Computer แปลว่า เครื่องคำนวณอัตโนมัติ โดยมีพื้นฐานมาจากลูกคิดของคนจีนและพัฒนามาเป็นเครื่องคิดเลข จนมาเป็นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งคอมฯที่มีขายอยู่ในท้องตลาดจะมีอยู่ ประเภท คือ
๑. แบบมียี่ห้อ เช่น IBM, Laser เป็นต้น ซึ่งเขาจะกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆเอาไว้เสร็จแล้ว ไม่สามารถเลือกได้ แต่มีข้อดีคือมีมาตรฐาน มีบริการเมื่อเสียหายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ว่ามีราคาแพงกว่าแบบประกอบเอง
๒. แบบประกอบเอง คือตามร้านที่ขายเครื่องคอมฯทั่วไปจะมีคอมฯราคาไม่แพงขาย โดยเราสามารถสั่งเสป็คของอุปกรณ์ต่างๆได้ตามต้องการ ซึ่งมีข้อเสียคือบางแห่งไม่ค่อยจะมีมาตรฐานและบริการหลังการขาย และอุปกรณ์ก็ไม่ค่อยจะมีมาตรฐาน เพราะราคาถูก
๒. คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง?
คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลายอย่าง เช่น พิมพ์เอกสาร(WORD) , คำนวณ (excel) , แสดงผลงาน(PowerPoint) ,วาดรูป (paint), ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกมส์ , เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น ตามแต่ว่าจะมีโปรแกรมใดบรรจุอยู่ในเครื่องและมีอุปกรณ์มาเสริมมากเท่าใด
๓.คอมพิวเตอร์มีกี่ชนิด?
ทุกสิ่งที่มีการคำนวณล้วนมีคอมพิวเตอร์อยู่ด้วยทั้งสิ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นVCD เป็นต้น แต่ไม่เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ ที่นิยมเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์จริงๆนั้นก็มีอยู่ ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desk top) ที่ตั้งอยู่กับที่ซึ่งมีชนิดวาง causeราบกับพื้นและแบบตั้งตรง
๒. คอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว (note Book Computer หรือ lap top) ที่สามารถนำไปที่ต่างๆได้
๓. คอมพิวเตอร์มือถือ (Pocket PC หรือ palm) ที่เป็นเสมือนสมุดโน๊ตเล็กๆ
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่นี้นิยมเรียกว่า PC (Personal Computer) คือเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งแต่ก่อนจะมีแต่คอมพิวเตอร์ใหญ่ๆที่ใช้ในสำนักงาน ต่อมาจึงได้มีการคิดค้นคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงอย่างเช่นในปัจจุบัน ขึ้นมาและราคาถูกผู้คนจึงสามารถซื้อไปใช้เป็นส่วนตัวได้
๔.คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
อุปกรณ์ที่เห็นภายนอกก็ได้แก่
