
|