Article Article คือ คำที่ใช้นำหน้านาม คือคำนามในภาษาอังกฤษทุกตัว เวลาพูด-เขียนจะต้องมี Article นำหน้าทั้งสิ้น(ยกเว้นบางตัวที่จะกล่าวต่อไป) Article มีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. Indefinite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายทั่วไป อันได้แก่ A , An. 2. Definite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายชี้เฉพาะ ได้แก่ The .
หลักทั่วไปของการใช้ A คือเมื่อ A นำหน้านามใดนามนั้นต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ อันได้แก่ 1. เป็นนามเอกพจน์ 2. เป็นนามนับได้ 3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ 4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป เช่น a book, a man, a bus, a pen * ข้อยกเว้น ห้ามใช้ A นำหน้า คือนามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แต่อ่านออกเสียงสระที่อยู่ถัดไป นามตัวนั้นให้ใช้ AN นำหน้าแทน (มี H เท่านั้น) หลักทั่วไปของการใช้ AN คือเมื่อ AN นำหน้านามใด นามนั้นจะต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ คือ 1. เป็นนามเอกพจน์ 2. เป็นนามนับได้ 3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ A , E , I , O , U. 4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป * ข้อยกเว้น ห้ามใช้ AN นำหน้าคือ นามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยสระ แต่อ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะย นามตัวนั้นให้ใช้ A นำหน้าแทน (มี U และ E เท่านั้น). นามต่อไปนี้ห้ามใช้ทั้ง A และ AN นำหน้าเด็ดขาด 1. นามที่นับไม่ได้ทุกชนิด 2. นามพหูพจน์ทุกชนิด
หลักทั่วไปของการใช้ THE คำว่า The แปลว่า นั้น,นี้ คือเป็นการชี้เฉพาะถึงสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่ง The ใช้นำหน้านามได้ทุกชนิด ทุกประเภท นั่นคือ 1. เป็นนามเอกพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้ 2. เป็นนามพหูพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้ 3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็ใช้ The นำหน้าได้ 4. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ ก็ใช้ The นำหน้าได้ (แต่ให้อ่านว่า ดิ ) 5. เป็นนามที่นับได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้ 6. เป็นนามที่นับไม่ได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้ 7. แต่นามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะต้องมีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่น. The water in the bottle is very poor. น้ำที่อยู่ในขวดนี้เย็นมาก. นามต่อไปนี้ห้ามใช้ the นำหน้า 1. นามที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ2. นามที่ระบุไว้ในหัวข้อว่าห้ามใช้ the นำหน้า (ซึ่งมีข้อห้ามมากมายแต่จะไม่กล่าวถึง เช่น อาการนาม,ชื่อเฉพาะของคน,ชื่อถนน ,ชื่อวัน, เดือน, ปี, ลัทธิ,ศาสนา เป็นต้นซึ่ง ห้ามใช้ ทั้ง a, an,และ the นำหน้า) * อนึ่งแม้ลักษณะของประโยคจะไม่มีคำบ่งชี้เฉพาะเอาไว้ แต่ถ้านามนั้นเป็นที่รู้จักกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ก็ให้ใช้ the นำหน้าได้ เช่น When you go out, dont forget to close a door. เมื่อคุณออกไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานไหนก็ได้)นะ. When you go