๑. CASE (เคส) คือตัวโครงหรือกล่องของเครื่องซึ่งเป็นที่บรรจุอุปกรณ์สำคัญๆของเครื่องเอาไว้
๒. จอแสดงภาพ(monitor) เหมือนจอทีวีแต่มีความละเอียดมากกว่า ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบจอแก้วและแบบจอผลึกเหลว(สำหรับคอมฯชนิดกระเป๋าหิ้ว)
๓. แป้นพิมพ์ (keyboard) ที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรและตัวเลขป้อนเข้าเครื่องซึ่งมีทั้งอย่างมีสายและไร้สาย แต่ถ้าต้องการตั้งค่าต่างๆของ keyboard ก็ไปที่ Control Penal แล้วคลิ๊กที่ keyboard และจะมีเมนูต่างๆขึ้นมาให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ
๔. เม้าส์ (mouse) ที่ใช้เลื่อน ลูกศร(Kaser) ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอและเลือกสั่งงานได้ด้วยการคลิกซ้าย ๑ ครั้ง(หรือ ๒ ครั้งเร็วๆเพื่อสั่งเปิด) หรือจะคลิ๊กขวาเพื่อเรียกเมนูคำสั่งขึ้นมาให้เลือก และยังใช้การคลิ๊กซ้ายค้างไว้แล้วลากให้เป็นสีทึบเพื่อเลือกงานที่ต้องการมากๆให้อยู่ในคำสั่งเพียงครั้งเดียว หรือลากเพื่อนำงานไปปล่อยไว้ที่อื่นก็ได้ ซึ่งเมาส์ก็มีทั้งอย่างมีสายและไร้สาย และถ้าต้องการตั้งค่าต่างๆของMouse ก็ไปที่ Control Penal แล้วคลิ๊กที่ Mouse ก็จะมีเมนูต่างๆขึ้นมาให้เลือกตั้งได้ตามต้องการ
อุปกรณ์สำคัญก็มีเท่านี้แต่ถ้าจะให้ได้ผลงานก็ต้องมีอุปกรณ์ภายนอกมาช่วยอีก เช่น เครื่องพิมพ์ (printer) , สแกนเนอร์, โมเด็ม , ลำโพง เป็นต้น
๕.อุปกรณ์เสริมที่ควรมี
๑. เครื่องหน่วงไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าดับ UPS (Uninterruptible Power Supply)
๒. ปลั๊กกันไฟเกินหรือช๊อต(FUSE)
๖.คอมพิวเตอร์ประกอบอย่างไร?
๑ สายไฟเข้าเครื่องต่อจาก CPU มาเสียบปลั๊กไฟ AC 220 Volt 50 HZ (หรือจะเสียบที่เครื่องหน่วงไฟก็ได้ ถ้ามีเพื่อป้องกันไฟดับไม่รู้ตัว)
๒. สายไฟจากจอไปเสียบที่ปลั๊กไฟ หรือปลั๊กจาก Case
๓. สายสัญญาณจากจอภาพ ไปต่อกับจุดเชื่อมที่ case (ต้องสังเกตให้ดีว่าแจ็คเสียบนั้นมันมีรูปร่างอย่างไร และต้องขันน๊อตให้แน่น)
๔. สายแป้นพิมพ์จะมีแจ็คเสียบสีม่วง ไปเสียบที่ case ให้ตรงสีม่วง(ถ้าเป็น port USB ก็ต้องเสียบให้ตรงport USB)
๕. สายเมาส์ จะมีแจ็คเสียบสีฟ้า ไปเสียบที่ case ให้ตรงสีฟ้า(ถ้าเป็น port USB ก็ต้องเสียบให้ตรงport USB)
ควรมีปลั๊กพิเศษแยกต่างหากกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆและมีสวิทช์ปิด-เปิดได้รวมทั้งมีฟิวส์เพื่อป้องกันไฟลัดวงจรด้วย ส่วนอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆก็เสียบตาม Port ที่อยู่ข้างหลัง case
๗.ข้อระวังในการใช้คอมพิวเตอร์?
๑. ควรอยู่ในที่เย็น แห้ง เช่นห้องแอร์ เพราะความร้อนจะทำให้อุปกรณ์เสื่อมเร็ว
๒. ไม่ควรเปิด-ปิดเครื่องบ่อยๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้บ่อยๆให้ใช้โปรแกรมรักษาหน้าจอ(screen sever) และตั้งค่าการประหยัดพลังงานแทน โดยให้คลิกขวาที่ว่างๆบน Desk top และเลือก Screen saver (การรักษาหน้าจอ) แล้วก็ตั้งเวลาและลักษณะได้ตามต้องการว่าจะให้จอภาพเกิด screen sever ภายในกี่นาที ถ้าไม่ได้ใช้งานติดต่อกัน แต่ถ้าจะตั้งให้จอภาพปิด หรือ จะปิดการทำงานของ Hard disk ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก็ให้คลิกต่อที่ Energy แล้วก็เลือกเวลาที่จะให้จอปิด, เวลาที่จะให้เครื่องเตรียมพร้อม, และเวลาที่จะให้ให้ปิด Hard disk เมื่อเครื่องไม่ได้ถูกใช้งานนานๆ แล้วก็คลิก Apply และ OK
๓. อย่าปิดสวิทซ์ที่ตัว case (ต้องสั่ง Shut Downที่โปรแกรม) เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบได้และถ้าเปิดเครื่องใหม่มันก็จะทำการสแกนดิสอย่างหยาบๆเพื่อหาความเสียหายของระบบทันที
๔. ปุ่ม restart ที่ตัว case ใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่นเครื่องแฮงค์(ค้าง)ปิดโปรแกรมไม่ได้และ shut down ไม่ได้
๕. การปิดและเปิดเครื่องเครื่องใหม่ควรห่างกันอย่างน้อย ๒๐ วินาที
๖. อย่าใช้คอมฯในขณะมีฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือมีระบบไฟไม่ปกติ และเมื่อปิดเครื่องแล้วควรถอดปลั๊กไฟออก(สายโทรศัพท์ที่ต่อเข้าโมเด็มด้วย)
๗. ไม่จำเป็นอย่าเปิดฝาเครื่องแล้วไปถูกต้องอุปกรณ์ข้างใน เช่น ไมโครชิพ เพราะอาจมีไฟฟ้าสถิตจากตัวเราที่จะทำให้ไมโครชิปเสียหายได้ (ถ้าจำเป็นต้องจับก็ให้แตะที่ตัว CASE หรือโครงก่อนเพื่อปล่อยไฟฟ้าสถิตที่อาจมีอยู่ในตัวเราให้หมดไปก่อน)
๘. อุปกรณ์ภายในที่สำคัญควรรู้จักเพื่อเลือกซื้อ
ภายใน case (เคส) จะมีอุปกรณ์สำคัญหลายอย่าง คือ
๑.CD-ROM Drive เครื่องเล่น CD (หรือ DVD)
๒.Floppy disk drive เครื่องอ่านและบันทึกแผ่น floppy disk
๓.Power supply แหล่งจ่ายไฟ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ๙ โวลต์
๔.Motherboard (Mainboard) แผงวงจรใหญ่ที่เสียบไมโครชิปต่างๆและต่อสายไฟไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
๕.VGA Card การ์ดจอ มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๖.LAN Card การ์ดแลน มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๗.Sound Card การ์ดเสียง มีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิปเสียบอยู่ที่ Mainboard
๘.RAM Card มีลักษณะเป็นแผ่นไมโตรชิปมาเสียบอยู่ที่ Mainboard
๙.CPU คือไมโครชิปรูปสี่เหลี่ยม ที่ติดอยู่กับ Mainboard และมีพัดลมเล็กๆติดอยู่ด้วย
๑๐.Hard Disk Drive คือกล่องโลหะสี่เหลี่ยมแบนๆใช้เก็บข้อมูลต่างๆของเครื่อง
๙. CD-ROM DRIVE คืออะไร?
CD-ROM DRIVE คืออุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น CD เพียงอย่างเดียว (ซึ่งก็ยังมีแบบบันทึกได้ให้เลือกอีกคือ CD- Writer ที่ราคาแพงกว่า)
แผ่น CD นี้มีความจุ ๗๐๐ Mb มากกว่าแผ่น Floppy disk ถึง ๕๐๐ แผ่น และก็มี ๒ แบบ คือ
๑.แบบบันทึกได้ครั้งเดียวแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (CD-R)
๒.แบบบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง(CD-RW)
< แผ่น CD ได้รับการพัฒนามาเป็น DVD ที่เก็บข้อมูลได้มากถึง ๘.๕ GB เท่ากับแผ่น CD ๑๓ แผ่น นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์เรื่องยาวๆ ซึ่งการอ่านและเขียนจะใช้แสงเลเซอร์ขนาดเล็กเป็นตัวอ่านและเขียน
