-3-

None – finite   Verb

                      None – finite  Verb    คือคำกริยาที่มิได้ทำหน้าที่เป็นกริยาจริง  แม้จะมีรูปมาจากกริยาก็ตาม  แต่กลับทำหน้าที่เป็นนามบ้าง  , เป็นคุณศัพท์บ้าง,  เป็นกริยาวิเศษณ์บ้าง ,หรือเป็นอื่นใดก็ได้ อันไม่ใช่กริยาแท้.

                     None – finite  Verb     แบ่งออกเป็น    3  ชนิด  คือ.

1.    Infinitive    [ to  Verb 1].

2.    Gerund       [Verb + ing]

3.    Participle    [ Verb  +  ing , Verb  3]

                  · Infinitive   คือคำกริยาช่องที่ 1 ที่มี To นำหน้า  ทำหน้าที่ได้ 6 อย่างคือ

1.    เป็นประธานของกริยาก็ได้    เช่น   To  walk  in  the  morning  is  good  for  health.

2.    เป็นกรรมของกริยาก็ได้    เช่น   He  like  to  speak  English  with  his  friend.

3.    เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาก็ได้   เช่น   She  has to  go  now.

4.    เป็นคุณศัพท์ขยายนามก็ได้(แต่ต้องเรียงไว้หลังนาม)

5.    เมื่อเรียงตามหลังอกรรมกริยา เป็นกริยาวิเศษณ์ของอกรรมกริยาตัวนั้น.

6.    เมื่อเรียงตามหลังกริยาวิเศษณ์ หรือคุณศัพท์ ย่อมเป็นกริยาวิเศษณ์ขยายคำที่อยู่หน้ามัน

อนึ่ง  ยังมี  Infinitive  บางตัวที่ไม่ต้องใช้ To  นำหน้า เรียกว่า Infinitive  with out to   ในกรณีที่นำมาใช้ตามหลัง  หรือขยายนามที่ตามหลังคำกริยาพิเศษต่อไปนี้   do,  does,  did ,     will,  would,     shall,  should,   can,  could,    may,  might,  must,  need,  dear   ไม่ต้องใช้  to  นำหน้า  (แต่ถ้าเป็นกริยาพิเศษ  is,  am,  are,  was,  were,  has,  have,  had,  นั้น infinitive  ที่ตามหลังต้องใช้  to  นำหน้าตลอดไปและยังมีรายละเอียดอีกมากซึ่งเราควรคั้นคว้าในโอกาสต่อไป.

           · Gerund   คือคำกริยาที่เติม  ing  แล้วนำมาใช้อย่างนาม(กริยานาม) Verbal  noun   เช่น Walking, studying  etc.   ทำหน้าที่ได้  5  อย่าง คือ

          1.   ใช้เป็นประธานของกริยาในประโยคก็ได้ เช่น   Swimming   is   a   good   exercise.

          2.   ใช้เป็นกรรมของสกรรมกริยาก็ได้  เช่น   She  remembered  seeing  me.

          3.   ใช้เป็นกรรมของบุรพบทได้  เช่น  We  are  found  of  learning  English.

          4.   ใช้ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาได้  เช่น   His  duty  is  cleaning.

5.ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามผสม(หรือคุณศัพท์) และนิยมใช้ Hyphen (-) มาคั่นไว้เสมอ เช่น Reading-room, Swimming pool  …etc.

อนึ่งโดยปรกติทั่วๆไปแล้ว  Gerund  และ  Infinitive สามารถใช้แทนกันได้  ในทุกกรณีและมีความหมายเหมือนกัน  ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใช้  แต่ยังมีกริยาบางตัวที่มี  Gerund  และ Infinitive  มาเป็นกรรมแล้วจะมีความหมายต่างกันมาก  ซึ่งเราควรศึกษากันในภายหลัง.

                 

           ·Participle   คือคำกริยาที่เติม  ing  บ้าง  หรือเป็นรูปกริยาช่อง  3  บ้าง  แล้วนำมาใช้ทำหน้าที่อย่างอื่น มิได้ใช้เป็นกริยาจริง  แบ่งออกเป็น  3  ชนิด คือ

          1.   Present  Participle    คือกริยาช่องที่เติม  ing  แล้วนำมาใช้เป็นครึ่งกริยาครึ่งคุณศัพท์ ได้แก่คำว่า  Going,  walking,  eating,  sleeping,  coming,  etc.    ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.

1.    เรียงตามหลัง  Verb to  be ทำให้ประโยคนั้นเป็น  Continuous  tense.