out, dont forget to close the door. เมื่อคุณไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานนั้น)นะ. การใช้ a, an, the แบบระคน - ถ้านามนั้นไม่มีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมาขยายอยู่ข้างหลังให้ใช้ a, an ทันที เช่น A boy like to see monkey. เด็กชอบดูลิง. - ถ้านามนั้นมีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมา ขยายอยู่ข้างหลัง ให้ใช้ the ทันที เช่น The man in this room is our teacher. ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้เป็นครูของเรา. * มีหลักพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ นามใดก็ตามที่เป็นเอกพจน์นับได้ ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เติม a , an ทันที แต่ถ้านามนั้นถูกยกขึ้นมากล่าวอีกเป็นครั้งที่ 2 ให้เติม the ทันทีเช่นA black cat, the cat is fat. แมวตัวหนึ่งสีดำ แมวตัวนั้นอ้วน* อนึ่งยังมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับคำนามบางตัวว่านามตัวใดใช้เฉพาะ a, an และนามตัวใดใช้เฉพาะ the ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง. จบเรื่อง Article
AdjectiveAdj. คือคำที่ใช้บรรยายคุณภาพของนาม (ขยายนาม) เช่น Good, tall, fat ..etc. Adj. เวลานำไปใช้นั้นปรกติมีวิธีใช้อยู่ 2 วิธีคือ 1. เรียงไว้หน้านามที่ Adj. นั้นไปขยายโดยตรงก็ได้ เช่น The fat man cant run quick. A clever boy can answer a difficult problem. 2. เรียงไว้หลัง Verb to be ก็ได้ เช่น. Somsri is beautiful. My dog is black. * อนึ่งการใช้ Adj. แบบ 1 และ 2 นั้นเป็นการใช้ Adj. แบบทั่วๆไป แต่ยังมี Adj. พิเศษหลายตัวที่บังคับว่าจะต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง. ชนิดของ Adj. Adj. แบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ. 1. Descriptive Adj. คุณศัพท์บอกลักษณะ(หรือคุณภาพ) เช่น Good, fat, tall, thin, rich ,etc. 2. Proper Adj. คุณศัพท์บอกชื่อเฉพาะ(บอกสัญชาติ)คือเป็นAdj. ที่มีรูปมาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Thai (มาจาก Thailand), English (มาจาก England) 3. Quantitative Adj. คุณศัพท์บอกปริมาณ(ว่ามากหรือน้อยเท่านั้น) ได้แก่คำว่า many, much, little, some, any, all . เช่น He has many friend เขามีเพื่อนมาก. 4. Numeral Adj. คุณศัพท์ที่บอกจำนวน(ว่ามีเท่าไร) ได้แก่คำว่า One, Two, Three 5. Demonstrative Adj. คุณศัพท์ชี้เฉพาะ(เจาะจงว่าเป็นคนนั้นคนนี้ มิได้หมายถึงคนอื่น)ได้แก่คำว่า the, same, this, that, these, those, such, such a . เช่น He is in the same room. เขาอยู่ห้องเดียวกัน. 6. Possessive Adj. คุณศัพท์บอกเจ้าของ(มีรูปมาจากบุรุษสรรพนามที่ 3 )แต่เวลาใช้จะต้องมีนามตามหลังด้วยเสมอ ได้แก่คำว่า my, your, our, his, her, its, there . เช่น His dog is white. สุนัขของเขาสีขาว. 7. Interrogative Adj. คุณศัพท์คำถาม (ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคำถาม ต้องวางไว้หน้านามเสมอ ถ้าไม่มีนามตามหลังมันจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม) ได้แก่คำว่า What (อะไร), Which (อันไหน) ,Whose (ของใคร) เช่น Whose house is that ? นั้นคือบ้านของใคร ? . 8. Distributive Adj. คุณศัพท์แบ่งแยก(ใช้ขยายนามเพื่อแบ่งแยกให้เป็นรายบุคคลหรือรายสิ่งตามที่ผู้พูดต้องการ) และนามที่ถูกขยายนั้นต้องเป็นเอกพจน์ตลอดไป ได้แก่คำว่า each, (แต่ละ), either (อันใดอันหนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง), neither (ไม่ทั้งสอง), every (ทุกๆ) เช่น Either blank is flooded. แต่ละฝั่งของแม่น้ำถูกน้ำท่วม. จบเรื่อง Adjective
