-๑-
หลักการสร้างเว็บไซต์อย่างง่ายๆ
๑. อินเตอร์เน็ตคืออะรไ?

อินเตอร์เน็ตคือเครือข่ายการติดต่อสื่อสารขนาดยักษ์ที่ครอบคลุมไปทั่วทุกประเทศทั่วโลก โดยผู้ใช้บริการจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องเชื่อมต่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่นๆผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ(World Wide Web) ISP (Internet Service Provider) คือหน่วยงานที่ให้บริการในการที่ใครๆจะใช้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และเก็บเงินค่าบริการจากผู้ใช้ ซึ่งการต่อคอมพิวเตอร์ของเราเข้ากับเครือข่ายของ ISP นั้นทำได้หลายแบบ เช่นใช้เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น แต่ที่นิยมที่สุดคือการต่อผ่านสายโทรศัพท์ โดยใช้โมเด็ม (Modem)เป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้มาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ ๕๖ kbps (kilobit per second) แต่ขณะนี้มีการให้บริการที่เร็วยิ่งขึ้นที่เรียกว่า boardbland ซึ่งให้ความเร็วได้ถึง ๑ Gbps หรือมากกกว่านี้

ข้อมูลต่างๆบนอินเตอร์เน็ตโดยมากจะมาในรูปของเว็บเพจ(web page)ส่วนหน้าแรกของเว็บเพจจะเรียกว่า โฮมเพจ(Home page) และเราจะต้องใช้โปรแกรมที่เรียกว่าบราวเซอร์(browser) เป็นเครื่องเปิดดู ซึ่งใน Window ก็ได้แก่โปรแกรม Internet Explore ซึ่งภายในหน้าเวบนั้นจะมีการเชื่อมโยงกันไปหน้าเว็บอื่นหรือไปที่เว็บไซต์อื่น ที่เรียกว่าลิงค์(link) หรือ ไฮเปอร์ลิงค์(Hyperlink) เพื่อช่วยให้เราเรียกดูเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเมาส์เมื่อมันเปลี่ยนเป็นรูปมือ แต่ละเว็บเพจจะอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า เว็บไซต์(Web site) หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเว็บเพจต่างๆที่มีผู้สร้างขึ้นมาและเช่าที่ในการเปิดเว็บไซต์ของตน โดยแต่ละเว็บไซต์จะระบุ URL (Uniform Resource Locator) หรือ IP address ซึ่งเป็นที่อยู่ของแต่ละเว็บไซต์ และจะมีชื่อเฉพาะของแต่ละเว็บไซต์ที่เรียกว่า โดเมน (Doman name) เช่น http://www.tot.co.th ซึ่ง http:// www.หมายถึงชื่อของวิธีการติดต่อกันทั่วไปในการดึงเว็บเพจ ส่วน tot เป็นชื่อของบริษัท ส่วน .co เป็นเชื่อของหน่วยงานประเภทบริษัท ส่วน .th เป็นชื่อของประเทศที่จดทะเบียน(ส่วน.com หมายถึงประเทศสหรัฐอเมริกา)

๒. บริการ อีเมล์ E-mail

อีเมล์เป็นการรับส่งข้อความกันทาง อิเลคทรอนิคส์เมล์ โดยเราจะต้องรู้ที่อยู่ของผู้รับว่าอยู่ที่ไหนและชื่ออะไร ซึ่งที่อยู่นั้นจะเรียกว่า ตู้จดหมาย หรือ Mailbox ส่วนชื่อของแต่ละคนนั้นจะต่างกัน เช่น whatami@thai.com คือ whatami นั้นจะเป็นชื่อของผู้ใช้ ส่วน @ หมายถึง address คือที่อยู่ ส่วน thai.com นั้นหมายถึงชื่อ Mailbox หรือ เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail server) ที่เป็นผู้ให้บริการรับส่งอีเมล์

