Sentence and clause Sentence คือ ข้อความที่พูดออกมาแล้วได้ความหมายสมบูรณ์ ฟังรู้เรื่องซึ่งส่วนมากจะมีประธาน (Subject) และกริยา(Verb)มาด้วยกันเสมอ เช่น The bird flied. นกบิน หรืออาจจะเป็นคำคำเดียวก็ได้ ถ้าฟังกันรู้เรื่อง โดยเฉพาะประโยคคำสั่งที่มักจะเป็นคำกริยาคำเดียว เช่น Shoot. ยิงได้, Go. ไปซิ, Come here. มานี่, Look out. ระวัง เป็นต้น
Clause คือประโยค Sentence หลายประโยครวมกันอยู่ คือถ้าอยู่ตามลำพังจะเป็น Sentence ถ้ารวมกันอยู่จึงจะเป็น Clause. เช่น เป็น Sentence เพราะอยู่ตามลำพัง : I know. ผมรู้ : How old is he ? เขาอายุเท่าไร? เป็น Clause เพราะรวมกันอยู่ : I know how old he is. ผมรู้เขาอายุเท่าไร.
ชนิดของ Sentence Sentence แย่งออกเป็น 4 ชนิดคือ 1. Simple Sentence (เอกัตถะประโยค) หมายถึงประโยคที่มีกริยาแท้หรือกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว (คือจะมีประธานกับกริยา) ส่วนอย่างอื่นจะมีมากหรือน้อยอย่างไรก็ได้ เช่น That girl cooks her breakfast by herself. เด็กหญิงคนนั้นทำอาหารเช้าของเธอด้วยตัวเธอเอง 2. Compound Sentence (อเนกัตถะประโยค) หมายถึงประโยคใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยประโยคเล็กของ Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป โดยอาศัย Conjunction (and, or, as, but) เป็นตัวเชื่อม เช่น (Simple Sentence) = He open the door. เขาเปิดประตู (Simple Sentence) = He walked into the room. เขาเดินเข้าไปในห้อง (Compound Sentence) = He open the door and walked into the room. เขาเปิดประตูและเดินเข้าไปในห้อง 3. Complex Sentence (สังกรประโยค) หมายถึงประโยคใหญ่ที่ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค โดย 2 ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากัน นั่นคือประโยคหลัก Main Clause (มุขยประโยค) ที่มีใจความสมบูรณ์ และประโยครอง Subordinate Clause(อนุประโยค) ที่ต้องอาศัยประโยค Main Clause จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น.. Complex Sentence = This is the house that I bought last year. นี่คือบ้านที่ผมซื้อไว้เมื่อปีที่แล้ว Main Clause = This is the house. Subordinate Clause = that I bought last year. 4. Compound Complex Sentence (อเนกัตถะสังกรประโยค) หมายถึงประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่ โดยอีกประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กแทรกซ้อนอยู่ภายใน เช่น Compound Complex Sentence = I couldnt remember what his name is, but I will ask him. = ฉันจำไม่ได้ว่าเขาชื่ออะไร แต่ฉันจะถามเขา
ชนิดของ Subordinate Clause Subordinate Clause (อนุประโยค) คือประโยคที่ไม่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง จะต้องไปอาศัยประโยคหลักหรือประโยคใหญ่เสียก่อน แล้วเนื้อความของมันจึงจะฟังเข้าใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. Noun Clause (นามานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนาม หรือเสมือนนาม ซึ่งลักษณะของประโยค Noun Clause จะขึ้นต้นประโยคของมันเองด้วยคำต่อไปนี้ คือ :- what, that, which, where, when, why, who, whom, whose, how. ซึ่ง Noun Clause นี้ย่อมทำหน้าที่ได้หลายอย่างในหลักไวยากรณ์ เช่นเดียวกับนามทั่วไป คือ (1) เป็นประธานของกริยา เช่น Where he stays is not answered. (2) เป็นกรรมของกริยา เช่น.. I know where he lives. (3) เป็นกรรมของ Preposition เช่น She is waiting for what she wants. (4) เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา เช่น The books are what they want. (5) เป็นนามซ้อนนามของนามที่อยู่ข้างหน้า เช่น The news that he was dead is not true. 2. Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์(Adjective)ขยายนามที่อยู่ข้างหน้าของมัน ซึ่งลักษณะของ Adjective Clause นั้นจะต้องขึ้นต้นประโยคด้วยคำต่อไปนี้ คือ which, where, when, why, who, whom, whose, of which, that(และอาจจะขึ้นต้นด้วยคำเหล่านี้ด้วย คือ as(เช่นเดียวกันกับ), but(ผู้ซึ่งไม่), before(ก่อนวันที่), after(หลังจากวันที่) และหน้าคำเหล่านี้ต้องเป็นคำนามด้วย (หากหน้าคำเหล่านี้เป็นคำกริยา ไม่ใช่นาม ประโยคนั้นก็จะเป็นประโยค Noun Clause ไป) เช่น He reads the book which I gave him. เขาอ่านหนังสือที่ผมได้ให้เขาไป 3. Adverb Clause (วิเศษณานุประโยค) คือประโยคนั้นทั้งประโยคทำหน้าที่เหมือน Adverb (กริยาวิเศษณ์)ทั่วๆไป เพื่อทำหน้าที่ขยายกริยาในประโยคหลัก(Main Clause) ซึ่ง Adverb Clause แบ่งออกเป็น 9 ชนิดคือ 1. Adverb Clause ที่แสดงลักษณะอาการ(Manner) จะขึ้นต้นด้วยคำว่า as, as if, as hough. 2. Adverb Clause ที่แสดงสถานที่(Place)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า where, wherever, as far as, as near as. 3. Adverb Clause ที่แสดงเวลา(Time)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า when, e, while, since, as, before, after, until, as soon as, as long as, all the time(that). 4. Adverb Clause ที่แสดงเหตุผล(Reason)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า because, as, since, seeing, that, now that. 5. Adverb Clause ที่แสดงความมุ่งหมาย(Purpose)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า so as, in order that, for the purpose, that, for fear that. 6. Adverb Clause ที่แสดงการยอมรับ(Concession)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า although, thought, even thought, even if. 7. Adverb Clause ที่แสดง การเปรียบเทียบ(Comparison)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า as + Adjective + as, as + Adverb + as, not so + Adjective + as, not so + adverb + as. 8. Adverb Clause ที่แสดง เงื่อนไขหรือสมมติ(Condition)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า if, if only, unless, whether, supposing that, provided that, on condition that, in case. 9. Adverb Clause ที่แสดงผล(Result)จะขึ้นต้นด้วยคำว่า so that, so .that, such .that, so as to. จบSentence and clause