2.    เรียงไว้หน้านาม เป็นคุณศัพท์ของนามนั้น.

3.    เรียงตามหลังกริยา เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา(มีสำเนียงแปลว่า”น่า”).

4.    เรียงตามหลังกรรมเป็นคำขยายกรรมนั้น.

2.    Past  Participle   คือกริยาช่องที่  3  ซึ่งอาจมีรูปมทาจากการเติม  ed.  ก็ได้ หรือมีรูปมาจาก  การผันก็ได้ ได้แก่กริยาต่อไปนี้   Walked,  slept, gone  .  ..etc.  มีวิธีใช้ดังนี้.

1.    เรียงไว้หลัง  Verb  to  have  ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect  tense.

2.    เรียงตามหลัง Verb  to  be ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก(Passive voice)ตลอดไป.

3.    เรียงไว้หน้านามเป็นคุณศัพท์ของนามนั้น.       

4.    ใช้เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาได้.

5.    ใช้เรียงตามหลังนามก็ได้ แต่ต้องมีบุรพบทวลีมาขยายเสมอ.

              3.   Perfect  Participle   คือ  “ Having  +  Verb  3”  เช่น  Having  finish  …+  Past  Simple  Tense เป็นต้น  ซึ่ง Perfect  Participle นี้ ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ของประธานในประโยคหลัง  และต้องมีเครื่องหมาย  (,)  ด้วย  ซึ่งมีหลักการใช้มากมายซึ่งควรศึกษาในภายหลัง.

จบเรื่อง   Non-finite Verb

 

Question   tags

         Question   tags คือการตั้งคำถามตามประโยคบอกเล่าหรือตามหลังประโยคปฏิเสธ                                                                                                  

หลักการสร้างประโยค Question   tags

1.    ใส่เครื่องหมาย  Comma (,)  ครั่นระหว่างประโยคหน้าและประโยค Question   tags

2.     ถ้าประโยคท่อนหน้าเป็นประโยคบอกเล่า  ประโยค Question   tags ที่ตามหลังต้องเป็นคำถามปฏิเสธ.

3.     ถ้าประโยคท่อนหน้าเป็นประโยคปฏิเสธ ประโยค Question   tags ที่ตามหลังต้องเป็นคำถามธรรมดา

4.    ถ้าประโยคท่อนหน้ามีกริยาช่วย  24  ตัว ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่  เมื่อทำเป็นประโยค Question   tagsให้ใช้กริยาช่วยตัวนั้นมารทำเป็นประโยคคำถาม.

5.    ถ้าประโยคท่อนหน้าไม่มีกริยาช่วย  24  ตัว ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่ เมื่อทำเป็นประโยค Question   tagsต่อท้ายให้ใช้ Verb to do มาช่วย.

6.   ถ้าประโยคท่อนหน้าเป็น Question tags อะไร ประโยค Question   tags ที่ตามหลังก็ต้องใช้ Question   tags  ในระดับเดียวกันนั้น.               

 7.   ประโยค Question tags  ที่ถามเป็นปฏิเสธนั้น ระหว่างกริยาช่วย  24  ตัวกับคำว่า not  ต้องใช้รูปย่อเสมอ  คือ   do  not        =    don’t                

                               does  not     =    doesn’t

                               will  not      =     won’t

                               shall   not    =    shan’t

                               are  not        =    aren’t     etc. 

       *ข้อสังเกต  need,  dear   เมื่อนำมาใช้เป็นกริยาแท้แล้ว จะเอามาตั้งเป็น Question   tagsไม่ได้  ต้องใช้  Verb  to  do มาแทน.

        *อนึ่ง  กริยา  Used  to  เมื่อทำเป็น Question   tags ไม่นิยมใช้  used   ขึ้นต้นประโยคของมัน  แต่นิยมใช้  did  มาแทนทุกครั้ง (เช่นเดียวกับ  Verb to  have  ถ้าแปลว่ารับประธาน, ได้รับ โดยมิได้แปลว่า มี).

 

การใช้ Question   tags  ตามหลังประโยคคำสั่ง

           ถ้าประโยคบอกเล่านั้นเป็นประโยคคำสั่ง, คำเตือน, ขอร้อง, เชื้อเชิญ  เพื่อให้ประโยนั้นสุภาพยิ่งขึ้น ต้องใช้รูปเดียวคือ.

………………………….,  Will   you  ?