ผู้ให้บริการรับส่งอีเมล์นั้นมีมากมาย ซึ่งมีทั้งอย่างให้ฟรีและเสียเงิน เมื่อเพื่อนของเราส่งอีเมล์มาให้เรา ข้อมูลที่ส่งมาก็จะไปอยู่ในเมล์บ๊อกของเรา เมื่อเราต่ออินเตอร์เน็ตแล้วเปิดเมล์บ๊อกออกอ่านก็จะพบอีเมล์ของเพื่อนที่ส่งมา ซึ่งวิธีการขอเปิดใช้อีเมล์นั้นแต่ละผู้ให้บริการจะไม่เหมือนกัน และรูปแบบของเว็บเพจที่ใช้ก็ไม่เหมือนกัน แต่ว่าจะไม่ต่างกันมากนัก เช่นต้องบอกชื่อ นาสกุล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ ประเทศ และต้องบอกว่าต้องการชื่ออีเมล์ว่าอย่างไร รวมทั้งต้องบอกรหัสที่จะใช้ในการเปิดดด้วยเพื่อกันคนอื่นมาเปิดดู และส่งข้อความนั้นไปลงทะเบียนกับผู้ให้บริการ เมื่อลงทะเบียนแล้วก็จะใช้บริการได้ทันที ซึ่งเราอาจจะแนบเอกสารบางอย่างเช่น ข้อความหรือรูปภาพไปกับเมล์ของเราด้วยก็ได้

๓. การสร้างเว็บเพจอย่างง่ายๆ

เว็บเพจ (Webpage) คือหน้าของเว็บไซต์แต่ละหน้า ที่แสดงอักษร หรือรูปภาพ และจะดูได้จะต้องใช้โปรแกรมที่เรียกว่า บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งที่มีอยู่ในวินโดว์ก็ได้แก่ Internet explorer (หรือจะใช้โรปกรม firefox เป็นต้นก็ได้) โดยไฟล์ที่ใช้แสดงจะบันทึกให้มีนามสกุล HTML หรือ HTM

การสร้างไฟล์ HTML นั้นสามารถทำได้ ๒ แบบ คือ

๑.ใช้โปรแกรม Notepad ที่มีมาแล้วกับวินโดว์ เพื่อใช้เขียนรหัส (Tax) HTML

๒.ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นก็มีโปรแกรม DreamWabver เป็นต้น การใช้โปรแกรม Notepad สร้างนั้นจะเป็นการเขียนรหัสหรือคำสั่งต่างๆขึ้นมา แล้วบันทึกเป็นไฟล์ชนิด HTML แล้วนำมาเปิดดูได้ในบราวเซอร์ ส่วนการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนั้นไม่ต้องเขียนรหัสใดๆ เพียงพิมพ์ข้อความของเราลงไปเหมือนโปรแกรม Word และเมื่อสั่งบันทึก โปรแกรมก็จะสร้างรหัส HTML ให้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะง่ายกว่าการเขียนด้วยรหัส HTML เองมาก แต่ว่าโปรแกรมนี้ต้องซื้อซึ่งราคาค่อนข้างแพง แต่ว่าสามารถตกแต่งเว็บเพจให้สวยงามได้ง่ายกว่าการเขียนเอง

๔.รหัส HTML พื้นฐาน

เมื่อเราเปิดโปรแกรม Notepad ขึ้นมาแล้ว ก็ให้พิมพ์รหัส (Tax) พื้นฐานข้างล่างนี้ลงไปก่อน (ซึ่งจะใช้ตัวอักษรแบบพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ แต่ควรใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เพื่อให้ดูแตกต่างจากข้อความภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์เล็ก จะได้มองเห็นความแตกต่างได้ง่าย ส่วนเครื่องหมาย < > นี้คือเครื่องหมายที่อยู่ที่แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษแถวล่างด้านขวาที่อยู่กับอักษร ฒ และ ฬ ของภาษาไทย)

<HTML>

<HEAD> <TITLE>…..(ใส่หัวเรื่อง)…..</TITLE> </HEAD>      

<BODY> .................

.......(ใส่ข้อความและรูปภาพ).........
........................