Direct and indirect Speech Direct Speech คือ การเอาคำพูดของผู้อื่นที่ตัวเองได้ยินมาเล่าให้คู่สนทนาฟัง โดยมิได้เปลี่ยนแปลงคำพูดนั้นแม้แต่ส่วนใดส่วนหนึ่งเลย เช่น Chamras said it is my pen จำรัสพูดว่า มันเป็นปากกาของฉัน indirect Speech คือ การเอาคำพูดของผู้อื่นที่ตัวเองได้ยินมาเล่าให้คู่สนทนาฟัง โดยดัดแปลงเป็นคำพูดของผู้เล่าอีกทีหนึ่ง เช่น Chamras said that it was his pen. จำรัสพูดว่า มันเป็นปากกาของเขา รูปแบบของ Direct Speech รูปแบบการใช้ประโยค Direct Speech นั้นมีอยู่ 3 ชนิด คือ รูปแบบที่ 1 1. วางประโยคนำ(เช่น He said หรือข้อความอื่นใดที่คล้ายกันนี้) ไว้ต้นประโยคทุกครั้งไป 2. ข้างหลังประโยคนำต้องใส่เครื่องหมาย Comma ( , ) ทุกครั้งไป หรือ ( : ) หรือ( ; ) ก็ได้ 3. ประโยคที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดตามแบบการใช้แบบที่ 1 นี้ ต้องนำด้วยตัวอักษรใหญ่ขึ้นต้นประโยคเสมอ เช่น He said The first heroine in Thai history was Tao Suranaree. เขาพูดว่า วีระสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยคือท้าวสุรนารี
รูปแบบที่ 2 1. วางประโยคนำ(เช่น He said หรือข้อความอื่นใดที่คล้ายกันนี้) ไว้ท้ายประโยคทุกครั้งไป 2. ใส่เครื่องหมาย Comma ( , ) ไว้หน้าประโยคที่วางอยู่ท้ายประโยคเสมอ 3. จะเปลี่ยนรูปประโยคนำจาก He said เป็น said he ก็ได้ และประโยคในเครื่องหมายคำพุดต้องเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ เช่น The first heroine in Thai history was Tao Suranaree he said. (or said he). วีระสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยคือท้าวสุรนารี เขาพูด รูปแบบที่ 3 1. วางประโยคนำ(เช่น He said หรือข้อความอื่นใดที่คล้ายกันนี้) แทรกไว้ตรงกลางข้อความที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด 2 . ข้างหน้าคำว่า he said และหลังคำว่า he said ต้องใสเครื่องหมาย Comma ( , ) ด้วยกันทั้งสองตลอดไป 3. จบข้อความที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด ซึ่งวางตามหลัง he said ต้องใสเครื่องหมายจบประโยคคือ ( . ) Full stop ทันที เช่น The first heroine in Thai history he said was Tao Suranaree วีระสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทย เขาพูด คือท้าวสุรนารี
หลักการเปลี่ยนประโยค Direct Speech เป็น indirect Speech หลักการเปลี่ยนประโยค Direct Speech เป็น indirect Speech จะต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ 4 ตำแหน่ง คือ 1. เปลี่ยนแปลงกริยาของประโยคนำ say เป็น say that said เป็น said that say to + บุคคล เป็น tell + บุคคล + that said to + บุคคล เป็น tell + บุคคล + that
2. เปลี่ยนแปลงสรรพนามบุคคล(ประโยคในคำพูด) I เป็น he or she me เป็น him or her my เป็น his or her mine เป็น his or hers myself เป็น himself or herself we เป็น they us เป็น them our เป็น their ours เป็น theirs ourselves เป็น themselves you (subject) เป็น I you (object) เป็น me your เป็น my yours เป็น mine yourself เป็น myself
3. เปลี่ยน Tense
4. . เปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่แสดงความใกล้ เป็นถ้อยคำที่แสดงความห่างไกล มีดังต่อไปนี้