                        

การใช้ Question   tags  ตามหลังสำนวน  Let’s,  Let  me

             ประโยค Question   tags  ยังใช้ตามหลังสำนวน  Let’s ,  Let  me  ที่มีสำนวนการพูดอันหนึ่งสำหรับใช้ชักชวนได้  แต่ต้องใช้รูปเดียวคือ

...........…………………,   Shall   we ?

 

             ถ้าประโยคข้างหน้าขึ้นต้นด้วย  Let  me   ประโยค Question   tags  ต้องใช้รูปเดียวคือ

……………………………,  Will  you  ?

 

การตอบประโยคคำถามที่เป็น Question   tags

                ให้ตอบด้วย  Yes, หรือ  No   เท่านั้นและตอบได้  2  อย่างคือ

1.    ตอบแบบสั้น  [Short  Answer].

2.    ตอบแบบยาว  [long  Answer].

                          ตัวอย่าง      :    แบบสั้น   Yes, I  am    ,  No,  he  isn’t.

              :    แบบยาว    Yes,  I  am  a  student.  ,  No he isn’t here.

จบเรื่อง Question   tags

 

prefixes     and  suffixes

                  prefixes   แปลว่า อุปสรรค   หมายถึงคำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำเดิมนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม          

                  prefixes   ที่พบเห็นบ่อยมีอยู่   10  คำ คือ

(1Un   (ไม่ใช้เติมหน้าคุณศัพท์  (adj.)  หรือกริยาวิเศษณ์(adv.)  แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงข้าม เช่น…

                   happy  (มีความสุข)             ®             unhappy (ไม่มีความสุข)

                   wise  (ฉลาด)                    ®             unwise (ไม่ฉลาด)

                   suitable (เหมาะสม)          ®              unsuitable (ไม่เหมาะสม)             

(2)   Im (ไม่)    ใช้เติมหน้าคำคุณศัพท์  ( adj.) เท่านั้นแล้วทำให้มีความหมายตรงข้าม    เช่น…

                   possible (เป็นไปได้)        ®        impossible (เป็นไปไม่ได้)

                   proper (ถูกต้อง)           ®         improper (ไม่ถูกต้อง)

                   pure (บริสุทธิ์)               ®          impure (ไม่บริสุทธิ์)

(3)   In  (ไม่ใช้เติมหน้าคุณศัพท์  (adj.)  เท่านั้น  แล้วทำให้มีความหมายตรงข้าม  เช่น…

direct (ตรง)                       ®          indirect  (ไม่ตรง)

complete  (สมบูรณ์)          ®           incomplete  (ไม่สมบูรณ์)

expensive (แพง)                ®          inexpensive (ไม่แพง)

(4)  Re (อีก)   ใช้เติมหน้าคำกริยา หรือคำนามที่มาจากกริยาเท่านั้น  แล้วทำให้มีความหมายว่า “ทำอีก”  เช่น           

                           write (เขียน)                ®          rewrite (เขียนใหม่)

                           speak  (พูด)                 ®          respeak  (พูดอีก)

                           birth  (เกิด)                  ®          rebirth    (เกิดอีก)

 

(5)   Dis   (ไม่)  ใช้เติมหน้ากริยา  หรือเติมหน้าคุณศัพท์  แล้วทำให้มีความหมายตรงกันข้าม   เช่น…                            

                            like  (ชอบ)                   ®          dislike  (ไม่ชอบ)

                            appear  (ปรากฏ)          ®           disappear(ไม่ปรากฏ)

                            agree    (เห็นด้วย)         ®          disagree   (ไม่เห็นด้วย)

                             use   (ใช้)                   ®          disuse    (เลิกใช้)

 

(6)   Mis  (ผิด) ใช้เติมหน้าคำกริยาเท่านั้น  แล้วทำให้มีความหมายว่า”กระทำผิด”  เช่น …

                             understand  (เข้าใจ)        ®             misunderstand(เข้าใจผิด)

                            spell (สะกดตัว)                ®            misspell  (สะกดตัวผิด) 

                            call  (เรียก)                  ®            miscall (เรียกผิด)

 

(7)   per (ก่อน)  ใช้เติมหน้าคำนาม  หรือกริยาให้มีความหมายว่า “ก่อน”หรือ “ทำก่อน”   เช่น…

                             pay  (จ่าย)                     ®          prepay  (จ่ายล่วงหน้า)

                             history  (ประวัติศาสตร์)     ®        prehistory  (ก่อนประวัติศาสตร์)

 