</BODY>

</HTML>

เสร็จแล้วก็สร้างโฟลเดอร์ขึ้นมา ๑ โฟลเดอร์ (แล้วหาที่เก็บและตั้งชื่อได้ตามใจ) ต่อจากนั้นก็สั่งบันทึก ไฟล์ของ Notepad นี้เก็บไว้ในโฟลเดอร์นี้ โดยไฟล์ของ Notepad นี้ต้องตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ (ควรตั้งให้สั้นๆสัก ๓ หรือ ๕ ตัว หรือถ้าจำเป็นก็ตั้งให้ยาวๆก็ได้) ที่สำคัญจะต้องใส่จุด ( . ) และนามสกุล HTML หรือ HTM ตามชื่อด้วยเสมอ (ควรใช้นามสกุล HTML เพราะผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือ Web server บางแห่งไม่ยอมรับนามสกุล HTM) เช่น index.html โดยชื่อไฟล์คือ index และมีนามสกุล html เป็นต้น (เมื่อใช้นามสกุลเป็น htm หรือ html อย่างใดแล้วจะต้องใช้ตลอดไป เพราะเวลาเชื่อมโยงจะได้ไม่ผิดพลาด) เมื่อบันทึกแล้วจะได้ไฟล์ html ที่มีไอคอนเป็นรูปตัว e สีฟ้าที่มีวงแหวนคล้องอยู่ (ถ้าดับเบิลคลิกที่ไฟล์นี้มันก็จะเปิดขึ้นมาเองโดยโปรแกรม Internet Explorer ซึ่งเป็นบราวเซอร์ของ window) และเมื่อใช้โปรแกรม Internet Explorer เปิดไฟล์ของ notepad ที่เราได้บันทึกเอาไว้นั้นดูก็จะพบว่ารหัสต่างๆจะมองไม่เห็น จะเห็นแต่ข้อความที่พิมพ์ลงไปที่ในส่วนของ <BODY>………….</BODY> โดยในส่วนของ < HEAD><TITLE >……</TITLE> </HEAD> จะเป็นหัวเรื่องที่ปรากฏอยู่ที่ตอนบนของโปรแกรม internet Explorer . ซึ่งนี่คือรหัสพื้นฐานอย่างง่ายที่สุด

๕. การแก้ไขไฟล์ HTML

เมื่อเราเปิดบราวเซอร์หรือโปรแกรม Internet Explorer ขึ้นมาดูไฟล์ HTML ที่เราบันทึกเอาไว้แล้ว ทีนี้ถ้าเราต้องการที่จะแก้ไขไฟล์ HTML นี้ เราจะต้องกลับไปแก้ไขที่แหล่งกำเหนิด (Sause) ของมัน คือที่ไฟล์ Notepad ที่เราใช้บันทึกเป็นไฟล์ HTML นั่นเอง ซึ่งการกลับไปแก้ไขนี้ก็มีอยู่ ๒ วิธีคือ

๑. ใช้โปรแกรม Notepad เปิดดูไฟล์ HTML ที่บันทึกไว้ แล้วก็แก้ไข พอเสร็จก็สั่งบันทึก (Save)

๒. หรือขณะเปิดบราวเซอร์ (Internet Explorer ) อยู่นั้นก็ให้ไปที่แถบ menu แล้วคลิกที่ View แล้วคลิกที่ Sauce แล้วโปรแกรม Notepad ก็จะเปิดไฟล์ที่เป็นแหล่งกำเนิด(Sauce)ของเว็บเพจหน้านั้นออกมาให้แก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็สั่งบันทึกซ้ำ (Save) ซึ่งวิธีนี้ดูจะรวดเร็วกว่า ซึ่งเราสามารถเปิดดูแหล่งกำเนิดของหน้าเว็บเพจของเว็บไซต์ทั้งหลายได้โดยใช้วิธีนี้ (แต่ใน internet explorer 8 จะใช้วิธีนี้ไม่ได้ จะเปิดดูได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้นถ้าจะแก้ไขจึงต้องใช้วิธีที่ ๑ เพียงอย่างเดียว)

หลังจากแก้ไข Sause ในโปรแกรม Notepad และบันทึกซ้ำลงไปแล้ว ก็ให้เปิดบราวเซอร์ (โปรแกรม Internet Explorer) ขึ้นมาใหม่ ครวนี้บราวเซอร์ก็จะอ่านแหล่งกำเนิด (Sauce) ที่แก้ไขใหม่นั้น และแสดงเว็บเพจหน้านั้นใหม่ (แต่ถ้าสิ่งที่แก้ไขยังไม่เปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ Refresh) จุดสำคัญเมื่อแก้ไข Sauce ใหม่เสร็จทุกครั้งเราจะต้องสั่งบันทึกซ้ำก่อน จึงค่อยเปิดบราวเซอร์ (หรือสั่ง Refresh) ถ้าบราวเซอร์แสดงผลผิดพลาดเราก็ต้องกลับไปดูว่าเราพิมพ์อะไรใน Sauce ผิดพลาดตรงไหน แล้วก็แก้ไขถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องอาศัยความละเอียดรอบครอบมาก ต้องค่อยๆตั้งในพิจารณาดู ถ้าทำหยาบๆจะมีแต่ความผิดพลาด

|หน้าต่อไป|