*ข้อยกเว้น ถ้าประโยคนำเป็น Present Simple Tens ประโยคในเครื่องหมายคำพูดเป็น Tens อะไรก็คงไว้ตาม Tens นั้น ห้ามนำกฎการเปลี่ยนแปลง Tens มาใช้บังคับโดยเด็ดขาด เช่น Direct = She says I am reading a book now. หล่อนพูดว่า ดิฉันกำลังอ่านหนังสืออยู่ขณะนี้ Indirect = She says that she is reading a book then. หล่อนพูดว่า หล่อนกำลังอ่านหนังสืออยู่ขณะนี้
เมื่อประโยค Direct Speech เป็นคำถาม หากเปลี่ยนเป็นประโยค Indirect Speech ให้ทำดังต่อไปนี้ . เปลี่ยนกริยาของประโยคนำเสียใหม่ ตามกฎดังนี้ say เป็น ask said เป็น asked say to + บุคคล เป็น ask + บุคคล said to + บุคคล เป็น asked + บุคคล 2. ถ้าประโยค Direct Speech ซึ่งเป็นคำถามนั้น ขึ้นต้นประโยคด้วยคำที่เป็นคำถามอยู่แล้วก็ให้คงไว้คงเดิม และไม่ต้องใส่ that เข้ามาร่วมอีก 3. ถ้าประโยค Direct Speech ซึ่งเป็นคำถามนั้น ขึ้นต้นด้วยกริยาช่วย 24 ตัว ตัวใดตัวหนึ่ง โดยมี Question Words มาร่วมอยู่ด้วย ในกรณีเช่นนี้ให้ใช้คำเชื่อมตัวอื่นมาแทน ได้แก่ Whether หรือ if (แปลว่า หรือไม่) และก็ไม่ต้องใส่ that เข้ามาอีก 4. เปลี่ยนรูปประโยคโครงสร้างของ Direct Speech ซึ่งเป็นคำถามนั้น ให้กลับเป้นโครงสร้างของประโยคบอกเล่า 5. กฎการเปลี่ยนแปลงสรรพนามบุคคล, การเปลี่ยนแปลง Tens และการเปลี่ยนคำใกล้เป็นคำไกลนั้น ให้นำมาใช้ได้ตามปกติ โดยไม่มีข้อยกเว้นอะไรทั้งสิ้น เช่น.. Direct : He said to me, Why did you come here yesterday?. : หล่อนพูดกับผมว่า ทำไมคุณจึงมาที่นี่เมือวานนี้? Indirect : he asked me why I had gone there the day before. : หล่อนถามผมว่า ทำไมคุณจึงไปที่นั่นเมื่อวันก่อน
เมื่อประโยค Direct Speech เป็นประโยคคำสั่ง การทำประโยค Direct Speech เป็นประโยคคำสั่ง คำเตือน ฯลฯ เป็นต้นให้เป็น Indirect Speech ให้ทำดังนี้ 1. ต้องเปลี่ยนกริยาของประโยคนำไปเป็นกริยาที่มีลักษณะเป็นคำสั่งตัวใดตัวหนึ่ง ทั้งนี้ให้เหมาะสมกับตำแหน่งฐานะของผู้ออกคำสั่ง 2. จะต้องระบุผู้ถูกสั่งหรือผู้ถูกขอร้องขึ้นมาเป็นตัวกรรม(Object) ของกริยาในประโยคนำเสมอ 3. สั่งให้ทำอะไร ขอร้องให้ทำอะไร ให้เติม to เข้าข้างหน้ากริยาในประโยคคำสั่งที่อยู่ใน Direct Speech นั้น แล้วมันก็จะกลายเป็นประโยคคำสั่งของ Direct Speech ทันที เช่น Direct : He said to his servant, Cook breakfast for me. เขาพูดกับคนใช้ของเขาว่า, ทำอาหารเช้าให้ฉันหน่อย Indirect : He order his servant to cook breakfast for him. เขาสั่งให้คนใช้ของเขาทำอาหารเช้าให้เขา กริยาต่อไปนี้นำมาใช้เป็นกริยาในประโยคคำสั่งได้ Order สั่ง(ธรรมดา) เช่น นายสั่งบ่าว สั่งลูกน้องเป็นต้น Command สั่ง(เฉียบขาด) เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งลูกน้อง Tell บอก(ให้กระทำ) ใช้ได้ทั่วไป Ask ขอร้อง(ให้กระทำ) จะใช้ในกรณีที่มีคำว่า please อยู่เท่านั้น และเมื่อเปลี่ยนเป็นindirect Speech ก็ให้ตัดคำว่า please ออกและ มาใช้ ask แทน) Beg ขอ, ขอร้อง, วิงวอน (ให้กระทำ) (เหมือน ask แต่ความหมายอ่อนกว่า) Advise ตักเตือน, แนะนำ, บอก(ให้กระทำ) นิยมใช้ในกรณีบอกด้วยความหวังดี