ข้อควรระวังในการใช้แผ่น CD และ DVD
๑.ระวังอย่าให้มีรอบขีดข่วนด้านหน้าและด้านหลังของแผ่น
๒.ระวังอย่าให้ถูกความร้อน หรือแสงแดด
๑๐. Floppy disk drive คืออะไร?
Floppy disk drive คือเครื่องอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุ ๑.๔ MB โดยแผ่น Diskนี้จะประกอบด้วยแผ่นพลาสติกบางๆเคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ และอ่าน/เขียนโดยใช้หัวอ่าน-เขียนแบบแม่เหล็ก
ข้อระวังในการใช้แผ่น Floppy disk คือ
๑.ขณะไฟที่ Floppy disk drive ยังไม่ดับอย่าเพิ่งกดปุ่มเพื่อเอาแผ่น disk ออก
๒.อย่าเปิดแผ่นกับฝุ่นเล่น จะทำให้ฝุ่นเข้า
๓.อย่าให้โดนความร้อนและใกล้แม่เหล็ก
๔.อย่าเขียนข้อความลงในแผ่นฉลากของ disk ในขณะที่แปะแล้ว
๕.แผ่น disk ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลไม่ควรใช้เก็บข้อมูล เพราะมันเสียง่าย
๑๑.Power Supply แหล่งจ่ายไฟ
แหล่งจ่ายไฟ เป็นเครื่องแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับ (AC) ๒๒๐ โวลต์ มาเป็นไฟกระแสตรง (DC) ๙ โวลต์ เพื่อใช้เลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งก็มีหลายขนาดให้เลือกทั้งอย่างให้กำลัง(Watt)มากและกำลังน้อย และจะมีพัดลมติดอยู่เพื่อระบายความร้อนของอุปกรณ์ใน Power Supply
๑๒. Motherboard แผงวงจรใหญ่
Motherboard (บางทีก็เรียกว่า Mainboard ) คือแผงวงจรหลักที่ใช้ต่ออุปกรณ์ต่างๆโดยผ่านทางสายไฟ หรือเสียบต่อโดยตรง ซึ่ง Motherboard ที่ราคาถูกจะเป็นชนิด on board คือมีอุปกรณ์ต่างๆเช่นการ์ดจอ ติดอยู่แล้วไม่สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมได้ ถ้าเสียต้องเปลี่ยน Motherboard ทั้งแผง ส่วนชนิดราคาแพงจะไม่ on board คือจะแยกออกมาเปลี่ยนหรือซ่อมได้ ส่วนข้อควรระวังก็คืออย่าแตะต้องไมโครชิปทั้งหลายที่ mainboard เพราะจะทำให้เสียหายได้และอย่าแกะถ่านที่ติดอยู่ใน mainboard ออก เพราะจะทำให้การตั้งค่าต่างๆของเครื่องเสียหาย แล้วคอมฯจะไม่ทำงาน
๑๓.VGA Card การ์ดจอ
การ์ดจอคืออุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าจากคอมฯไปแสดงยังจอภาพ โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิป เสียบอยู่กับ Motherboard และมีจุดสำหรับใช้เสียบสายต่อไปยังจอภาพ (PORT) ที่อยู่ด้านหลังของเคส
๑๔LAN Card การ์ดแลน
เมื่อต้องเชื่อมคอมฯหลายๆเครื่องเข้าด้วยกันก็ต้องมีแผ่นไมโครชิปที่เรียกว่า LAN นี้มาช่วย โดยมีเครื่อง Server เป็นเครื่องหลักที่ควบคุมการทำงานของคอมฯทั้งหมด
๑๕.RAM Card การ์ดแรม