AdverbsAdverbs คือคำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา, คุณศัพท์ , หรือขยาย Adverbs ด้วยกันก็ได้หลักการใช้ Adverbs - ถ้าขยายกริยา ให้เรียงไว้หลังกริยา เช่น The old man walk slowly. - ถ้าขยายคุณศัพท์ ให้เรียงไว้หน้าคุณศัพท์ เช่น Dang is very strong. - ถ้าขยาย Adverbs ให้เรียงไว้หน้า Adverbs เช่น The train runs very fast. ชนิดของ Adverbs Adverbs แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 3 หมวด คือ 1. Simple Adverbs กริยาวิเศษณ์สามัญ ใช้ขยายกริยาธรรมดานี่เอง แบ่งได้ 6 หมวดคือ 1. Adverbs of time กริยาวิเศษณ์บอกเวลา ได้แก่คำว่า now, ago, yesterday, ... 2. Adverbs of place กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า near, far, in, out, 3. Adverbs of frequency กริยาวิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ ได้แก่คำว่า always, often, again, usually, 4. Adverbs of Manner กริยาวิเศษณ์บอกอาการ ได้แก่คำว่า well, slowly, quickly, fast.. 5. Adverbs of Quantity กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย ได้แก่คำว่า Many, much, very, too, quite 6. Adverbs of affirmation or negation กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ ได้แก่คำว่า yes, no, not, not at all 2. Interrogative Adverbs กริยาวิเศษณ์คำถาม ใช้ขยายกริยาเพื่อให้เป็นคำถาม (ต้องวางไว้หน้าประโยคเสมอ) แบ่งได้ 6 หมวด คือ 1. บอกเวลา ได้แก่คำว่า When (เมื่อไร), How long (นานเท่าไร). 2. บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า Where (ที่ไหน). 3. บอกจำนวน ได้แก่คำว่า How many (มากเท่าไร), How often (กี่ครั้ง).. 4. บอกกริยาอาการ ได้แก่คำว่า How (อย่างไร)(ใช้กับ do). 5. บอกปริมาณ ได้แก่คำว่า How much (มากเท่าไร). 6. บอกเหตุผล ได้แก่คำว่า Why (ทำไม). 3.Conjunctive Adverbs กริยาวิเศษณ์สันธาน ใช้เชื่อมประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า Why, Where, When, How, Whenever, While , As, Wherever.. หมายเหตุ Adverbs บางคำมีรูปเช่นเดียวกับ Adj. แต่การใช้ต่างกัน เช่น fast, hard, low, right, etc ซึ่งเราจะสังเกตได้จากการวาง คือ - เมื่อวางไว้หน้านาม หรือหลัง Verb to be ก็จะเป็น Adj. - ถ้าวางไว้หลังกริยาทั่วๆไป ก็จะเป็น Adverbs. จบเรื่อง Adverbs
Verb Verb (กริยา) คือคำที่แสดงถึงการกระทำหรือถูกกระทำของคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน(หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาด้วยก็ได้) เพื่อบอกถึง Tense (ช่วงเวลาที่กระทำ) Voice (ผู้พูด) Mood (อารมณ์) Verb แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. สกรรมกริยา Transitive Verb กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ. 2. อกรรมกริยา Intransitive Verb กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ. 3. กริยานุเคราะห์ Auxiliary Verb กริยาที่บอก Tens, Voice, Mood.