(8)    Tri  (สาม)   ใช้เติมหน้าคำนาม แล้วทำให้มีความหมายว่า”สาม”  เช่น…

                            angle  (เหลี่ยม)                 ®             triangle  (สามเหลี่ยม)

                            cycle  (จักรยาน)                ®             tricycle  (รถสามล้อ)

 

(9)    Bi  (สอง)   ใช้เติมหน้าคำนาม แล้วทำให้มีความหมายว่า”สอง”   เช่น…

                             cycle (จักรยาน)               ®              bicycle (จักรยานสองล้อ)

                             polar  (ขั้วโลก)                ®             bipolar  (มีสองขั้วโลก)

                             sexual  (เพศ)                   ®             bisexual  (มีสองเพศ)

(10)   En    ใช้เติมหน้าคำนาม หรือคุณศัพท์ให้คำนั้นกลับเป็นกริยา เช่น…

                              camp (ค่ายพัก)               ®              encamp  (ตั้งค่าย)

                              sure   (แน่ใจ)                 ®               ensure  (รับประกัน)

                              large   (ใหญ่)                 ®               enlarge    (ขยายให้ใหญ่)   

 

Suffix   แปลว่า  ปัจจัยสำหรับปรุงแต่งคำอื่นให้เป็นนามบ้าง เป็นกริยาบ้าง แล้วมีความหมายเปลี่ยนไป          (โดยการเติมข้างหลังคำต่างๆที่พบเห็นบ่อยๆมีอยู่ 8 ตัวคือ.

1.    er  (ผู้ใช้เติมข้างหลังกริยา หรือคำนาม ให้หมายถึงบุคคลหรือผู้กระทำ   เช่น…

                             teach  (สอน)                   ®          teacher  (ผู้สอน,ครู)

                              run   (วิ่ง)                    ®          runner  (ผู้วิ่ง)

                             speak   (พูด)              ®          speaker  (ผู้พูด)

2.   or  (ผู้)   ใช้สำหรับเติมข้างหลังกริยาอย่างเดียว   เช่น…

                          act (กระทำ)                ®        actor  (ผู้แสดง)

                          govern  (ปกครอง)      ®         governor  (ผู้ปกครอง,ผู้ว่า)

                          direct (ควบคุม)                ®       director(ผู้อำนวยการ)

3.    en  (ทำด้วย) ใช้เติมหลังคำนามให้กลายเป็นกริยา  เช่น….

                              gold  (ทอง)                    ®        golden  (ทำด้วยทอง)

                              wood  (ไม้)                    ®          wooden  (ทำด้วยไม้)

                             light  (แสงสว่าง)           ®       lighten  (ทำให้มีแสงสว่าง) 

4.   ly  (อย่าง)   ใช้เติมหลังคุณศัพท์ ให้กลายเป็นกริยาวิเศษณ์   เช่น…

                     slow  (ช้า)                   ®     slowly  (อย่างช้า)

                     quick  (เร็ว)       ®    quickly  (อย่างเร็ว)

                     happy  (มีความสุข)     ®       happily  (อย่างมีความสุข)

5  ful  (มี) ใช้เติมหลังนามบ้าง กริยาบ้าง ให้กลายเป็นคุณศัพท์  เช่น….

                   beauty (ความสวย)       ®      beautiful(มีความสวย)

                                use  (ใช้)                             ®    useful  (มีประโยชน์)

                   wonder  (สงสัย)                 ®   wonderful(ความประหลาดใจ)

6.  less  (ปราศจาก ไม่มี) ใช้เติมหลังนาม ให้กลายเป็นคุณศัพท์ เช่น...

                   job(งาน)                     ®            jobless (ไม่มีงาน)

                   live  (ชีวิต)        ®          lifeless  (ไม่มีชีวิต)

could  (เมฆ)      ®        coldness(ปราศจากเมฆ)

7.   ness  (ความ) ใช้เติมหลังคุณศัพท์ ให้เป็นคำนาม  เช่น…

                             happy  (มีความสุข)    ®        happiness  (ความสุข)

                               light  (เบา)                  ®        lightness  (ความเบา)

                             soft  (นุ่ม)                   ®       softness  (ความนุ่ม)

8.   y  (มีใช้เติมหลังคำนาม ให้เป็นคุณศัพท์  เช่น…

                              sun  (ดวงอาทิตย์)      ®        sunny  (มีแสงแดด)

                              stone  (หิน)              ®        stony (มีหินมาก)

                            storm  (พายุ)            ®       stormy (มีพายุมาก)                           