*อนึ่ง ถ้าประโยคคำสั่งนั้นเป็นประโยคคำสั่งห้าม หรือคำสั่งปฏิเสธ เมื่อเป็นประโยค Indirect Speech ให้ใช้ not to มาครั่นระหว่างประโยคนำกับประโยคคำสั่งห้าม ส่วนคำว่า dont หรือ do not นั้นให้ลบทิ้งเสีย ไม่ต้องนำมาเขียนในประโยคที่เปลี่ยนเป็น Indirect Speed ส่วนกฎการเปลี่ยนอื่นๆยังคงใช้ตามปกติ เช่น... Direct : My friend said to me, Dont bring my book here. เพื่อนของผมพูดว่า อย่านำเอาหนังสือของฉันมาไว้ที่นี่ Indirect : My friend asked me not to bring his book there. เพื่อนของผมขอร้องผมว่าอย่านำหนังสือของเขาไปไว้ที่นั่น จบ Direct and indirect Speech
AGREEMENT OF SUBJECT AND VERB Agreement of Subject and Verb คือการใช้กริยา(Verb)ให้สอดคล้องกับพจน์ของตัวประธาน(Subject) คือเมื่อประธานเป็นเอกพจน์ กริยาก็ต้องเป็นเอกพจน์ด้วย เมื่อประธานเป็นพหูพจน์ กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ด้วย หลักโดยทั่วไปในการจะรู้ว่านามตัวใดเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็คือ 1. ถ้าท้ายศัพท์นั้นไม่เติม s ให้ถือว่าเป็นเอกพจน์ เช่น book, dog, cat 2. ถ้าท้ายศัพท์เติม s ให้ถือว่าเป็นพหูพจน์ เช่น books, dogs, cats นามต่อไปนี้มีข้อยกเว้นว่าจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ซึ่งต้องจำไว้คือ 1. นามเอกพจน์ 2 ตัวที่เชื่อด้วย and ให้ถือว่าเป็นพหูพจน์ เช่น Deang and Dam are friend. *ยกเว้นนามบางตัวที่แม้จะเชื่อมด้วย and แล้วแต่ก็ยังเป็นเอกพจน์อยู่เพราะเมื่อนำมาใช้ยังถือว่าเป็นหน่วยเดียวกัน เช่น Rice and curry is her favorite meal. ข้าวราดแกงเป็นอาหารโปรดของเธอ 2. นามเอกพจน์ที่เชื่อมด้วย and โดยนามตัวที่ 2 ไม่มี Article นำหน้า แล้วนำมาใช้หมายถึงคนๆเดียว นามนั้นถือว่าเป็นเอกพจน์ เช่น : The manager and owner of this company is to Hong Kong soon : ผู้จัดการและเจ้าของบริษัทแห่งนี้จะไปฮ่องกงเร็วๆนี้ (เป็นคนคนเดียวกัน) หมายเหตุ แต่ถ้ามี Article นำหน้าทั้ง 2 ตัว นามนั้นถือว่าเป็นพหูพจน์ เช่น. : The manager and the owner of this school are going to England now. : ผู้จัดการและเจ้าของโรงเรียนนี้กำลังไปอังกฤษเดี๋ยวนี้ (ผู้จัดการและเจ้าของโรงเรียนเป็นคนละคน) 3. นามเอกพจน์ที่มีคุณศัพท์บอกสีหรือบอกขนาดมาขยายอยู่ข้างหน้า จะถือว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ให้สังเกตดังนี้ 3.1 ถ้าคุณศัพท์นั้นมี Article นำหน้าเฉพาะคุณศัพท์ตัวหนึ่ง ส่วนตัวที่สองไม่มี Article นำหน้า นามตัวนั้นถือว่าเป็นเอกพจน์ เช่น A white and black cat is sleeping the table. แมวสีขาวดำกำลังนอนหลับอยู่ใต้โต๊ะ 3.2 แต่ถ้าคุณศัพท์นั้นมี Article นำหน้าด้วยกันทั้งสอง นามเอกพจน์นั้นให้ถือว่าเป็นพหูพจน์ เช่น A white and a black cat are playing under the table. แมวขาวและแมวดำกำลังเล่นอยู่ใต้โต๊ะ 4. นามที่มีคำต่อไปนี้มาขยายตามหลัง จะใช้กริยาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้น ให้ถือตามคำนามที่วางอยู่หน้าคำเหล่านี้เป็นเกณฑ์ ได้แก่ with, together with, along with, as well as, including, in addition to, accompanied by, etc เช่น Manu, with his friend, is doing exercises. มนูพร้อมด้วยเพื่อนของเขากำลังทำแบบฝึกหัด 5. กริยาที่ตามหลัง There และ Here