1. สกรรมกริยา คือกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ เช่น Kick (เตะ), Eat (กิน) เป็นต้น. คำที่นำมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้ก็คือ 1. นามทุกชนิด เช่น A mango. 2 สรรพนาม เช่น Him. 3. กริยาสภาวมาลา(สภาวะที่เกิดอยู่กับชีวิต) เช่น To study. 4. กริยาที่เติม ing แล้วนำมาใช้เป็นนาม เช่น sleeping. 5. วลีทุกชนิด เช่น I dont know what to do. 6. อนุประโยค เช่น I know who will come tomorrow. *อนึ่ง สกรรมกริยาบางตัวหรือบางประโยค ต้องมีตัวขยายกรรมมารับ จึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ เช่น The people made him king. (ประชาชนแต่งตั้งให้เขาเป็นพระราชา) เป็นต้น. 2. อกรรมกริยา คือกริยาที่มีเนื้อความอยู่ในตัวสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น Run, sleep, swim, sit. เป็นต้น แต่อกรรมกริยาบางตัวก็ต้องมีตัวขยายกิริยาเพื่อให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์ ซึ่งอกรรมกริยานั้นก็ได้แก่ Verb to be (เป็น, อยู่, คือ) Verb to have (เฉพาะแปลว่า มี) Become กลายเป็น), Seem (ดูเหมือนว่า), Feel (รู้สึก) Look (ดูเหมือน) Taste (มีรส) Appear (ปรากฏ,รุสึก) Smell (มีกลิ่น) , Grow (เจริญ) เป็นต้น. 3. กริยานุเคราะห์ หรือกริยาช่วย ได้แก่กริยาที่ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อให้เป็น Mood, Voice, Tense ซึ่งกริยาเหล่านี้ใช้เป็นกริยาแท้ก็ได้ ใช้เป็นกริยาช่วยก็ได้ มีอยู่ทั้งหมด 24 ตัว คือ. Is, am, are, was, were Have, has, had, Do, dose, did Will, would Shall, should Can, could May, might Must Need DearOught to, us to. *ข้อสังเกตว่าจะเป็นกริยาแท้หรือเป็นกิริยาช่วยก็ให้ดูว่า ถ้ากริยาตัวใดตัวหนึ่งจาก 24 ตัวนี้อยู่ในประโยคเพียงลำพังไม่มีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นกริยาแท้ แต่ถ้ามีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วยก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย เช่น. Ladda is a beautifily girl. (แท้). Ladda is drinking water. (ช่วย).
หน้าที่ Verb to be Verb to be ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้ 1. วางไว้หน้ากริยาที่เติม Ing ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous tense. 2. วางไว้หน้ากริยาช่อง 3 (เฉพาะสกรรมกริยา) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก(เอากรรมขึ้นต้นประโยค) มีสำเนียงว่า ถูก เช่น A glass is broken. แก้วถูกทำให้แตกเสียแล้ว เป็นต้น.3. วางไว้หน้ากริยา สภาวมาลา Infinitive แปลว่า จะต้อง มีความหมายเป็นอนาคต เพื่อแสดงความจงใจ เช่น I am to see my home every year. ฉันต้องไปเยี่ยมบ้านของฉันทุกๆปี เป็นต้น.
หน้าที่ของ Verb to do Verb to ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้. 1. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม ตามหลักที่ว่า
Verb to have ไม่มี Verb to be ไม่อยู่ Verb to do มาช่วย
2. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธเหมือนกรณีข้อ 1 (เติม ing หลัง do, dose ) 3. ช่วยหนุนกริยาตัวอื่นเพื่อให้ความสำคัญกับกริยาตัวนั้น ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น จริงๆ โดยเรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปหนุน. 4. ใช้แทนกริยาตัวอื่นในประโยค เพื่อต้องการมิให้กล่าวกริยานั้นๆซ้ำๆซากๆ. 5. Verb to do ถ้านำมาใช้เป็นกริยาแท้แปลว่า ทำ.
หน้าที่ของ Verb to have Verb to have ใช้ทำหน้าที่ดังนี้คือ 1. เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect tense. 2. ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลาตามหลัง มีสำเนียงแปลว่า ต้อง ตลอดไป เช่น I have to meet you tomorrow. ฉันต้องไปพบท่านวันพรุ่งนี้. 3. ใช้ในประโยคที่ให้ผู้อื่นทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ ในกรณีนี้ต้องใช้รูปประโยค Have + noun + Verb 3 . เช่น He has his house repaired. เขาให้ช่างซ่อมแซมบ้านของเขา.
หน้าที่ของ Will, shall, would, should. Will ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล ใช้กับประธานบุรุษที่ 2, 3. Shall ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล ใช้กับประธานบุรุษที่ 1 คือ I, We.