จบ   prefixes  an   suffixes

 

Comparison of adjective and adverb

Comparison of adjective and adverb   คือการเปรียบเทียบนามของ  adjective หรือ adverb เพื่อให้รู้ว่านามของ adjective  หรือ adverb นั้นมีความเหมือนกัน หรือดีเด่นกว่ากันอย่างไร 

การเปรียบเทียบ adjective และ adverb มีอยู่ 3 ชนิดคือ

1. การเปรียบเทียบที่เสมอกัน(มีนามแค่ 2 )

          2. การเปรียบเทียบที่สูงกว่า(มีนามแค่ 2 )

          3. การเปรียบเทียบที่สูงที่สุด(มีนามตั้งแต่ 3 ขึ้นไป)

 

 Comparison of adjective  การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์

Comparison of adjective เป็นการเปรียบเทียบคุณภาพของนามต่อนาม เช่น นายดำต่ำกว่านายแดง      

1.    การเปรียบเทียบคุณศัพท์ที่เสมอกัน จะใช้รูปดังนี้

   as  + Adjective + as          =  แปลว่า “เท่ากันกับ หรือ เช่นเดียวกันกับ”

เช่น   as long as ,  as tall as,  as beautiful as  , as well as  เป็นต้น        เช่น

This chair is as long as that one.  เก้าอี้ตัวนี้ใหญ่เท่ากับตัวนั้น.(Adjective)

หมายเหตุ ในประโยคปฏิเสธให้ใช้รูปดังนี้

               not so + adjective + as    =  แปลว่า”ไม่เท่ากันกับ,ไม่เช่นเดียวกันกับ”

ตัวอย่างเช่น : This chair is not so big as that one. เก้าอี้ตัวนี้ไม่ใหญ่เช่นเดียวกันกับตัวนั้น(Adjective)

                    :  I don’t work so hard as you did.  ผมไม่ทำงานหนักเช่นเดียวกันกับคุณ.(Adverb)

2. การเปรียบเทียบคุณศัพท์ที่สูงกว่าจะใช้รูปดังนี้

  Comparative adjective + than            = แปลว่า “....มากกว่า....กว่า” 

               เช่น  taller than, bigger than, more beautiful than  etc.

               เช่น You are taller than I am. คุณสูงกว่าผม

*หมายเหตุ การเปรียบเทียบคุณศัพท์ขั้นกว่านี้ สรรพนามที่อยู่ข้างหลัง ต้องเป็นรูปประธานเสมอ เช่น  He is taller than I ( ไม่ใช่ than me), You  are cleverer than we.(ไม่ใช่  than us)

3. การเปรียบเทียบคุณศัพท์ขั้นสูงสุด นี้จะใช้สำหรับเปรียบเทียบนามที่มีตั้งแต่ 3 ขึ้นไป(หากมีเพียง 2 ใช้ขั้นกว่ามาเปรียบเทียบ) และยังต้องใช้ the นำหน้าเสมอ โดยใช้รูปดังนี้

 the  +  Superlative adjective                         = แปลว่า “...ที่สุด”

           เช่น the most beautiful girl,  the tallest man ,  the biggest boy  etc.

เช่น John is the tallest boy in the class.  จอนห์เป็นเด็กที่สูงที่สุดในชั้น(ที่มีอยู่หลายคน). เป็นต้น

 

หลักการสร้างคำคุณศัพท์ขั้นปกติให้เป็นขั้นกว่าและขั้นสูงสุด

- ทำได้โดยการเติมปัจจัย  er  และ  est  ดังนี้

          ก.  เติม   er  ที่คุณศัพท์ขั้นปกติให้เป็นขั้นกว่า

          ข.  เติม   est  ที่ที่คุณศัพท์ขั้นปกติให้เป็นขั้นสูงสุด

เช่น      tall ® taller ® tallest (สูง),       small ® smaller  ® smallest (เล็ก) เป็นต้น

(หลักในการเติม  er  และ   est  นั้นมีอยู่หลายข้ออีกทั้งยังมีคุณศัพท์บางคำที่เป็นคำขั้นปกติ ขั้นกว่า และขั้นสูงสุดอยู่แล้วโดยกำเนิด ซึ่งจะไม่กล่าวถึง)

         

Comparison of  adverb  การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์

Comparison of adverb เป็นการเปรียบเทียบการกระทำของนามต่อนาม เช่น นายดำเดินเร็วกว่านายแดง

1.  การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่เสมอกัน จะใช้รูปดังนี้

  as  + Adverb + as             =  แปลว่า “เท่ากัน หรือ เช่นเดียวกัน” เช่น

He speaks English as well as I do.  เขาพูดภาษาอังกฤษได้ดีเช่นเดียวกันกับผม.