RAM (Random Access Memory) ซึ่ง RAM นี้ก็คือแผ่นไมโครชิปหรือแผ่นวงจรที่เสียบอยู่ที่ Motherboard ในแนวตั้ง ซึ่ง การ์ด RAM นี้จะใช้สำหรับเก็บข้อมูลและซอฟแวร์ในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ คือขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดอยู่นั้น RAM จะว่างเปล่าไม่มีข้อมูลใดๆ แต่พอเริ่มเปิดเครื่อง ข้อมูลและซอฟแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้นจะถูกคัดลอกจาก Hard disk มาเก็บไว้ที่ RAM นี้ เพื่อนำไปประมวลผลที่ CPU ก่อนที่จะนำไปแสดงที่จอภาพ แต่ถ้าปิดเครื่องหรือเกิดไฟฟ้าดับขณะนั้น ก็จะทำให้ข้อมูลต่างๆนั้นหายไปหมด ซึ่งหน่วยความจำของ นี้ก็มีหลายขนาดให้เลือก เช่น ๙๐ MB, ๑๒๘ MB , ๕๖๐ MB ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันได้มาก
(ส่วนคำว่า ROM มาจากคำว่า Read Only Memory ซึ่งหมายถึงหน่วยความจำที่เอาไว้อ่านเพียงอย่างเดียว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เรียกว่าเป็นความทรงจำถาวร แม้ไฟฟ้าดับความทรงจำนี้ก็ยังอยู่ ไม่หาย เช่นข้อมูลในแผ่น CDซึ่ง ROM นี้จะมีอยู่ในไมโครชิปของอุปกรณ์แต่ละตัวที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์)
๑๖.CPU หน่วยประมวลผลกลาง
CPU (Central Processing Unit) คือไมโครชิปพิเศษที่เสียบอยู่ที่ Motherboard และมีพัดลมเล็กๆติดอยู่ด้วย ซึ่ง CPU จะทำหน้าที่ประมวลผลและแสดงผลให้ปรากฏบนจอภาพ ซึ่งCPU นี้จัดเป็นหัวใจของคอมฯ และมีความเร็วในการคำนวณต่างกัน เช่น ๘๐๐ MH, ๑ GH, ๓ GH เป็นต้น ถ้ายิ่งเร็วก็จะยิ่งทำให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้นแต่จะเกิดความร้อนมากตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบัน CPU มีอยู่ ๒ ยี่ห้อใหญ่ๆ คือ
๑.Intel ซึ่งมีหลายรุ่นซึ่งรุ่นล่าสุดที่นิยมกันมากคือ Pentium 4
๒.AMD ซึ่งไม่ค่อยนิยมเท่าของ Intel
๑๗. Hard Disk Drive อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดจานแข็ง
Hard Disk Drive อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเมื่อมีการบันทึกไว้และใช้อ่านข้อมูลส่งไปยัง CPU ซึ่ง Hard Disk Drive จะเป็นกล่องแบนๆขนาดสักเท่าฝ่ามือเรา โดยฝากล่องโลหะจะปิดสนิทจนเกือบเป็นสุญญากาศเพื่อป้องกันฝุ่นเข้าไปทำให้ข้อมูลเสียหาย ซึ่งภายในจะมีแผ่นโลหะแข็ง ที่เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓. ๕ นิ้ว ที่ผิวของแผ่น Hard Disk จะเคลือบด้วยสารแม่เหล็กไว้บางๆ และหมุนด้วยความเร็วคงที่โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และมีหัวอ่าน/เขียนเคลื่อนที่ผ่านชิดผิวหน้าของแผ่น Hard Disk เพื่ออ่านและเขียนข้อมูล โดย Hard Disk จะมีหลายขนาดคือมีความจุในการเก็บข้อมูลต่างกัน เช่น 20 GB ,40 GB ,80 GB ,200 GB เป็นต้น และ Hard Disk แต่ละรุ่นจะมีความเร็วรอบในการหมุนต่างกัน ถ้ายิ่งเร็วจะยิ่งอ่าน/เขียนได้เร็วขึ้น เช่น ๗๕๐ RPM
๑๘.Computer ทำงานได้อย่างไร?
Computer จะประกอบด้วย
๑.Hard ware ซึ่งได้แก่อุปกรณ์ทั้งหมดของคอมฯ
๒.Soft ware ซึ่งได้แก่ระบบปฏิบัติการของเครื่อง
๑๙.Soft Ware คืออะไร?