จะใช้รูปเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นให้ถือเอาตามคำนามที่ตามหลังคำทั้ง 2 นี้ เช่น There is a rubber on the table. (เอกพจน์) There are rubbers on the table. (พหูพจน์) หมายเหตุ และแม้คำสรรพนามด้วยเช่น : There she goes alone. (เอกพจน์) : There they play football. (พหูพจน์) 6. วลี (Phrase) หรืออนุประโยค (Subordinate Clause) ที่ไปขยายอยู่หลังประธานไม่มีส่วนทำให้ประธานนั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ดังนั้นจะใช้กริยาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์จะต้องถือเอาตามประธานที่อยู่หน้าวลีหรือหน้าอนุประโยคที่ไปทำหน้าที่ขยาย เช่น The boy who is reading these books is very wise. (เอกพจน์) 7. สรรพนามผสมต่อไปนี้ถือเป็นเอกพจน์ตลอดไป ได้แก่ someone anyone everyone no one somebody anybody everybody no body something anything everything nothing somewhere anywhere everywhrer 8. เมื่อประธาน(subject) ใดมีสันธาน(Conjuction)ต่อไปนี้มาเชื่อม จะใช้กริยาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้น ให้ถือตามประธานที่อยู่หลังคำสันธานเหล่านี้ ได้แก่ or(หรือ) ,either .or(ไม่อันใดก็อันหนึ่ง) neither ..nor (ไม่ทั้งสอง) not only .but also (ไม่เพียงแต่....เท่านั้น แต่...อีกด้วย) 9. กริยาของ who, which, where ในประโยค Adjective Class จะใช้กริยาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ต้องถือเอาตามนามหรือสรรพนามที่วางอยู่หน้าคำทั้ง 3 นี้ 10. A number of + นามพหูพจน์ (plural Noun) เมื่อไปทำหน้าที่เป็นประธาน กริยาต้องใช้รูปพหูพจน์, ส่วน The number of + นามพหูพจน์ (plural Noun) เมื่อไปทำหน้าที่เป็นประธาน กริยาต้องใช้รูปเอกพจน์ 11. จำนวนเงินของสกุลต่างๆและการวัดระยะทาง จะมีรูปเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์ก็ตาม เมื่อไปทำหน้าที่เป็นประธานให้ถือว่าเป็นเอกพจน์ตลอดไป 12. ชื่อเรื่อง,ชื่อหนังสือ,และชื่อเพลง ที่มีรูปเป็นพหูพจน์เมื่อนำมาใช้เป็นประธานในประโยคให้ถือว่าเป็นเอกพจน์ตลอดไป 13. เศษส่วนของนามที่เป็นพหูพจน์ ต้องใช้กริยาเป็นพหูพจน์, เศษสาวนของนามที่เป็นเอกพจน์หรือนามที่นับไม่ได้ ต้องใช้กริยาเป็นเอกพจน์ตลอดไป 14. คำต่อไปนี้เมื่อเป็น Pronoun (สรรพนาม) คือใช้แต่มันลอยๆไม่มีนามอื่นตามหลัง ต้องถือเป็นพหูพจน์ตลอดไป กริยาจึงต้องใช้รูปพหูพจน์ตามไปด้วย ได้แก่คำว่า all, both, few,(หรือ a few), many, some, several, none of 15. นามต่อไปนี้เป็นรูปเอกพจน์ แต่ใช้เป็นพหูพจน์ เช่น people, police, cattle(วัวควาย) children(เด็กๆ) etc. 16. นามต่อไปนี้รูปศัพท์เป็นพหูพจน์ แต่ใช้เป็นเอกพจน์ เช่น news, physics, mathematic etc. 17. นามต่อไปนี้มีรูปเป็นพหูพจน์ และก็ใช้เป็นพหูพจน์ด้วย แม้บางครั้งของสิ่งนั้นจะมีเพียงอันเดียวก็ตาม เช่น trousers (กางเกงขายาว) shorts (กางเกงขาสั้น) tongs (คีม) etc. 18. นามต่อไปนี้มีรูปเหมือนกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ ได้แก่ fish ปลา sheep แกะ deer กวาง trout ปลาเทร้าต์ salmon ปลาแซลมอน bison วัวกระทิง จบ Agreement of Subject and Verb |