Would ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้. 1. ใช้เป็นอดีตของ will ในประโยคที่เปลี่ยนจากคำพูดของผู้อื่นมาเป็นของตน 2. ใช้เป็นกริยาช่วยในสำนวนการพูด อยากจะ อยากให้. 3. ใช้ในสำนวนการพูดว่า ควรจะ ดีกว่า ควบกับ Better หรือ rather Should ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้. 1. เป็นอดีตของ Shall ได้. 2. Should เมื่อแปลว่า ควร หรือ ควรจะ ถือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกประธาน
หน้าที่ของ May, Might May นำมาช่วยได้ดังนี้. 1. เพื่อแสดงความมุ่งหมาย (เพื่อ) 2. เมื่อแสดงความปรารถนา หรืออวยพรให้(ขอให้) *ต้องวางไว้หน้าประโยค. 3. เพื่อช่วยถึงการอนุญาต หรือขออนุญาต(ควรจะ) 4. เพื่อแสดงความคาดคะเน (อาจจะ). 5. ช่วยเพื่อแสดงความสงสัย (อาจจะ). Might นำมาช่วยได้ดังนี้. 1. ใช้เป็นอดีตของ May. 2. ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างนั้นจริง(แต่ถ้าแน่ใจใช้ May แทน).
Need Need ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า จำเป็นต้อง ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ (ส่วนมากใช้เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเท่านั้น และกริยาแท้ที่ตามหลัง Need ไม่ต้องใช้ To นำหน้า). Need ถ้าเป็นกริยาแท้แปลว่า "ต้องการ" และใช้เหมือนกริยาแท้ทั่วๆไป (ต้องมี To ตามหลัง Need ตลอดไป). Dear Dear ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า กล้า ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ และเป็น ปัจจุบันกาล คำตามหลังไม่มี To. Ought to Ought to แปลว่า ควรจะ เป็นกริยาพิเศษเหมือน is หรือ do นั่นเอง อาจใช้ should แทนก็ได้ แต่ความหมายอาจจะอ่อนกว่า. Used to Used to แปลว่า เคย เป็นกริยาพิเศษหมายความว่า เคยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจำ แต่บัดนี้ไม่ได้กระทำแล้ว(กริยาตามหลัง ต้องเป็นกริยาช่อง 1 ตลอดไป และใช้ used to เหมือน is หรือ do). จบเรื่อง Verb
Conjunction Conjunction (คำสันธาน) คือคำที่ใช้เชื่อมประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา Conjunction แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1. Conjunction คำเดียว 2. Conjunction คำผสมหรือวลี Conjunction คำเดียวที่พบเห็นบ่อย และใช้กันแพร่หลายมีดังนี้ and, or, but, because, so, as, for, whether, until, after, before, if, though, that, when, beside เช่น He is sick so he go to see doctor. เขาไม่สบาย ดังนั้นเขาจึงไปหาหมอ.
Conjunction วลี หรือคำผสมที่พบเห็นบ่อยๆได้แก่คำต่อไปนี้คือ - Either .or แปลว่าไม่อันใดก็อันหนึ่ง ใช้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปควบประธาน 2 คำจะใช้กริยาเป็นรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นขึ้นอยู่กับประธานตัวหลัง เช่น Either he or I am mistaken. ไม่เขาก็ผมเป็นผู้ผิด. - Neither ..or แปลว่า ไม่ทั้งสอง ไว้สำหรับปฏิเสธโดยสิ้นเชิง(กริยาถือตามประธานตัวหลัง).เช่น เช่น Neither you nor he studies mathematics. ทั้งคุณและเขาไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์. - As well as แปลว่า "เช่นเดียวกันกับ" (กริยาถือตามประธานตัวหน้า) เช่น He as well as I is sick เขาก็เช่นเดียวกันกับผมไม่สบาย. - Not only but also แปลว่า ไม่เพียงแต่ ..เท่านั้น แต่ยังอีกด้วย ใช้เน้นน้ำหนักข้อความทั้งสองให้เด่นชัด (แต่ต้องมีความหมายทางเดียวกัน) (แต่ถ้ามีประธาน 2 ตัวใช้กริยาตามประธานตัวหลัง ) เช่น Malisa is not only beautiful but also clever. มาลิสาไม่เพียงแต่สวยเท่านั้น แต่ยังฉลาดอีกด้วย. จบ Conjunction |