Soft Ware คือโปรแกรม(Program=คำสั่ง)ที่สั่งให้เครื่องทำงาน ถ้าไม่มี Soft Ware เครื่องก็จะไม่ทำงาน โดยระบบปฏิบัติการ Window นั้นจะมีโปรแกรมดอส ( MS-DOS)ทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งดอสนี้เป็นระบบปฏิบัติการเดิมก่อนที่จะมามีระบบปฏิบัติการ Window ซึ่งใช้งานยากและไม่มีรูปภาพประกอบ จะต้องใช้การพิมพ์คำสั่งลงไป เครื่องจึงจะทำงาน ต่อมาจึงได้คิดค้นระบบปฏิบัติการ Window ขึ้นมาเพื่อแปลงระบบปฏิบัติการของดอสให้ออกมาในรูปกราฟริกหรือเป็นรูปภาพอย่างที่เราเห็นทางจอภาพ เวลาจะสั่งงานก็ไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง เพียงใช้เม้าส์คลิกมันก็ทำงานได้แล้ว ซึ่ง Soft Ware ชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้นมาก็เพื่อสนองความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น โปรแกรมดูหนัง - ฟังเพลง โปรแกรมทำนามบัตร หรือโปรแกรมทำบัญชี เป็นต้น
Soft ware ที่นิยมมากคือ Window ของบริษัท Microsoft ซึ่งมีหลายรุ่น เช่น Window 95, Window 98 , Window ME,Window2003,Window XP เป็นต้น ถ้าแบบถูกลิขสิทธิ์ราคาจะแพงมาก เช่น Window XP ราคาประมาณ ๘,๐๐๐ บาท และ Office XP อีก ประมาณ ๔,๐๐ บาท แต่ผู้คนนิยมแผ่นก็อปปี้ราคาถูก แต่ว่าผิดกฎหมายถ้าถูกจับจะถูกปรับสูงมาก
และยังมี Soft ware ยี่ห้ออื่นๆ เช่น Macintosh ของบริษัท Apple ปัจจุบันนี้เรามีโปรแกรมฟรีให้ใช้คือยี่ห้อ Linux ซึ่งได้รับการพัฒนามานานและคนไทยก็เอามาพัฒนาต่อเป็นภาษาไทยด้วย(ซึ่งใช้งานพื้นฐานได้เหมือน Windowทุกประการ) แต่ว่าผู้คนยังไม่ค่อยนิยมเพราะยังไม่ชินจึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร แต่ว่าเป็นของฟรีที่เราควรหันมาใช้กันดีกว่าไปขโมยใช้ WINDOWของเขาโดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งมีความเสียหายทั้งด้านชื่อเสียงรวมทั้งอาจถูกปรับสูงมากถ้าถูกจับได้ และที่สำคัญทำให้เราไม่ภาคภูมิใจที่เป็นขโมยไปขโมยสติปัญญาของผู้อื่นมาใช้โดยไม่รับอนุญาต เวลาสั่งซื้อคอมฯก็สั่งร้านให้เขาลงโปรแกรมของ Linux ได้ฟรี หรือหาซื้อมาลงเองก็ได้ถ้าทำเองได้
๒๐.Computer เริ่มทำงานอย่างไร?
เมื่อกดสวิทซ์เปิดเครื่องที่ case จะมีกระแสไฟเข้าไปหล่อเลียงวงจรที่ motherboard ในขั้นนี้คอมฯจะโหลด(ดึง)เอาโปรแกรมเล็กๆโปรแกรมหนึ่งจาก Hard disk ขึ้นมาให้ทำงาน ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ค้นหาระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเอาไว้ที่ Hard disk เมื่อพบก็จะทำการดึงระบบปฏิบัติการนั้นออกมา แล้วระบบปฏิบัติการนั้น(เช่น Window) ก็จะเริ่มทำงานได้ แต่ถ้าไม่พบมันก็จะแสดงข้อความบอกว่าเกิดความเสียหายหรือค้นไม่พบระบบปฏิบัติการ ซึ่งนี่เรียกว่าการ Boot หรือ Start up ซึ่งหมายถึงการดึงระบบออกมาใช้งานหรือเปิดเครื่องใช้งาน
|