2.   การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ที่สูงกว่าจะใช้รูปดังนี้

     Comparative adverb + than      = แปลว่า “....มากกว่า....กว่า”   เช่น

He speaks French faster than I do. เขาพูดภาษาอังกฤษเร็วกว่าผม.

*หมายเหตุ การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ขั้นกว่านี้ สรรพนามที่อยู่ข้างหลัง than นั้นจะใช้รูปประธาน(Subject)ก็ได้ หรือกรรม(Object)ก็ได้ แล้วแต่ใจความ เช่น  He loves you more than I. เขารักคุณมากกว่าผม, She loves you more than me.  เธอรักคุณมากกว่าผม.

3. การเปรียบเทียบกริยาวิเศษณ์ขั้นสูงสุด นี้จะใช้สำหรับเปรียบเทียบนามที่มีตั้งแต่ 3 ขึ้นไป(หากมีเพียง 2 ใช้ขั้นกว่ามาเปรียบเทียบ) โดยใช้รูปดังนี้

Superlative adverb               =  แปลว่า “...ที่สุด”  เช่น

          Fastest,  most slowly,  hardest,  most beautifully etc .  เช่น

          Of three us, you speak loudest. ระหว่างเรา 3 คนนี้ คุณพูดเสียงดังที่สุด.

หลักการสร้างคำกริยาวิเศษณ์ขั้นปกติให้เป็นขั้นกว่าและขั้นสูงสุด

- ทำได้โดยการเติมปัจจัย   er   และ  est   ดังนี้

          ก.  เติม  er  ที่คุณศัพท์ขั้นปกติให้เป็นขั้นกว่า 

          ข.  เติม  est  ที่ที่คุณศัพท์ขั้นปกติให้เป็นขั้นสูงสุด

  เช่น       hard ®  harder ® hardest (ยาก, หนัก),   fast ®  faster ® fastest (เร็ว)

(หลักในการเติม   er   และ   est  นั้นมีอยู่หลายข้ออีกทั้งยังมีกริยาวิเศษณ์บางคำที่เป็นคำขั้นปกติ ขั้นกว่า และขั้นสูงสุดอยู่แล้วโดยกำเนิด ซึ่งจะไม่กล่าวถึง)

จบ Comparison of adjective and adverb

 

If clause and wish form

การใช้ประโยค If clause

          If clause คือประโยคคะเน หรือประโยคสมมติ คือสมมติว่า ถ้ามีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ก็จะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นตามมา” แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ

          1.  สมมติในสิ่งที่เป็นจริงเสมอ หรือเป็นไปได้เสมอ

          2.  สมมติในสิ่งที่ไม่เป็นจริง หรืออาจเป็นจริงก็ได้(หากมั่นใจ)

          3.  สมมติในสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริง

          ประโยค If clause นั้นจะประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ

          1. ประโยค Main clause (ประโยคหลัก)

          2. ประโยค  If clause (ประโยคสมมติ)

          ถ้ามีประโยค If clause แล้วจะต้องมีประโยค Main clause แต่จะใช้ประโยค Main clause อย่างเดียวได้ ซึ่งการสร้างประโยค If clause นี้จะต้องใช้ Tens ให้ถูกต้องดังนี้

 

 

ตารางการใช้  Tens ประโยค If clause กับประโยค Main clause

 

เงื่อนไขที่สมมติเป็น

ถ้าประโยคสมมติเป็น

ประโยคหลักเป็น

 

(If clause)

(Main clause)

    1.  เป็นจริงเสมอ

       Present Simple

    Future Simple

    2. เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้

       Past Simple

    Future in the Past

    3. ตรงข้ามกับความเป็นจริงเสมอ

       Past Perfect

    Future Perfect in the Past

 

วิธีใช้

          1. เงื่อนไขที่สมมติในสิ่งที่เป็นจริงเสมอ

 เช่น   If the sun  rise, it will be a day.   ถ้าพระอาทิตย์ขึ้น มันก็จะเป็นกลางวัน (ไม่มีใครคัดค้านได้)

อนึ่ง ประโยคคำสั่ง (Imperative) ก็ให้ใช้ประโยค If clause ที่เป็น Present Simple Tens ตลอดไป จะใช้กับ Tens อื่นไม่ได้ เช่น If you see the teacher, ask him that problem. ถ้าคุณพบคุณครู ก็ถามปัญหานั้นกับคุณครูซิ

 2. เงื่อนไขสมมติในสิ่งที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้(แบ่งรับแบ่งสู้)

เช่น  If you came here yesterday, you would see her. ถ้าคุณมาที่นี่เมื่อวานนี้ คุณก็จะได้พบเธอ(หรืออาจไม่พบก็ได้ถ้าเธอกลับไปก่อน)   If she were a bird, she would sing all day. ถ้าหล่อนเป็นนก หล่อนก็จะร้องเพลงทุกวัน(เป็นจริงไม่ได้เด็ดขาด)

ข้องสังเกต เฉพาะ Verb to be ที่นำมาใช้ในการสมมติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นี้ ต้องใช้รูปเดียวคือ were ตลอดไป ไม่ว่าประธานจะเป็นบุรุษอะไร หรือพจน์อะไรก็ตาม

3.เงื่อนไขสมมติในสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงเสมอ

          เช่น    If he hadn’t gone there, he wouldn’t have been killed.

                            ถ้าเขาไม่ได้ไปที่นั่น เขาก็จะไม่ถูกฆ่าตาย

 

การใช้ประโยค Wish form

Wish form คือประโยคที่แสดงความปรารถนาหรือความต้องการของผู้พูด ซึ่งความจริงนั้นเป็นอย่างหนึ่ง แต่ผู้พูดอยากให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ

1. ความปรารถนาที่ให้เป็นไปในปัจจุบัน (Present Time) ให้ใช้รูป

                    Wish Form + Past Simple Tens

เช่น I am a poor man. I wish I were a rich man. ฉันเป็นคนจน (แต่)ฉันปรารถนาให้ฉันเป็นคนรวย

หมายเหตุ ประโยคที่ตามหลัง Wish แม้จะใช้กริยาเป็น Past Simple Tens แต่ความหมายยังเป็นปัจจุบัน อย่าได้เข้าใจว่าเป็นอดีต

2. ความปรารถนาที่ให้เป็นไปในอดีต (Past Time) ให้ใช้รูป

         Wish Form + Past perfect Tens

เช่น I was a poor man last year. I wish I had been a rich man last year. เมือปีที่แล้วฉันเป็นคนจน (แต่ตอนนี้)เมื่อปีที่แล้วฉันปรารถนาให้ฉันเป็นคนรวย.

3. ความปรารถนาที่ให้เป็นไปในอนาคต (Future Time) ให้ใช้รูป

      Wish Form + Future Simple in the Past

เช่น I shall study mathematics tomorrow. I wish I should study English tomorrow. ผมจะเรียนคณิตศาสตร์วันพรุ่งนี้ ผมปรารถนาให้ผมเรียนภาษาอังกฤษวันพรุ่งนี้

หมายเหตุนอกจากกริยา wish แล้วยังมีบางสำนวนที่เมื่อมีประโยคอื่นต่อท้ายจะต้องใช้ Past Simple Tens หรือ Tens อื่นทันที ซึ่งได้แก่คำว่า

as if    ราวกับว่า    (ประโยคหน้าเป็น Present Simple  ประโยคหลังเป็น Past Simple)

as though   ราวกับว่า  (ประโยคหน้าเป็น Past Simple  ประโยคหลังเป็น Past perfect)

if only     ถ้าหากว่า, ถ้าเพียงว่า(1.ถ้าประโยคหน้าเป็น Past Simple  ประโยคหลังต้องเป็น Future Simple in the Past  2. ถ้าประโยคหน้าเป็น Past perfect  ประโยคหลังเป็น Future perfect in the Past )

It’s time + Past     ถึงเวลาแล้วที่... (ต่อท้ายต้องใช้ Past Simple Tens )

I would rather + Past     ผมอยากให้ (ต่อท้ายต้องใช้ Past Simple Tens )

จบ If clause and wish form

 

active voice and passive voice

Active voice  คือ ประโยคที่ยกเอาประธานมาเป็นผู้กระทำกริยา เช่น. I wrote a letter yesterday.

Passive voice คือประโยคที่ยกเอาประธานมาเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น. A letter was written by me yesterday.

หลักการเปลี่ยน Active voice เป็น Passive voice

1.   เอา  Object  ใน Active ไปเป็น Subject  ใน Passive

2.  ใช้กริยา Verb to be ให้ถูกต้องตามพจน์(ประธาน) และ Tens  เดิมของ Active

3.  กริยาแท้ต้องใช้ตัวเดิมกับ  Active  แต่ต้องเป็นช่องที่ 3

4.  เอา  Subject ในประโยค Active ไปเป็นกรรมตามหลังบุรพบท by แล้วนำไปวางไว้หลังกริยาช่องที่  3  ในประโยค Passive Voice

ตัวอย่างเช่น

Active  :  He kicked a football yesterday.

Passive :  A football was kicked by him yesterday.

 

โครงสร้างของประโยค Passive voice ทั้ง  12  Tens

ในการเปลี่ยน Active ไปเป็น Passive นั้นจะต้องคำนึงถึงเรื่อง Tens เป็นสำคัญ โดยมีหลักในการดังนี้-

Present Simple          =  S  + is, am, are V.3 + by………

Present Continuous   =  S  + is, am, are + being + V.3 + by…..

Present Perfect          =  S  + has been, have been + V.3 +by…

Present Per. Cont.     =  S  + has been, have been + being + V.3 + by…….(ไม่นิยมใช้)

Past Simple               =  S  + was, were + V.3 + by…..

Pas Continuous         =  S  +  was  being, were being + V.3 + by…….

Pas  Perfect               =  S   +  had been  + V.3  + by…..

Past per. Conti.         =  S   +  had been being  +V.3  + By…..(ไม่นิยมใช้)

Future  Simple          =  S   +  will be, shall be + V.3 + by…..

Future  Continuous   =  S   +  will be, shall be + being + V.3 + by………

Future Perfect           =  S  +   will have, shall have  + been  + V.3 +by….

Future   Per.  Conti.   =  S  +  will have been being, shall have been being  + V.3 + by..(ไม่นิยมใช้)

 

เมื่อประโยค Active Voice มี Object 2 ตัว

ถ้าประโยคมี กรรม (Object)  2  ตัวคือ (1) Direct Object  กรรมตรง คือ สิ่งของ  (2) Indirect Object  กรรมรอง คือ บุคคลอยู่ด้วยกัน นิยมเอากรรมรองคือบุคคลไปเป็นประธานในประโยค  หรือจะเอากรรมตรงขึ้นไปเป็นประธานก็ได้ แต่ต้องใส่ to ข้างหน้ากรรมรองคือบุคคลนั้นด้วยเสมอไป เช่น

Active  : The teacher gave me a book yesterday.

Passive :  I was given a book by the teacher yesterday.

Passive :  A book was given to me by the teacher yesterday.

 

อนึ่ง  คำบางคำไม่นิยมนำเอาไปเป็นกรรม (Object)  แต่จะละไว้ในฐานะที่เข้าใจกันอยู่แล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า Anybody, They, We, People, No one, Someone, Somebody, Anyone,   เช่น  ..

Active   :  No one likes this picture. ไม่มีใครชอบภาพนี้

Passive :  This picture isn’t liked. ( no “by no one”)  ภาพนี้ไม่มีใครชอบ

 

อนึ่ง ถ้าประโยค Active Voice  เป็นประโยคคำสั่ง และหากเปลี่ยนเป็นประโยค Passive Voice  ให้ทำตามโครงสร้างรูปประโยคดังนี้

                                            Let  +  Object  +  Be  +  Verb  3

เช่น.     Active  :  Open the window.  เปิดหน้าต่างด้วย

            Passive :  Let the window be opened.  ให้หน้าต่างถูกเปิดด้วย

 

สรุป  1. ประโยค Passive voice  ต้องมี Verb to be อยู่ข้างหน้ากริยาช่อง 3

         2.  ประโยค Active Voice ที่ไม่มีกรรม (Object) ห้ามนำมาแต่งเป็น Passive voice โดยเด็ดขาด

         3.  การนำเอา Subject  ในประโยค Active มาเรียงตามหลัง by ในประโยค Passive นั้น ถ้าผู้พูดแน่ใจว่าผู้ฟังจะเข้าใจว่าสิ่งนั้นๆถูกใครหรืออะไรทำเช่นนี้ จะใส่  by  เข้ามาทุกครั้งที่พูดก็ได้ แต่ถ้ามั่นใจว่าผู้ฟังเข้าใจดีว่าสิ่งนั้นถูกอะไรหรือใครทำเช่นนี้ จะไม่ใส่เข้ามาทุกครั้งที่พูดก็ได้

จบ Active Voice and Passive voice

|หน้าต่อไป|